Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24013
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประคอง ตังประพฤทธิ์กุล | - |
dc.contributor.author | รดาวรรณ ศิลปโภชากุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-13T17:35:55Z | - |
dc.date.available | 2012-11-13T17:35:55Z | - |
dc.date.issued | 2525 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24013 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 | en |
dc.description.abstract | การศึกษานี้ได้เปรียบเทียบรูปแบบโปรตีนที่แยกด้วยไฟฟ้าและปริมาณโปรตีนทั้งหมดที่มีในเอนโดมีเตรียม มดลูกทั้งอัน และซีรั่มของแฮมสเตอร์ ในระหว่างวันที่ 1-8 ของการตั้งครรภ์ปรกติ และในวันที่ 8 ของแฮมสเตอร์ท้องเทียมและกลุ่มที่ตัดรังไข่แล้วฉีดโปรเจสเตอโรนหรือดีออกซีคอร์ติโคสเตอโรนให้โดยกระตุ้นให้เกิดเดซิดูอะไลเซชั่นร่วมด้วย จากการทดลองพบว่า รูปแบบของแถบโปรตีนในเอนโดมีเตรียมและในมดลูกทั้งอันมีลักษณะคล้ายคลึงกันไม่ว่าตั้งครรภ์ได้กี่วันก็ตาม แต่ต่างกันที่ปริมาณในลำดับส่วน ก ข และ ค คือ ในวันที่ 3 ของการตั้งครรภ์ปรกติ โปรตีนลำดับส่วน ก (ตรงกับอัลบูมิน) มีปริมาณลดลง และในวันที่ 4 ปริมาณของลำดับส่วน ข ลดลงอย่างเห็นได้ชัด หลังจากนั้นปริมาณโปรตีนของลำดับส่วน ข จึงเพิ่มขึ้นแต่ไม่มากเท่ากับปริมาณที่มีในวันที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นปริมาณสูงสุดเช่นเดียวกันในซีรั่มของแฮมสเตอร์ที่ตั้งครรภ์ได้ 1-8 วัน มีรูปแบบของแถบโปรตีนในแต่ละวันคล้ายกัน ต่างกันที่ปริมาณในลำดับส่วน ข_1และ ข_2 คือ ปริมาณของโปรตีนสองลำดับส่วนนี้ลดลงในวันที่ 3 หลังจากที่มีปริมาณมากที่สุดในวันที่ 2 อนึ่งโปรตีนในซีรั่มมีบางลำดับส่วนที่ต่างจากโปรตีนในเอนโดมีเตรียม ในกลุ่มที่ท้องเทียมและตัดรังไข่แต่ได้รับโปรเจสเตอโรนหรือดีออกซีคอร์ติโคสเตอโรนได้ 8 วัน มีรูปแบบของแถบโปรตีนในเอนโดมีเตรียม ซึ่งกระตุ้นให้เกิดเดซิดูอะไลเซชั่น คล้ายกับของแฮมสเตอร์ที่ตั้งครรภ์ตามธรรมชาติได้ 3-4 วัน แต่ในซีรั่มของกลุ่มท้องเทียมและกลุ่มที่ฉีดโปรเจสเตอโรนให้นั้นมีรูปแบบของแถบโปรตีนคล้ายกับของแฮม-สเตอร์ที่ตั้งครรภ์ปรกติได้ 5 วัน แต่กลุ่มที่ฉีดดีออกซีคอร์ติโคสเตอโรนนั้นมีรูปแบบของแถบโปรตีนต่างออกไปจากกลุ่มอื่นๆ โดยสิ้นเชิง ปริมาณโปรตีนในเอนโดมีเตรียมมีมากที่สุดในวันที่ 2 ของการตั้งครรภ์ปรกติ ในขณะที่ปริมาณโปรตีนในซีรั่มเพิ่มขึ้นในวันที่ 2-5 แล้วคงที่ไปจนถึงวันที่ 8 แต่ปริมาณโปรตีนในมดลูกทั้งอันไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในช่วงเวลา 8 วันที่ศึกษา ปริมาณโปรตีนในเอนโดมีเตรียมในวันที่ 8 ของแฮมสเตอร์ท้องเทียมและกลุ่มที่ตัดรังไข่ที่ฉีดด้วยโปรเจสเตอโรนหรือดีออกซีคอร์ติโคสเตอโรนไม่แตกต่างกัน และปริมาณโปรตีนในซีรั่มของทั้งสามกลุ่มนี้ มีค่าใกล้เคียงกับซีรั่มของแฮมสเตอร์ที่ตั้งครรภ์ปรกติได้ 5-8 วัน จากการศึกษาอาจสรุปได้ว่า โปรตีนในเอนโดมีเตรียม มดลูก มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในรูปแบบและปริมาณในวันที่ 3-4 ของการตั้งครรภ์ปรกติ ซึ่งเป็นช่วงที่จะมีการฝังตัวของบลาสโตซีส ส่วนรูปแบบของโปรตีนในเอนโดมีเตรียมที่กระตุ้นให้เกิดเดซิดูอะไลเซชั่นทั้งในสัตว์ที่ท้องเทียมและในสัตว์ที่ตัดรังไข่และได้รับโปรเจสเตอโรนหรือดีออกซีคอร์ติโคสเตอโรนจะเหมือนกับรูปแบบของโปรตีนของสัตว์ที่ตั้งครรภ์ปรกติได้ 3-4 วัน ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของโปรตีนที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นว่า เป็นโปรตีนชนิดใดมีคุณสมบัติทางชีววิทยาหรือเคมีอย่างไรนั้นต้องศึกษากันต่อไป | - |
