Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23660
Title: Preparation and in-vitro evaluation of lidocaine hydrochloride oral mucoadhesive films
Other Titles: การเตรียมตำรับและการประเมินผลทางอินวิโทรของลิโดเคนไฮโดรคลอไรด์ชนิดแผ่นแปะเยื่อเมือกในช่องปาก
Authors: Reanu Taweekunthum
Advisors: Garnpimol C. Ritthidej
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Issue Date: 2001
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The purpose of this present study was to prepare mucoadhesive film for oral mucosal administration of lidocaine HCl as a viable alternative dosage form to lidocaine HCl injection in dentistry. The mucoadhesive film was prepared using various mucoadhesive polymers, hydroxypropyl methylcellulose (HPMC) of different grades, Methocel E4M and E15, hydroxypropyl cellulose (HPC), sodium carboxymethylcellulose (CMC) and chitosan. Citric acid and menthol were added in formulation to improve the taste of the obtained films. The adhesive properties, tensile properties, morphology, physiochemical properties, and in vitro release and penetration were evaluation. The results showed that the drug loading films of CMC were precipitated. Chitosan provided yellowish films while HPMCs and HPC provided clear films. The obtained films were thin and so flexible to be used along the curvature of the oral cavity. The formulations containing HPMC E15 as mucoadhesive polymer produced films with the highest mucoadhesive strength. The physicochemical characterization revealed the compatibility of ingredients in films and lidocaine HCl existed in the films as molecular dispersed or amorphous form. Increasing the drug to polymer ratios trended to obtain unhomogeneous films. Combination of HPMC E15 and HPC provided rough and porous films. HPMC E4M films were harder and stronger than HPMC E15 films. Chitosan provided hard and brittle films, while HPC provided soft and tough films. Incorporation of HPC into HPMC E15 film was to reduce the rigidity of HPMC E15 film. Eighty percent of drug penetrated from films of HPMCs, HPC and combination of HPMC E15 and HPC through dialysis membrane within 60 minutes while the release of drug from chitosan films was more sustained. The penetrations kinetic of the drug from the obtained films were the best fitted with Weibull model. The drug penetrate from obtained films through dialysis membrane was controlled by the combination of diffusion and polymer chain relaxation mechanisms.
Other Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อเตรียมตำรับลิโดเคนไฮโดรคลอไรด์ชนิดแผ่นแปะเยื่อเมือกในช่องปาก อันจะเป็นทางเลือกใหม่เพื่อทดแทนการบริหารยาในรูปแบบการฉีดในด้านทันตกรรมโดยแผ่นแปะนี้เตรียมจากพอลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติในการเกาะติด ได้แก่ ไฮดรอกซีโพรพิลเมธิล เซลลูโลส อี 15 และ อี 4 เอ็ม, ไฮดรอกซีโพรพิลเซลลูโลส, โซเดียม คาร์บอกซีเมธิลเซลลูโลส, และไคโตซาน โดยใช้กรดซิตริกและเมนธอลในการปรับปรุงรสชาติ ศึกษาคุณสมบัติการเกาะติด, คุณสมบัติการยืด, ลักษณะพื้นผิว, คุณสมบัติทางเคมีกายภาพ และการปลดปล่อยยาทางอินวิโทรจากผลการทดลองพบว่า ฟิล์มที่เตรียมจากโซเดียมคาร์บอกซีเมธิลเซลลูโลสมีการตกผลึก ฟิล์มที่เตรียมจากไคโตซานมีสีเหลือง ขณะที่ฟิล์มที่เตรียมจากไฮดรอกซีโพรพิลเมธิลเซลลูโลส และไฮดรอกซีโพรพิลเซลลูโลสไม่มีสี ฟิล์มที่เตรียมได้มีความบางและความยึดหยุ่นเพียงพอที่จะแปะในช่องปากที่มีความโค้งได้ โดยไฮดรอกซีโพรพิลเมธิลเซลลูโลส อี 15 ให้ฟิล์มที่มีคุณสมบัติในการเกาะติดสูงสุด จากการประเมินคุณสมบัติทางเคมีกายภาพ พบว่าลิโดเคนไฮโดรคลอไรด์กระจายตัวอยู่ในรูปโมเลกุล หรือรูปอสัณฐาน เมื่อเพิ่มปริมาณยาพบว่ามีแนวโน้มที่ฟิล์มที่เตรียมได้จะไม่เป็นเนื้อเดียวกัน การผสมไฮดรอกซีโพรพิลเซลลูโลสเข้ากับไฮดรอกซีโพรพิลเมธิลเซลลูโลส อี 15 ให้แผ่นฟิล์มที่มีพื้นผิวไม่เรียบและมีรูพรุน ฟิล์มไฮดรอกซีโพรพิลเมธิลเซลลูโลส อี 4 เอ็ม มีความแข็งและแข็งแรงมากกว่าฟิล์มที่เตรียมจากไฮดรอกซีโพรพิลเมธิลเซลลูโลส อี 15 ฟิล์มที่เตรียมจากไคโตซานมีลักษณะแข็งและเปราะ ขณะที่ฟิล์มที่เตรียมจากไฮดรอกซีโพรพิลเซลลูโลสมีลักษณะอ่อนและเหนียว การผสมไฮดรอกซีโพรพิลเซลลูโลสเข้ากับไฮดรอกซีโพรพิลเมธิลเซลลูโลส อี 15 จะช่วยลดความแข็งของไฮดรอกซีโพรพิลเมธิลเซลลูโลสลง ร้อยละแปดสิบของยาจะถูกปลดปล่อยจากฟิล์มที่เตรียมจากไฮดรอกซีโพรพิลเมธิลเซลลูโลส, ไฮดรอกซีโพรพิลเซลลูโลส และส่วนผสมของไฮดรอกซีโพรพิลเมธิลเซลลูโลส อี 15 และไฮดรอกซีโพรพิลเซลลูโลสผ่านเยื่อไดอะไลซิสภายใน 60 นาที ขณะที่การปลดปล่อยยาออกจากฟิล์มที่เตรียมจากไคโตซานจะใช้เวลานานกว่านี้ จลนศาสตร์ของการปลดปล่อยยาออกจากฟิล์มที่เตรียมได้ผ่านเยื่อไดอะไลซิสเป็นไปตามแบบจำลองของวีลบูล โดยการปล่อยยาผ่านเยื่อดังกล่าว ถูกควบคุมโดยกลไกการแพร่และการคลายตัวของสายพอลิเมอร์
Description: Thesis (M.Sc. in Pharm.)--Chulalongkorn University, 2001
Degree Name: Master of Science in Pharmacy
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Industrial Pharmacy
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23660
ISBN: 9740313817
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Reanu_ta_front.pdf5.1 MBAdobe PDFView/Open
Reanu_ta_ch1.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Reanu_ta_ch2.pdf12.97 MBAdobe PDFView/Open
Reanu_ta_ch3.pdf5.08 MBAdobe PDFView/Open
Reanu_ta_ch4.pdf26.96 MBAdobe PDFView/Open
Reanu_ta_ch5.pdf5.81 MBAdobe PDFView/Open
Reanu_ta_back.pdf25.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.