Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23886
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อมรา พงศาพิชญ์ | |
dc.contributor.author | สมหมาย ชินนาค | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-13T05:14:10Z | |
dc.date.available | 2012-11-13T05:14:10Z | |
dc.date.issued | 2539 | |
dc.identifier.isbn | 9746343211 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23886 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยเรื่อง “ผีปะกำ : คติความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษของชาวไทย-กวย(ส่วย)เลี้ยงช้าง จังหวัดสุรินทร์” ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคติความเชื่อและการเปลี่ยนแปลงของระบบความเชื่อเรื่องผีปะกำ ผลการศึกษาได้ตอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ดังต่อไปนี้ ประการแรก พบว่าผีปะกำอันเป็นผีที่ประจำอยู่ในหนังปะกำ (บ่วงบาศสำหรับคล้องช้างป่า) นั้น ชาวกวยเลี้ยงช้างเชื่อว่าประกอบด้วยวิญญาณ 2 ประเภทด้วยกัน คือ “พระครู” ซึ่งเป็นวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่มีสถานภาพเทียบเท่าเทพและวิญญาณของบรรพบุรุษในสายตระกูลที่เคยเป็นหมอช้าง พวกเขาเชื่อว่าผีปะกำสามารถให้คุณและให้โทษแก่มนุษย์ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการเซ่นสรวงบูชาอยู่เสมอ ผลการศึกษายังพบว่าความเชื่อนี้มิได้มีอยู่เฉพาะในกลุ่มชาวกวยเลี้ยงช้างเท่านั้น หากยังมีแพร่หลายในกลุ่มชนพื้นเมืองที่มีอาชีพคล้องช้างตามภูมิภาคต่าง ๆ ด้วย ขณะเดียวกันหมอช้างในราชสำนักที่นับถือพระพิฆเนศวร์ ซึ่งหมอช้างชาวกวย และหมอช้างพื้นเมืองบางกลุ่มไม่รู้จักนั้น ก็รับรู้และนับถือผีปะกำด้วยเช่นกัน ประการที่สอง พบว่าระบบความเชื่อเรื่องผีปะกำสะท้อนให้เห็นถึงระบบอำนาจของผู้อาวุโสในสายตระกูลได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ ความเชื่อเรื่องผีปะกำเป็นคติความเชื่อในลักษณะการถ่ายโอนอำนาจจากผีบรรพบุรุษไปสู่ผู้อาวุโสในสายตระกูล ทำให้ผู้อาวุโสได้รับความเคารพเชื่อฟังจากสมาชิกในตระกูล เป็นผู้นำในการประกอบพิธีเซ่นสรวงผีปะกำ รวมทั้งเป็นผู้ที่มีอำนาจสั่งการทุกอย่างในพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับผีปะกำ ประการที่สาม พบว่าคติความเชื่อเรื่องผีปะกำมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับโครงสร้างสังคมส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดระเบียบทางโครงสร้างเศรษฐกิจและการควบคุมการใช้ทรัพยากรของชุมชน บทบาทของเพศชายและเพศหญิง การจัดระเบียบครอบครัว เครือญาติและสายตระกูล ตลอดจนคติความเชื่อของพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัทธิพราหมณ์ และความเชื่อเรื่องผีอื่น ๆ ในชุมชน อย่างไรก็ตาม พิธีกรรมความเชื่อเรื่องผีปะกำที่ดำรงอยู่ในชุมชนทุกวันนี้ ยังคงทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนใน 2 ระดับ คือ ระดับครอบครัว และระดับปัจเจกบุคคล ในระดับครอบครัว ผีปะกำตอบสนองต่อการสืบต่อความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เห็นได้จากพิธีกรรมเกี่ยวกับวงจรชีวิต ซึ่งยังคงมีการเซ่นผีปะกำอยู่ และมีพิธีกรรมเกี่ยวกับการพาช้างไปเที่ยวเพิ่มขึ้นมา ส่วนระดับปัจเจกบุคคล ก็จะพบว่าจะมีการเซ่นผีปะกำกันบ่อย เมื่อลูกหลานเจ็บไข้ได้ป่วยและแก้บนในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับปัญหาความคับข้องใจส่วนบุคคล ซึ่งนับว่าจะทวีมากขึ้นเรื่อ[ย] ๆ | |
dc.description.abstractalternative | The Study of “Phi Pakam. : the Belief in Ancestor Spirits of Thai-Kouy (Soai) Mahout, Surin Province” describes different aspects of the belief of Thai-Kouy Mahout by tracing historical account of the belief, and their relation with the changing social structure. First, it was found that Phi Pakam is the spirit inhabiting in the Nang-Pakam (noose for catching wild elephants) respected by mahouts and elephants keepers. There are 2 spirits in the Phi Pakem; the Prakroo (teacher of Mahouts) and the spirits of the ancestors of the elephant shaman family. They Believes that Phi Pakam is powerful and can bring people good or bad luck. Therefore, They usually have a ceremony to worship Phi Pakam. Furthermore, the belief in Phi Pakam is also found among other local ethnic groups who keep elephants. But while belief in Phi Pakam appears in the royal elephant-related belief together with Brahmanistic belief, the local ethnic groups who worship Phi Pakam do not worship Brahmin god associated with elephant, Phra Phikanet. Secondly, There is a relationship between the belief in Phi Pakam and family power structure. The spirit of Phi Pakam is transferred to senior member of the family, who then become respected and leads all ritual activities of Phi Pakam ceremonies Thirdly, it was also found that the belief in Phi Pakam reflects the social and economic structures of the communities. The belief in Phi Pakam helps control natural resources, behavior of the family members, and seniority system. The belief in Phi Pakam also demonstrates the syncretism of Theravada Buddhism, Brahmanism, and the beliefs in spirits of the communities. Nevertheless, Phi Pakam belief and ritual which still exist today fulfil the needs of Kouy communities at 2 levels. At the community/family level, belief in Phi Pakam helps maintain family relations. Rites of passage of family members include worship of Phi Pakam. Futhermore worship of Phi Pakam is also required prior to leaving the village on an elephant urban trip (pa chang pai thiew) for successful trip. At the individual level Phi Pakam is worshipped in case of sickness and for personal well-being of individuals. | |
dc.format.extent | 4794801 bytes | |
dc.format.extent | 11325532 bytes | |
dc.format.extent | 19340185 bytes | |
dc.format.extent | 22414949 bytes | |
dc.format.extent | 11271246 bytes | |
dc.format.extent | 29744376 bytes | |
dc.format.extent | 20101035 bytes | |
dc.format.extent | 5877706 bytes | |
dc.format.extent | 12013311 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ผีปะกำ : คติความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษของชาวไทย-กวย (ส่วย) เลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์ | en |
dc.title.alternative | Pripakam : the belief in ancestor spirits of Thai-kouy (Soai) Mahout Surin province | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | มานุษยวิทยามหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sommai_ch_front.pdf | 4.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sommai_ch_ch1.pdf | 11.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sommai_ch_ch2.pdf | 18.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sommai_ch_ch3.pdf | 21.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sommai_ch_ch4.pdf | 11.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sommai_ch_ch5.pdf | 29.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sommai_ch_ch6.pdf | 19.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sommai_ch_ch7.pdf | 5.74 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sommai_ch_back.pdf | 11.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.