dc.description.abstractalternative | The electrophoretic protein patterns as well as the amount of total protein in the endometrium, the whole uterus and the serum of the 1 - 8 days normal pregnant, the vasec tomized mated pseudopregnant and the ovariectomized treated with progesterone or deoxycorticosterone hamsters have been studied. The similarity of the electrophoretic patterns of proteins were found in the endometrium, the whole uterus and the serum during day 1 - 8 of pregnancy. However the quantity of each, protein band in the endometrium, the whole uterus and the serum was different during these days. On day 3 of preg¬nancy the amount of fraction A protein (of which Rf equal to that of albumin) decreased markly, while on day 4, fraction B showed a great decrease. After day 4 all the protein fractions restored though was not equal to the preimplantaion level. The serum protein fraction B₁ and B₂ levels were highest on day 2 and decreased sharply on day 3 of pregnancy. Electrophoretic pattern of protein in the endometrium on day 8 of pseudopregnant hamster was not different from the ovariectomized progesterone or deoxycorticosterone treated animals. The endometrial protein patterns of these three groups of animals were similar to of those animals on day 3 of pregnancy while the serum protein patterns were similar to of those animals on day 5 of pregnancy, except the ovariectomized deoxycorticosterone treated animals. The endometrial protein amount was highest on day 2 while serum protein amount increased during day 2-5 and remained unchanged until day 8 of pregnancy. However there was no difference in the amount of uterine protein during day 1-8 of pregnancy. No difference was found in the amount of endometrial protein on day 8 of pseudopregnant and of ovariectomized animals treated either with progesterone or deoxycorticosterone. High protein concentration was found in serum of all groups of animals studied. From the results it could be concluded that the changes in protein patterns and protein amount in endometrium, whole uterus as well as in .serum were found in day 3 - 4 of pregnancy. The endometrial protein patterns of day 8 of pseudopregnant and of . ovariectomized progesterone or deoxycorticosterone treated hamsters were similar to of those animals on day 3 - k of pregnancy. However the type of proteins which involved in this change as well as their molecular weight need to be further elucidated. | - |
dc.format.extent | 587100 bytes | - |
dc.format.extent | 525434 bytes | - |
dc.format.extent | 594297 bytes | - |
dc.format.extent | 826068 bytes | - |
dc.format.extent | 597102 bytes | - |
dc.format.extent | 642995 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | รูปแบบของโปรตีนในเยื่อโพรงมดลูกแฮมสเตอร์ ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ปรกติภาวะท้องเทียม และในภาวะที่กระตุ้นให้เกิดเดซิดูอะไลเซชั่น | en |
dc.title.alternative | Protein patterns of endometrium during early pregnancy, pseudopregnanancy and decidualization in the hamster | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ชีวเคมี | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Radawarn_Si_front.pdf | 573.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Radawarn_Si_ch1.pdf | 513.12 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Radawarn_Si_ch2.pdf | 580.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Radawarn_Si_ch3.pdf | 806.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Radawarn_Si_ch4.pdf | 583.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Radawarn_Si_back.pdf | 627.92 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.