Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24153
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สำลี ทองธิว | |
dc.contributor.author | วัลลภา อารีรัตน์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-15T08:49:24Z | |
dc.date.available | 2012-11-15T08:49:24Z | |
dc.date.issued | 2523 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24153 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย มี 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพโดยทั่วไปและปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 และ 2 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 เกี่ยวกับการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 วิธีดำเนินการวิจัย คือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถามและสภาพการวัดและประเมินผลการเรียนชั้นประถมปีที่ 1 และ 2 ตอนที่ 2 ปัญหาด้านต่างๆ เกี่ยวกับการวัดและประเมินผล (ความรู้ ความเข้าใจ การปฏิบัติ เครื่องมือวัดผลและบริการต่างๆ) ตอนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของครูประจำชั้นประถมปีที่ 1 และ 2 เกี่ยวกับการวัดและประเมินผล ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ มาตราส่วนประเมินค่าและคำถามปลายเปิด นำแบบสอบถามไปใช้กับตัวอย่างประชากรที่เป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 205 คน และครูประจำชั้นประถมปีที่ 2 จำนวน 205 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดา ได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 386 ชุด คิดเป็นร้อยละ 94.15 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีวัดผลการเรียนของนักเรียนที่ครูประจำชั้นประถมปีที่ 1 และ 2 ได้ปฏิบัติมาก คือ การให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดในชั่วโมงเรียน และทำแบบฝึกหัดเป็นการบ้านในการกำหนดเกณฑ์การตัดสินพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนส่วนมากครูผู้สอนเป็นผู้กำหนดกิจกรรมการวัดและประเมินผลที่ทำมากคือการแจ้งผลการเรียนให้ผู้ปกครองทราบ การแจ้งผลการสอบให้นักเรียนทราบและการสร้างข้อสอบเพื่อวัดผลการเรียนส่วนใหญ่ครูผู้สอนเป็นผู้จัดทำเอง 2) ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 มีปัญหามากในเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการวัดและประเมินผลระหว่างเรียน ความเข้าใจในการแยกจุดประสงค์แต่ละข้อจากสมุดประจำชั้นเพื่อวัดพฤติกรรมนักเรียน การวัดผลระหว่างการเรียนเป็นระยะๆ หลังจากสอนจบแต่ละบทเรียน การสอบปลายภาคเรียนให้ครอบคลุมทุกจุดประสงค์การเรียนรู้ การใช้วิธีวัดและประเมินผลด้วยการสังเกตและการจดบันทึกพฤติกรรม การสัมภาษณ์ การสอบปากเปล่า การเลือกเครื่องมือการวัดผลการเรียนให้เหมาะสมกับพฤติกรรมที่จะวัด การแบ่งเวลาในชั่วโมงเรียนเพื่อวัดผลการเรียน การสร้างแบบสัมภาษณ์และแบบสำรวจรายการเพื่อวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อปรับปรุงให้เป็นข้อสอบที่ดี และการใช้บริการของโรงเรียนเกี่ยวกับเครื่องมือในการวัดและประเมินผล เช่น แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสำรวจรายการ 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนของนักเรียน ตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ปรากฏผลดังนี้ คือ ครูประจำชั้นประถมปีที่ 1 และ 2 โดยเฉลี่ยเห็นด้วยกับการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ในเรื่องจุดมั่งหมายการวัดและประเมินผล วิธีการวัดผลการเรียน ผู้ทำหน้าที่วัดและประเมินผลการเรียน การปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียน นอกจากนั้นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียน ตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ดังต่อไปนี้ คือ 1) ควรจัดให้มีการอบรมครูในเรื่องการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 โดยเน้นภาคปฏิบัติมากกว่าการให้ความรู้แบบบรรยายหรือการอบรมจากเอกสาร 2) ควรลดจำนวนนักเรียนที่ครูแต่ละคนรับผิดชอบให้น้อยลง เพื่อครูจะได้สามารถปฏิบัติในการวัดและประเมินผลได้อย่างสม่ำเสมอ 3) เมื่อครูวัดผลแล้วพบว่ามีนักเรียนที่ยังไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ ครูควรจัดสอนซ่อมเสริมแล้วทำการวัดผลซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจจะใช้วิธีวัดผลแบบเดิมหรือวิธีอื่นก็ได้ 4) โรงเรียนควรจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างเครื่องมือวัดผล เช่น กระดาษ เครื่องโรเนียว เพื่อครูจะได้นำมาใช้ในการสร้างเครื่องมือวัดผล 5) ควรมีการออกข้อสอบร่วมกับโรงเรียนอื่นๆ หรือกลุ่มโรงเรียน เพื่อช่วยให้มาตรฐานการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนเท่ากันทุกโรงเรียน | |
