Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24056
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ | |
dc.contributor.advisor | สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล | |
dc.contributor.author | ชัชฎาภรณ์ สรรคอนุรักษ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2012-11-14T05:33:02Z | |
dc.date.available | 2012-11-14T05:33:02Z | |
dc.date.issued | 2545 | |
dc.identifier.isbn | 9741724489 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24056 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en |
dc.description.abstract | วิเคราะห์องค์ประกอบทางชีวเคมีของไดอะตอมสกุล Chaetoceros และ Skeletonema ที่คัดเลือกไว้จำนวน 8 โคลน โดยคัดแยกได้จากน้ำทะเลธรรมชาติบริเวณชายฝั่ง จ.ชลบุรี จำนวน 3 โคลน คือ Chaetoceros (AL), Chaetoceros (BP) และ S.costatum (BP) และได้จากการรวบรวมสายพันธุ์จากห้องปฏิบัติการของหน่วยราชการและเอกชน จำนวน 5 โคลน คือ Chaetoceros (BU), Chaetoceros (NI), Chaetoceros (LA), Chaetoceros (PP) และ S.costatum (NI) ทำการเลี้ยงทุกโคลนด้วยอาหารสูตร Conway ในสภาวะห้องปฏิบัติการดังนี้ 28 ± 2 ℃, ช่วงเวลาที่ได้รับแสง:ไม่ได้รับแสง เท่ากับ 12:12 ชั่วโมง, ความเข้มแสงประมาณ 3000 ลักซ์ และความเค็ม 30 psu พบว่าสัมประสิทธิ์การเติบโต (μ) ของ Chaetoceros อยู่ในช่วง 1.06-1.29 ต่อวัน และของ Skeletonema อยู่ในช่วง 1.27-1.31 ต่อวัน ผลการวิเคราะห์ปริมาณองค์ประกอบทางชีวเคมีโดยรวม ได้แก่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และเถ้า ในแต่ละโคลนพบว่าส่วนมากมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ปริมาณและองค์ประกอบของกรดอะมิโนชนิดจำเป็นในทุกโคลนมีลิวซีนสูงกว่ากรดอะมิโนชนิดอื่น ส่วนฮิสติดีนมีปริมาณต่ำที่สุด สำหรับ S.costatum (BP) พบว่ามีปริมาณกรดอะมิโนชนิดจำเป็น 8 ชนิดสูงกว่าทุกโคลนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ปริมาณและองค์ประกอบกรดไขมันในทุกโคลนมีสัดส่วนของกรดไขมันใกล้เคียงกันคือ SFAsรวม > MUFAsรวม > HUFAsรวม > PUFAsรวม (ยกเว้นโคลน S.costatum (BP) จะมี MUFAsรวม > SFAsรวม > HUFAs > PUFAsรวม) ทั้งนี้สามารถแบ่งโคลนต่างๆ ตามกลุ่มกรดไขมันจำเป็น (EFAs) ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีปริมาณ EFAs สูง ได้แก่ Chaetoceros (AL), Chaetoceros (BP), Chaetoceros (LA), S.costatum (NI) และกลุ่มที่มีปริมาณ EFAs ต่ำ คือ Chaetoceros (BU), Chaetoceros (NI), Chaetoceros (PP), S.costatum (BP) จากการวิเคราะห์ปริมาณ EFAs และอัตราการเติบโตของแต่ละโคลนดังกล่าว ทำการคัดเลือกโคลนเพื่อนำไปอนุบาลกุ้งกุลาดำวัยอ่อนระยะโปรโตซูเอียและไมซิส ทั้งสิ้น 3 โคลน คือ Chaetoceros (BP), Chaetoceros (NI), และ S.costatum (BP) ผลการศึกษาอัตรารอด ระยะเวลาของการพัฒนาการ และการสะสมกรดไขมัน EFAs ในเนื้อเยื่อกุ้ง พบว่าอัตรารอดของกุ้งกุลาดำวัยอ่อนเมื่อเข้าสู่ระยะโพสลาร์วา1 ทั้ง 3 ชุดการทดลอง มีลำดับจากสูงไปต่ำดังนี้ ชุดที่ 1 (เลี้ยงด้วย Chaetoceros (BP)) > ชุดที่ 2 (เลี้ยงด้วย Chaetoceros (NI)) > ชุดที่ 3 (เลี้ยงด้วย S.costatum (BP)) โดยชุดที่ 1 และชุดที่ 2 มีระยะเวลาในการพัฒนาเข้าสู่ระยะโพสลาร์วา1 เท่ากันคือ 8 วัน 22 ชม. ส่วนชุดที่ 3 มีระยะเวลาในการพัฒนา 9 วัน 10 ชม. และจากการวิเคราะห์กรดไขมัน EFAs ในเนื้อเยื่อกุ้งพบว่า ชุดที่ 1 มีการสะสมกรดไขมัน EFAs สูงกว่าชุดอื่น ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากค่าปริมาณกรดไขมัน EFAs, อัตราการเติบโตของอะตอม และผลจากการลี้ยงกุ้งกุลาดำวัยอ่อน จึงสรุปผลการศึกษาครั้งนี้ได้ว่า Chaetoceros (BP) เป็นโคลนที่เหมาะสมที่สุดในการใช้อนุบาลกุ้งกุลาดำวัยอ่อน โดย Chaetoceros (NI) และ S.costatum (BP) มีความเหมาะสมรองลงมาตามลำดับ | |
