Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23888
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมลชัย รัตนสกาววงศ์
dc.contributor.authorกันนิกา อธิศิวกุล
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-13T05:23:59Z
dc.date.available2012-11-13T05:23:59Z
dc.date.issued2545
dc.identifier.isbn9741798431
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23888
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรก โดยบัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย อีกทั้งยังบัญญัติให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลและองค์กรอื่นของรัฐ ตามมาตรา 268 ศาลจึงเป็นองค์กรหนึ่งที่ต้องถูกผูกพันต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่กรณียังมีความไม่ชัดเจนอยู่ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีที่วินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จะผูกพันศาล กล่าวโดยเฉพาะศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาในลักษณะไหน อย่างไร จากการศึกษาพบว่า ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 วรรคสาม ได้บัญญัติว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบกระเทือนคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้วนั้น ในทางคดีอาญา เมื่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้ว ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลได้ใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญในกรณีนี้เห็นว่า ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด ที่ต้องรับโทษตามกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่โดยที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 264 วรรคสาม ได้บัญญัติให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่กระทบกระเทือนคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษากฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องโทษให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายอาญา จากปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนได้เสนอให้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีอาญา ซึ่งกฎหมายดังกล่าวจะบัญญัติถึงผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีอาญาว่า ในคดีอาญา เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้ว ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่ากฎหมายที่ศาลได้ใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ในกรณีนี้มีผลให้มีการขอให้มีการรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้
dc.description.abstractalternativeThe Constitutional Court was first established by the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540. One of its major responsibilities is to consider whether an act is consistent with the Constitution. According to Section 268 of the Constitution, the decision of the Constitutional Court Shall be deemed final and binding on the National Assembly, Council of Ministers, Courts and other State organs. However, there remains an ambiguous interpretation that when the Constitution Court decides that the provisions of a law applied by the court is contrary to or inconsistent with the Constitution, how shall that decision be binding the court. To be more specifically, how and at what extent shall that decision be binding the court whose jurisdiction is over criminal cases. Under Section 264 paragraph three, the decision of the Constitutional Court shall apply to all cases but shall not effect final judgments of the Courts. In a criminal case, it is thus unfair for a convict who was punished by the final judgment of the court applying the law contrary to or inconsistent with the Constitution. Thus, it is necessary to study about the protection of a convict’s rights in conformity with the criminal law rules. To resolve the mentioned problem, the author has proposed to submit the Act about the Effect of the Decisions of the Constitutional Court on Criminal cases. This Act shall provide the effect of the decisions of the Constitutional Court on criminal cases that in case where the court made a final judgment and later the Constitutional Court has a decision declaring that the law applied by the court was contrary to or inconsistent with the Constitution, this case can be retrialed.
dc.format.extent2598401 bytes
dc.format.extent1315012 bytes
dc.format.extent21591448 bytes
dc.format.extent19377512 bytes
dc.format.extent17714120 bytes
dc.format.extent6244096 bytes
dc.format.extent1678629 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีผลต่อกระบวนการพิจารณา คำพิพากษาและการบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีอาญาen
dc.title.alternativeThe decisions of constitutional court which effect on the proceedings, judgments and enforcement of judgment in criminal caseen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kannika_at_front.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open
Kannika_at_ch1.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Kannika_at_ch2.pdf21.09 MBAdobe PDFView/Open
Kannika_at_ch3.pdf18.92 MBAdobe PDFView/Open
Kannika_at_ch4.pdf17.3 MBAdobe PDFView/Open
Kannika_at_ch5.pdf6.1 MBAdobe PDFView/Open
Kannika_at_back.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.