Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24154
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพร้อมพรรณ อุดมสิน
dc.contributor.authorประสงค์ ศรีโสภณ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-15T08:49:35Z
dc.date.available2012-11-15T08:49:35Z
dc.date.issued2528
dc.identifier.isbn9745643238
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24154
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีแบบการคิดต่างกัน 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีแบบการคิดต่างกัน 3. เพื่อศึกษาปฏิกิริยาร่วมระหว่างแบบการคิดกับเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2527 ในเขตการศึกษา 6 จำนวน 520 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดแบบการคิด แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่มีแบบการคิดแบบวิเคราะห์เชิงบรรยายมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงเป็นอันดับแรก นักเรียนที่มีแบบการคิดแบบจำแนกประเภทเชิงอ้างอิงและนักเรียนที่มีแบบการคิดแบบโยงความสัมพันธ์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์รองลง มาตามลำดับ 2. นักเรียนที่มีแบบการคิดแบบวิเคราะห์เชิงบรรยาย แบบจำแนกประเภทเชิงอ้างอิง และแบบโยงความสัมพันธ์ มีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับที่เป็นกลางทั้งสิ้น โดยนักเรียนที่มีแบบการคิดแบบวิเคราะห์เชิงบรรยายมีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ดีกว่านักเรียนที่มีแบบการคิดแบบอื่น ๆ 3. นักเรียนที่มีแบบการคิดแตกต่างกันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยนักเรียนที่มีแบบการคิดแบบวิเคราะห์เชิงบรรยายมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่มีแบบการคิดแบบจำแนกประเภทเชิงอ้างอิง และสูงกว่านักเรียนที่มีแบบการคิดแบบโยงความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนนักเรียนที่มีแบบการคิดแบบจำแนกประเภทเชิงอ้างอิงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่มีแบบการคิดแบบโยงความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4. นักเรียนที่มีแบบการคิดแตกต่างกันมีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยนักเรียนที่มีแบบการคิดแบบจำแนกประเภทเชิงอ้างอิงกับนักเรียนที่มีแบบการคิดแบบโยงความสัมพันธ์มีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นักเรียนที่มีแบบการคิดแบบวิเคราะห์เชิงบรรยายกับนักเรียนที่มีแบบการคิดแบบโยงความสัมพันธ์มีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และนักเรียนที่มีแบบการคิดแบบวิเคราะห์เชิงบรรยายกับนักเรียนที่มีแบบการคิดแบบจำแนกประเภทเชิงอ้างอิงมีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 5. ไม่มีปฏิกิริยาร่วมระหว่างเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ และแบบการคิดต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were as follows : 1. To study the mathematics learning achievement and attitutdes towards mathematics of mathayom suksa three students with different cognitive styles. 2. To compare the mathematics learning achievement and attitudes towards mathematics of mathayom suksa three students with different cognitive styles. 3. To study the interaction between cognitive styles and attitudes towards mathematics on mathematics learning achievement of mathayom suksa three students. The samples of this study were 520 mathayom suksa three students in educational region six in 1984 academic year. The research instruments were the cognitive style test, attitudes towards mathematics test and mathematics learning achievement test. The data were analyzed by means of arithmetic mean, standard deviation, one-way analysis of variance and two-way analysis of variance. The results of this study showed that: 1. The students with descriptive-analytic cognitive style had the highest achievement while the students with categorical inferential cognitive style and relational cognitive style had lower achievement respectively. 2. The students with descriptive-analytic cognitive style, categorical-inferential cognitive style and relational cognitive style had the attitudes towards mathematics at the middle level on the average. The students with descriptive-analytic cognitive style, categorical-inferential cognitive stle and relational cognitive style had the attitudes towards mathematics at the middle level on the average. The students with descriptive-analytic cognitive style had better attitudes towards mathematics than the other types of cognitive styles. 3. The students with different cognitive styles had different mathematics learning achievement at the 0.01 level of significance. The mathematics learning achievement of students with descriptive-analytic cognitive style were significantly higher than students with categorical-inferential cognitive style a relational style at the 0.01 level, and the students with categorical-inferential cognitive style had higher mathematics learning achievement than the students with relational cognitive style at the 0.01 level of significance. 4. The students with different cognitive styles had different attitudes towards mathematics at the 0.01 level of significance. The attitudes towards mathematics of students with categorical-inferential cognitive style and relational cognitive style were significantly different at the 0.01 level, and attitudes towards mathematics of students with descriptive-analytic cognitive style and relational cognitive style were also significantly different at the 0.01 level. But attitudes towards mathematics of students with descriptive-analytic cognitive style and students with categorical-inferential cognitive style were not different at the 0.01 level of significance. 5. There was no interaction between attitudes towards mathematics and cognitive styles on mathematics learning achievement of mathayom suksa three students.
dc.format.extent553244 bytes
dc.format.extent472495 bytes
dc.format.extent822351 bytes
dc.format.extent658417 bytes
dc.format.extent454836 bytes
dc.format.extent532953 bytes
dc.format.extent1610675 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการเปรีบบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม ที่มีแบบการคิดต่างกันen
dc.title.alternativeA comparison of mathematics learning achievement and attitudes towards mathematics of mathayom suksa three students with different cognitive stylesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasong_Sr_front.pdf540.28 kBAdobe PDFView/Open
Prasong_Sr_ch1.pdf461.42 kBAdobe PDFView/Open
Prasong_Sr_ch2.pdf803.08 kBAdobe PDFView/Open
Prasong_Sr_ch3.pdf642.99 kBAdobe PDFView/Open
Prasong_Sr_ch4.pdf444.18 kBAdobe PDFView/Open
Prasong_Sr_ch5.pdf520.46 kBAdobe PDFView/Open
Prasong_Sr_back.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.