Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23709
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรมะ สตะเวทิน-
dc.contributor.authorมันธนา หิมกร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-10T09:58:49Z-
dc.date.available2012-11-10T09:58:49Z-
dc.date.issued2526-
dc.identifier.isbn9745623008-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23709-
dc.descriptionวิทยานินธ์ (นศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526en
dc.description.abstractสุขภาพอนามัยเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพ โดยเฉพาะในวัยเด็ก ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายมีการพัฒนาใหม่ๆ มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคสูง จากสถิติพบว่า ในปัจจุบันโรคไข้คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก และวัณโรค ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายที่จะทำการควบคุมและกำจัดโรคติดต่ออันตรายดังกล่าวให้หมดสิ้นไป ได้มีการใช้ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารผ่านสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์และสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ ตลอดจนการใช้สื่อประเภทบุคลากรสาธารณสุข ผู้สื่อข่าวสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข ในการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารสุขภาพอนามัยเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 2. สำรวจความรู้ ทัศนคติและการยอมรับปฏิบัติ 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารกับการยอมรับปฏิบัติ 4. หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมกับการยอมรับปฏิบัติ โดยทำการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างซึ่งสุ่มจากมารดาในครัวเรือนชนบทที่มีบุตรอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ในอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 250 ตัวอย่าง โดยมีสมมุติฐานว่าสื่อบุคคลมีอิทธิพลต่อการยอมรับปฏิบัติในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคสูงกว่าสื่อมวลชน และปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมกับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์กับการยอมรับปฏิบัติด้วย ผลการวิจัยปรากฏว่า มารดาในชนบทมีการเปิดรับข่าวสารสุขอนามัยในอัตราที่สูง ส่วนใหญ่เคยเปิดรับจากวิทยุมากเป็นอันดับหนึ่ง และบุคลากรสาธารณสุขของรัฐเป็นอันดับสอง อย่างไรก็ตามสื่อบุคคลนั้นมีอิทธิพลต่อการยอมรับวัคซีนสูงกว่าสื่อมวลชน ด้านความรู้เกี่ยวกับเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กพบว่า มารดาในชนบทเกือบทั้งหมดไม่รู้เกี่ยวกับกำหนดการรับวัคซีนที่จำเป็นสำหรับเด็ก 2 ชนิด คือวัคซีนบีซีจีและดีพีที อย่างไรก็ตาม จำนวนบุตรที่เคยได้รับวัคซีนทั้งสองชนิดก็มีอัตราสูง ส่วนในด้านความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารกับการยอมรับวัคซีนบีซีจีและดีพีทีพบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของการเปิดรับข่าวสารเรื่องการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคกับการยอมรับวัคซีนบีซีจีและดีพีที เมื่อถูกควบคุมด้วยตัวแปรการคมนาคม ความเชื่อ แต่เมื่อถูกควบคุมด้วยตัวแปรทัศนคติที่มีต่อสถานบริการสาธารณสุขของรัฐพบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของการเปิดรับข่าวสารกับการยอมรับวัคซีนทั้งสองชนิดในกลุ่มมารดาที่ไม่พอใจต่อสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจคือรายได้กับปัจจัยทางด้านสังคม คือระดับการศึกษา อาชีพ (ยกเว้นอายุและสถานภาพสมรส) มีความสัมพันธ์กับการยอมรับวัคซีนบีซีจีของมารดาในชนบทและปัจจัยทางด้านสังคมคือ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพสมรส (ยกเว้นอายุ) มีความสัมพันธ์กับการยอมรับวัคซีนดีพีที ผลการศึกษาดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่า การเผยแพร่ข่าวสารความรู้ในเรื่องสุขภาพอนามัยมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอนามัย เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อบุคคล (เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้สื่อข่าวสาธารณสุข) และสื่อมวลชนประเภทวิทยุกระจายเสียงมีบทบาทอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอนามัยเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประชาชนในชนบท ดังนั้น ผลจากการศึกษาครั้งนี้มีประโยชน์สำหรับเป็นแนวทางกำหนดยุทธวิธีส่งเสริมโครงการขยายงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และเป็นแนวทางในการพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐานอื่นๆ ในชนบทต่อไป-
