Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23976
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรสุดา บุญยไวโรจน์
dc.contributor.advisorประนอม รอดคำดี
dc.contributor.authorยุพิน ตรีรส
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-13T13:49:48Z
dc.date.available2012-11-13T13:49:48Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745669725
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23976
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractศึกษาภาวะโภชนาการ ความรู้ ความเชื่อ ทางด้านโภชนาการและบริโภคนิสัย และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโภชนาการกับความรู้ความเชื่อทางด้านโภชนาการและบริโภคนิสัย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบความรู้ด้านโภชนาการที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ค่าความเที่ยงของแบบทดสอบเท่ากับ 0.83 แบบสอบถามความเชื่อด้านโภชนาการ แบบสอบถามบริโภคนิสัย ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.87 และ 0.91 ตามลำดับ เครื่องชั่งน้ำหนักและเกณฑ์เทียบภาวะโภชนาการ ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2528 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 560 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิตและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์วิเคราะห์โดยใช้เทคนิค Discriminate Analysis ด้วย โปรแกรม SPSS (Statistic Package for Social Sciences) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีภาวะโภชนาการในระดับปกติ 50.40% และ 49.60% อยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ 2) คะแนนเฉลี่ยของความรู้ด้านโภชนาการของนักเรียนมีค่าเท่ากับ 18.30 และนักเรียนจำนวนมากที่สุด 59.50% ที่ได้คะแนนความรู้อยู่ในระดับพอใช้ 3) คะแนนเฉลี่ยของความเชื่อด้านโภชนาการของนักเรียนมีค่าเท่ากับ 16.18 และนักเรียนจำนวนมากที่สุด 67.40% ได้คะแนนความเชื่ออยู่ในระดับพอใช้ 4) คะแนนเฉลี่ยบริโภคนิสัยของนักเรียนมีค่าเท่ากับ 42.37 และนักเรียนจำนวนมากที่สุด 37.20% ได้คะแนนบริโภคนิสัยอยู่ในระดับดี 5) การศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อด้านโภชนาการของนักเรียนพบว่า จำนวนนักเรียนมากที่สุด 88.70% เชื่อว่าการใส่ผงชูรสในอาหารมากเกินไปทำให้ทารกในครรภ์พิการทางสมองได้ และ 91.80% ไม่เชื่อว่า ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำทำให้น้ำหนักเพิ่ม 6) การศึกษาเกี่ยวกับบริโภคนิสัยของนักเรียนพบว่า นักเรียนปฏิบัติเป็นประจำในเรื่องต่อไปนี้อยู่ในเกณฑ์สูง ดื่มน้ำสะอาด เลือกใช้ภาชนะที่สะอาดในการรับประทานอาหาร เช่น ชาม ช้อน แก้วน้ำ เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืนและรับประทานเนื้อสัตว์ เช่น หมู เนื้อ ปลา 7) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโภชนาการกับความรู้ ความเชื่อและบริโภคนิสัยของนักเรียนพบว่า ภาวะโภชนาการไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ ความเชื่อและบริโภคนิสัยในระดับที่มีนัยสำคัญ ส่วนความรู้ ความเชื่อและบริโภคนิสัย มีความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยสำคัญ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับความเชื่อและบริโภคนิสัย เท่ากับ .284 และ .254 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อกับบริโภคนิสัยเท่ากับ .112
dc.description.abstractalternativeTo study nutritional status, knowledge, belief about nutrition and food habits and to investigate the relationship between nutritional status and knowledge, belief and food habits of Prathom Suksa Six students. The research utilized five kinds of instruments. The first one was the nutritional knowledge test developed by the researcher; the validity of the test was 0.83. The second was the questionnaire nutritional belief which had the 0.87 validity. The third was the questionnaire food habits which had the 0.91 validity. The fourth is the standardized weighing machine. The last one was the growth chart of Thai children as the nutritional status criteria . The samples used in the study were Prathom Suksa Six students of the schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan administration in the year 1985. The subjects were 560 students who were selected by the Multi-Stage sampling. The date were analyzed by computer program SPSS in Discriminate Analysis which used percentages, mean and correlation coefficient. Results: 1. The students with normal nutritional status were 50.4% and 49.60% were under normal range. 2. The student's nutritional knowledge marks were 18.30 by average and most students at 59.50% got the marks at moderate degree. 3. The student’s nutritional belief marks were 16.18 by average and most students at 67.40% got the marks at moderate degree. 4. The student’s food habit marks were 42.37 by average and most students at 37.20% got the marks at high degree. 5. The student’s nutritional belief indicated that most students at 88.70% believed that consuming too much monosodium glutamate can cause damage to infant’s brain and at 91.80% did not believe that drinking aerated water can increase body weight.6. The student's food habit indicated that the daily food habit the students involved at the highest degree were as followed; drinking clean water. using clean wares for having food for example bowl, spoon, glass thoroughly chewing before swallowing and having protein such as pork, beef, fish. 7. The relationship between nutritional status knowledge, belief and food habit of the students indicated that the nutritional status did not significantly correlate with the knowledge, belief and food habit of the student. The knowledge, belief and food habit significantly intercorrated at the 0.05 level. The correlation coefficient between knowledge, belief and food habit were .284 and .254 respectively and the correlation coefficient be between belief and food habit was .112.
dc.format.extent558203 bytes
dc.format.extent702984 bytes
dc.format.extent2658162 bytes
dc.format.extent534074 bytes
dc.format.extent663600 bytes
dc.format.extent794659 bytes
dc.format.extent1163939 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโภชนาการ
dc.subjectบริโภคนิสัย
dc.subjectเด็ก -- โภชนาการ
dc.subjectเด็ก -- การเจริญเติบโต
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโภชนาการกับความรู้ ความเชื่อ และบริโภคนิสัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeThe relationship between nutritional status and knowledge, belief, and food habits of prathom suksa six students in schools Under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administrationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประถมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yupin_Tr_front.pdf545.12 kBAdobe PDFView/Open
Yupin_Tr_ch1.pdf686.51 kBAdobe PDFView/Open
Yupin_Tr_ch2.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open
Yupin_Tr_ch3.pdf521.56 kBAdobe PDFView/Open
Yupin_Tr_ch4.pdf648.05 kBAdobe PDFView/Open
Yupin_Tr_ch5.pdf776.03 kBAdobe PDFView/Open
Yupin_Tr_back.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.