dc.description.abstractalternative | Purposes ; 1. To survey the general atmosphere and current problems concerning the measurement and evaluation of the learning outcomes among grade one and two students in the elementary schools under the auspices of Kanchanaburi Provincial Administrative- Organization 2.To study the opinions and suggestions of the Prathom one, and two classroom teachers concerning the measurement and evaluation process according to the Elementary Education Curriculum B. E. 2521. Procedure The instrument conducted in this study was a set of questionnaire which had been constructed, tested and improved by the researcher. In order to provide-, the researches with necessary information, this set of questionnaire was divided into three parts . general background of the responsers and situation of measurement and evaluation, problems perceived, by responsers.. and questions motivated opinions and suggestions of Prathom one and two classroom-teachers. The forms of questionnaire were multiple-choice, rating scale and opened end types. Four hundred and ten questionnaires were distributed to randomly selected samples of 205 Prathom one and 205 Prathom two classroom teachers. Of these, three hundred and eighty-six-or 94. 15 percent were completed and returned. The returned, data was statistically analyzed, using percentage, mean and standard deviation. Findings ; Analysis of the data resulted in the following findings. 1.Prathom one and two teachers often let the students do exercises during the teaching hour, and turn in their homework assignment1 Both these exercises and assignment were used as the assessment process. The criteria for evaluating the learning outcomes derived from the exercises and assignment were set by the teachers. The measurement and evaluation activities-often did .by the teachers were to report the learning outcome to the students themselves and their parents. The tests were constructed mainly by the teachers, 2.Prathom one and two "teachers reported strongly that they had problem understanding the way to utilize the formative evaluation. They indicated difficulty intransferring the learning objectives to behavioral forms. In addition they reported the difficulty in the after-class measurement, the final-examination coustruction, the selection of the suitable evaluation instrument,the organization of learning hour for measurement, the construction .of the interview forms and 'checklists,, the analysis of the tests, and the access to the measurement equipment with in the school. 3. Prathom one and two teachers agreed upon the objectives of the measurement, 'the method of measurement and its operation according to' the Elementary Education Curriculum B. E. 2521. In addition, the Prathom one and two classroom teachers had some suggestions concerning measurement and evalation as the followings. 1. The teachers should be trained in the area of measurement and evaluation, both its methods and practices according to the require¬ment of the Elementary Education Curriculum B. E. 2521. 2. The number of children in a classroom should be reduced so as to eliminate the density problem, 3. The teacher should organize a remedial teaching session for the students who couldn’t meet the learning criteria and should allow for a re-test which would be flexible enough regarding the methods to watch the students' abilities. 4. A school should facilitate the teachers with the necessary measurement and evaluation equipment. 5. A Co-operation effort should be initiated among schools so as to constructed a basic test to be used by the teachers. | |
dc.format.extent | 638543 bytes | |
dc.format.extent | 705910 bytes | |
dc.format.extent | 1775454 bytes | |
dc.format.extent | 518699 bytes | |
dc.format.extent | 1221751 bytes | |
dc.format.extent | 909505 bytes | |
dc.format.extent | 1403146 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ปัญหาการวัดและประเมินผลนักเรียนชั้นประถมปีที่หนึ่งและสองในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี | en |
dc.title.alternative | Measurement and evaluation problems of grade one and two in the Elementary Schools under the Auspices of Kanchanaburi Provincial Administrative Organization | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ประถมศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wallapha_ar_front.pdf | 623.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
wallapha_ar_ch1.pdf | 689.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
wallapha_ar_ch2.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
wallapha_ar_ch3.pdf | 506.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
wallapha_ar_ch4.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wallapha_Ar_ch5.pdf | 888.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
wallapha_ar_back.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.