dc.description.abstractalternativeGood health is an essential aspect of increasing the quality of life of the people. This is especially true for the young children whose bodies are in the formative stage of development. At young ages, there is a higher risk of contacting diseases. According to the most recent health statistics of Thailand, diphtheria, pertussis, tetanus and tuberculosis are still major health problems. The Ministry of Public Health therefore has a policy to eradicate these dangerous illnesses. This policy has led to the Expanded Program of Immunization which has, as its target, the entire coverage of the population through the existing health infrastructure, free of charge. In support of the EPI program, there have been public relations and mass communication efforts, such as radio, television and printed materials, as well as use of health personnel and village health volunteers and communicators. The objectives of this study are as follows: 1. to study the extent of media exposure for the EPI program; 2. to study the KAP of the target population; 3. to study the relationship between media exposure and adoption of BCG, DPT vaccinations; 4. To study the relationship between socio-economic factors and BCG, DPT vaccination adoption. The samples used in this study were 250 mothers of children under six in Amphoe Non Thai, Kakhon Ratchasima Province of Thailand. Data were collected by personal interview. The hypotheses are as follows: 1. Interpersonal communication is a more effective Channel than mass media in promoting EPI health behavior. 2. Socio-economic factors are important in predicting the EPI health behavior of mothers. 3. Media exposure is positively associated with EPI health behavior. The results of the study showed that rural mothers had received EPI information at a high rate. Most had heard the information from the radio, followed by government health personnel. In studying EPI health behavior it was found that interpersonal communication was more effective than mass media in promoting immunization. Concerning specific knowledge of immunization, virtually all mothers did not know the proper age at which to bring their children for BCG, DPT vaccinations. However, the rate of receiving these two immunizations was quite high. Concerning the relationship between media exposure and EPI behavior, it was found that the frequency of media exposure was positively correlated with BCG, DPT vaccinations when the variables of convenience of travel and beliefs were controlled. However, when attitude toward government health services was controlled, the positive correlation between media exposure and BCG, DPT vaccinations disappeared for the group of mothers who had an unfavorable attitude toward government health services. In addition, socio-economic factors such as income, education, and occupation (but excluding age, marital status) had significant correlations with BCG vaccination behavior. However, education, occupation and marital status (but not age) were found to have significant correlations with DPT vaccination behavior. These results showed that the dissemination of the EPI program had a significant influence on vaccination behavior. Interpersonal communication channel (government health personnel, health volunteers and communicators) and radio were found especially to have the most important influence on the vaccination behavior of the rural population. Thus these results are useful as guidelines for the selection of promotional strategies for the EPI program and for other primary health care service programs.-
dc.format.extent597338 bytes-
dc.format.extent752786 bytes-
dc.format.extent1012885 bytes-
dc.format.extent314007 bytes-
dc.format.extent1047476 bytes-
dc.format.extent600614 bytes-
dc.format.extent759529 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสื่อสารสาธารณสุข-
dc.subjectสาธารณสุขมูลฐาน-
dc.subjectCommunication in public health-
dc.subjectPrimary health care-
dc.titleการแพร่กระจายข่าวสารสาธารณสุขในระดับหมู่บ้านเพื่อการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐาน : ศึกษาเฉพาะกรณีการให้ภูมิคุ้มกันโรคในเขตอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมาen
dc.title.alternativeDiffusion of public health information at the rural village level for primary health care development : a case study of immuniztion in amphoe Non Thai, Nakhon Ratchasimaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Manthana_Hi_front.pdf583.34 kBAdobe PDFView/Open
Manthana_Hi_ch1.pdf735.14 kBAdobe PDFView/Open
Manthana_Hi_ch2.pdf989.15 kBAdobe PDFView/Open
Manthana_Hi_ch3.pdf306.65 kBAdobe PDFView/Open
Manthana_Hi_ch4.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Manthana_Hi_ch5.pdf586.54 kBAdobe PDFView/Open
Manthana_Hi_back.pdf741.73 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.