dc.description.abstractalternative | The analysis of biochemical composition of the selected marine diatoms has been conducted on eight clones of Chaetoceros and Skeletonema. Three clones isolated from coastal seawater at Chonburi Province were Chaetoceros (AL), Chaetoceros (BP) and S.costatum (BP). The other five clones collected from the obtained culture collection were Chaetoceros (BU), Chaetoceros (NI), Chaetoceros (LA), Chaetoceros (PP) and S.costatum (NI). These diatoms were grown in Conway medium under laboratory conditions at temperature 28 ± 2 ℃, Dark:Light cycle 12:12 hrs., light intensity 3000 lux and salinity 30 psu. The growth rates of Chaetoceros and Skeletonema were 1.06-1.29 and 1.27-1.31 per day, respectively. The biochemical compositions (protein, lipids, carbohydrate and ash) among clones were different significantly (p<0.05). Leucine was the highest essential amino acids in all clones but histidine was the lowest. S.costatum (BP) were higher in essential amino acids than other clones (p<0.05). All clones had similar proportions of fatty acid compositions with in order total SFAs > total MUFAs > total HUFAs > total PUFAs (except S.costatum, total MUFAs > total SFAs > total HUFAs > total PUFAs). The result based on essential fatty acids (EFAs) revealed that these diatoms could be divided into two group. A high EFAs content group found in Chaetoceros (AL), Chaetoceros (BP), Chaetoceros (LA) and S.costatum (NI). A low EFAs content group found in Chaetoceros (BU), Chaetoceros (NI), Chaetoceros (PP) and S.costatum (BP). Based on EFAs and growth rate of diatoms, 3 clones were selected for Penaeus monodon larval diet testing from protozoea I to mysis III stages. These clones were Chaetoceros (BP), Chaetoceros (NI) and S.costatum (BP). The result showed that survival rate of prawn larvae in 3 trials was 86.00-96.44 %, with no significant effect among the diatoms. The development of prawn larvae from protozoea I to postlarval I stage fed Chaetoceros (BP) and Chaetoceros (NI) culture were similar and took 8 day 22 hrs., but fed S.costatum (BP) took 9 day 10 hrs. The proportion of EFAs in Chaetoceros (BP) fed prawn larvae tissue is higher than those of Chaetoceros (NI) and S.costatum (BP) ones. The conclusion of this study showed that Chaetoceros (BP) might be the best clones for rearing prawn larvae. | |
dc.format.extent | 3452593 bytes | |
dc.format.extent | 1233674 bytes | |
dc.format.extent | 12374272 bytes | |
dc.format.extent | 3051031 bytes | |
dc.format.extent | 8883524 bytes | |
dc.format.extent | 6798113 bytes | |
dc.format.extent | 1159788 bytes | |
dc.format.extent | 11006914 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | องค์ประกอบทางชีวเคมีของไดอะตอมสกุล Chaetoceros และ Skeletonema เพื่อใช้อนุบาลกุ้งกุลาดำวัยอ่อน | en |
dc.title.alternative | Biochemical composition of diatoms genus Chaetoceros and Skeletonema for rearing tiger prawn larvae | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์ทางทะเล | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chatchadaporn_sa_front.pdf | 3.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chatchadaporn_sa_ch1.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chatchadaporn_sa_ch2.pdf | 12.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chatchadaporn_sa_ch3.pdf | 2.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chatchadaporn_sa_ch4.pdf | 8.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chatchadaporn_sa_ch5.pdf | 6.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chatchadaporn_sa_ch6.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chatchadaporn_sa_back.pdf | 10.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.