Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23775
Title: | องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Factors related to reading habits of mathayom suksa one students in Bangkok Metropolis |
Authors: | ทวีศักดิ์ เดชาเลิศ |
Advisors: | ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมและสภาพแวดล้อมทางบ้าน องค์ประกอบทางด้านตัวนักเรียน และองค์ประกอบทางด้านโรงเรียน กับนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่หนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในลักษณะของการอธิบายความแปรปรวนและการทำนาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่หนึ่ง สุ่มจากท้องที่การศึกษาต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 974 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจนิสัยในการอ่านแบบสอบถามสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมและสภาพแวดล้อมทางบ้าน แบบสำรวจข้อมูลของโรงเรียนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มหรือลดตัวแปรเป็นขั้นๆ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SFSS-X ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 1.ตัวทำนายที่มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับนิสัยรักการอ่าน คือ ประสบการณ์การส่งเสริมการอ่านจากทางบ้าน ประสบการณ์การส่งเสริมการอ่านจากทางโรงเรียน ลักษณะการซื้อวารสาร นิตยสารอ่านในบ้าน ลักษณะการซื้อหนังสือพิมพ์อ่านในบ้าน และระดับการศึกษาของบิดา โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลางและต่ำ เรียงตามลำดับ ส่วนตัวทำนายที่มีความสัมพันธ์ในทางลบกับนิสัยรักการอ่านได้แก่ รายการโทรทัศน์ที่ชอบดูมากที่สุดประเภทรายการเด็กและการ์ตูน โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ 2. เมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบทางด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมและสภาพแวดล้อมทางบ้านเพียงด้านเดียว ได้ตัวทำนายที่ดีที่สุดประกอบด้วย ลักษณะการซื้อวารสาร นิตยสารอ่านในบ้าน ระดับการศึกษาของบิดา อาชีพที่ต้องใช้วิชาชีพของบิดา ลักษณะการซื้อหนังสือพิมพ์อ่านในบ้าน ลักษณะของบ้านพักอาศัยที่เป็นตึกแถว อาชีพรับราชการของบิดา และอาชีพรับจ้าง ลูกจ้างของมารดา ตัวทำนายทั้งหมดนี้สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของนิสัยรักการอ่านได้ร้อยละ 12 3. เมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบทางด้านตัวนักเรียน พบว่า ตัวทำนายที่ดีที่สุดประกอบด้วย ประสบการณ์การส่งเสริมการอ่านจากทางบ้าน ประสบการณ์การส่งเสริมการอ่านจากทางโรงเรียน รายการโทรทัศน์ที่ชอบดูมากที่สุดประเภทรายการข่าวในประเทศและต่างประเทศ รายการเด็กและการ์ตูน และประเภทรายการละครหรือภาพยนตร์ ปริมาณเวลาที่ต้องช่วยทำงานบ้านต่อสัปดาห์ ตัวทำนายทั้งหมดนี้สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของนิสัยรักการอ่านได้ร้อยละ 36 4. เมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบทางด้านโรงเรียน พบว่า ตัวทำนายที่ดีที่สุดประกอบด้วย จำนวนหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร ที่บอกรับเป็นประจำ บรรยากาศในห้องสมุดตามการรับรู้ของนักเรียน อัตราส่วนพื้นที่ห้องสมุดต่อจำนวนนักเรียนทั้งหมด และอัตราส่วนจำนวนหนังสือในห้องสมุดต่อจำนวนนักเรียนทั้งหมด ตัวทำนายทั้งหมดนี้สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของนิสัยรักการอ่านได้ร้อยละ8 5.เมื่อพิจารณาจากทั้ง 3 องค์ประกอบร่วมกัน พบว่า ตัวทำนายที่มีความสำคัญที่สุดในการอธิบายความแปรปรวนของนิสัยรักการอ่าน ได้แก่ ประสบการณ์การส่งเสริมการอ่านจากทางบ้าน ส่วนตัวทำนายที่มีความสำคัญในอันดับรองลงไป ได้แก่ ลักษณะการซื้อวารสาร นิตยสารอ่านในบ้าน ประสบการณ์การส่งเสริมการอ่านจากทางโรงเรียน รายการโทรทัศน์ที่ชอบดูมากที่สุดประเภทรายการข่าวในประเทศและต่างประเทศ ปริมาณเวลาที่ต้องช่วยทำงานบ้านต่อสัปดาห์ อาชีพรับราชการของบิดา รายการโทรทัศน์ที่ชอบดูมากที่สุดประเภทรายการเกมส์ แข่งขัน ตอบปัญหา อาชีพที่ต้องใช้วิชาชีพของบิดา จำนวนบุคคลที่อาศัยอยู่ในบ้าน เวลาให้บริการของห้องสมุดแต่ละวัน และรายการโทรทัศน์ที่ชอบดูมากที่สุดประเภทรายการเด็กและการ์ตูน ตามลำดับ โดยกลุ่มตัวทำนายที่ดีที่สุดทั้งหมดนี้สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่หนึ่งได้ร้อยละ 39 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study the relationship between socio-economic, home environmental factors, students factors, school factors and reading habits by the way of explaining variance and prediction. A sample consisted of 974 students of Mathayom Suksa One which was randomly selected through out the Bangkok Metropolis. The questionnaires on reading habits, socio-economic status, home and school environment were used to collect the data. Stepwise multiple regression analysis was used to analyze the obtained data. The data were analyzed by the computer program SPSS-X. The major findings were as follows:- 1. The predictors which made positive correlation with reading habits were home and school promotion for motiviating reading, frequency of buying magazine and newspaper and father’s level of education. There was also negative correlation between the most favourite T.V. program-child and cartoons, and reading habits. 2. For socio-economic, home environmental factors, i.e. , frequency of buying magazines, father’s level of education, father’s occupation-profession, frequency of buying newspaper, type of resident-town house, father’s occupation-civil service, and mother’s occupation-employee were the best predictors and altogether explained 12 percent of the variance in reading habits. 3. For students factors, i.e. , home and school promotion for motiviating reading, the most favourite T.V. program-news, child and cartoons, films or drama, and times helping to do housework per week were the best predictors and taken together explain 36 percent of the variance in reading habits. 4. Concerning school factors: the number of newspaper and magazines that are subscribed, library’s climate, library’s area/student ratio, number of books/student ratio were the best predictors and could explain 8 percent of the variance in reading habits. 5. If we considered the three groups of factors together, home promotion for motiviating reading was the most powerful predictors in explaining variance of reading habits, followed respectively in importance by frequency of buying magazines, school promotion for mativiating reading, the most favourite T.V. program-news, times helping to do housework per week, father’s occupation-civil service, the most favourite T.V. program-games show, father’s occupation-profession, number of persons living in the house, time-service of library per day and the most favourite T.V. program-child and cartoons. They mutually explained 39 percent of the variance in reading habits. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23775 |
ISBN: | 9745648744 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thavisakdi_De_front.pdf | 628.79 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thavisakdi_De_ch1.pdf | 652.09 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thavisakdi_De_ch2.pdf | 826.85 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thavisakdi_De_ch3.pdf | 689.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thavisakdi_De_ch4.pdf | 1.39 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thavisakdi_De_ch5.pdf | 847.84 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thavisakdi_De_back.pdf | 852.77 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.