Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24133
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นิรมล ชยุตสาหกิจ | |
dc.contributor.author | วิจิตรา ซื่อธานุวงศ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-15T07:30:52Z | |
dc.date.available | 2012-11-15T07:30:52Z | |
dc.date.issued | 2523 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24133 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกที่มีต่อการพัฒนาทักษะการบวกเลขในใจของเด็ก และศึกษาความสามารถของเด็กในการคิดเลขทั้งแบบตรงและแบบกลับในข้อความปัญหาการบวกอย่างง่าย และเพื่อศึกษาว่าเด็กจะได้รับประโยชน์จากการฝึกทักษะดังกล่าวหรือไม่ การศึกษานี้มีสมมุติฐานการวิจัย คือ 1) ประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกจะช่วยให้เด็กพัฒนาการคิดเลขจากวิธีการนับนิ้วไปสู่การระลึกตัวเลขได้ 2) ประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกจะช่วยให้เด็กพัฒนาคะแนนการตอบถูกมากขึ้นจากเดิม 3) เด็กจะมีความสามารถในการบวกแต่ละแบบ คือ แบบการหาผลบวก การหาตัวตั้งและการหาตัวบวกได้แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดปทุมคงคา จำนวน 40 คน อายุเฉลี่ย 7 ปี 7 เดือน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการฝึกโดยแบบฝึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกโปรแกรมการฝึกใช้เวลา 5 วันๆ ละ 30 ถึง 40 นาที เพื่อให้โอกาสแก่เด็กในการฝึกตัวเลขจากจำนวนสิ่งของ ขณะฝึกก็ให้พูดถึงตัวเลขที่จะใช้บวกในจำนวนนั้นๆ และฝึกตัวเลขเหล่านั้นด้วยวิธีการอย่างมีระบบ โดยเน้นความเข้าใจในการแก้ปัญหาตัวเลขในวิชาคณิตศาสตร์ และให้จำกฎการบวกจากการเชื่อมโยงตัวเลข เครื่องมือที่ใช้วัด คือ โจทย์บวกเลข 3 แบบ โดยใช้ตัวเลขหลักเดียว 0 ถึง 9 ดังนี้ 1) การหาผลบวก (m+n = …….) 2) การหาตัวตั้ง (……. + n = p) 3) การหาตัวบวก (m +…… = p) แบบละ 55 ข้อ ผู้ทดลองได้อ่านโจทย์เหล่านี้ลงในเทปบันทึกเสียง ใช้เวลาข้อละ 15 วินาที นับตั้งแต่การบอกโจทย์และรวมเวลาที่เด็กคิดแล้วเติมคำตอบ แบบทดสอบนี้ได้นำมาทดสอบซ้ำ 2 ครั้ง โดยใช้ทดสอบครั้งแรกก่อนการฝึก และทดสอบครั้งที่สองหลังการฝึก 6 ถึง 8 วัน ตัวแปรที่ศึกษา คือ คะแนนการตอบถูกและจำนวนครั้งของการนับนิ้ว ขณะที่เด็กคิดเลขในแต่ละข้อ เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ x^2- test t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิเคราะห์พบว่า 1) คะแนนความถี่ของพฤติกรรมการนับนิ้วในกลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) คะแนนของการตอบถูกในกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) คะแนนการคิดเลข 3 แบบในการทดสอบครั้งแรก พบว่า เด็กมีความสามารถในการคิดเลข 3 แบบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคิดเลขในแบบหาผลบวกได้ดีกว่าแบบหาตัวตั้งและตัวบวก ส่วนความสามารถในการคิดเลขแบบหาตัวตั้ง และแบบหาตัวบวกไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ นอกจากนี้เด็กยังได้รับประโยชน์จากการฝึกทักษะ โดยที่ผลจากการฝึกช่วยให้เด็กสามารถคิดเลขในข้อความปัญหาการบวกทั้ง 3 แบบ เพิ่มขึ้นจากเดิมและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were three-fold: (1) to -study the effect of practice for developing, skills in mental arithmetic addition in children, and, (2) to investigate the children’s ability in operating reversibility of simple addition problems (3) to investigate whether the children would get the benefits from this practicing or not. The following hypotheses were tested : ) experiences in practicing would help children develop from finger counting to immediate recall of the facts ; 2 ) experiences in practicing would help children develop more scores in thinking correct correct answers; (3) the children ill general would perform their abilities differently among three forms of simple addition problems in open sentences when the unknown was in the first, second and last position. The subjects of this investigation were consisted of forty Prathom Suksa one students, at Wat Pathumkongka School, in Bangkok, They were divided into experimental group and control group. The latter was enrolled in the thirty to forty minute five day program. The program utilized a manipulation of physical objects, speaking of addends as whole number in addition sentences and practicing the facts with generalized method. Emphasis was placed upon the children’s problem-solving understanding of mathematical actions as well as associative memorization of rules. The instrument used was an addition facts test when the sums from 0 to 9. The test was clarified according to the position of the place holder into three forms as follows: m + n =…, m +….. = p and …… + n = p with 55 addition problem for each. The order of these problems were randomized together and presenting in a tape recorder for each problem, the time for presenting, thinking of the problems and writing down the answers was fifteen seconds. The test was administered two time; the first time as a pre-test and the second as a post-test. The second time was the experimental treatment and mainpulated 6-8 days later. Two score were considered for the test “ correct answer ” and “ number of finger counting while thinking each problem ” Statistical used for data analysis were x2-test t-test and One- way Analysis of Variance. The findings indicated that (1) the decreasing scores of counting on fingers in the experimen¬tal group were statistically higher than those in the control group at the .01 level of significance; (2) the scores of correct answers gained in the experimental group were statistically more than those in the control group at the .05 level of significance; and (3) the scores on the three forms of the test showed that; in general the children performed their abilities statistically different at the .05 level of significance with form one better than form two and three, but the other two were not significantly different from each other. In addition; the children got the benefits from this practicing by gaining more scores on the three forms of the test and statistically different at the .01 level of significance. | |
dc.format.extent | 584804 bytes | |
dc.format.extent | 1487697 bytes | |
dc.format.extent | 569118 bytes | |
dc.format.extent | 411778 bytes | |
dc.format.extent | 763891 bytes | |
dc.format.extent | 349501 bytes | |
dc.format.extent | 733507 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน | |
dc.subject | พัฒนาการของเด็ก | |
dc.subject | การบวก | |
dc.subject | Mathematics -- Study and teaching | |
dc.subject | Child development | |
dc.subject | Addition | |
dc.title | การฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการบวกเลขในใจของเด็ก | en |
dc.title.alternative | A practice for developing skills in mental arithmetic addition | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
vichittra_su_front.pdf | 571.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
vichittra_su_ch1.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
vichittra_su_ch2.pdf | 555.78 kB | Adobe PDF | View/Open | |
vichittra_su_ch3.pdf | 402.13 kB | Adobe PDF | View/Open | |
vichittra_su_ch4.pdf | 745.99 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichittra_Su_ch5.pdf | 341.31 kB | Adobe PDF | View/Open | |
vichittra_su_back.pdf | 716.32 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.