Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24164
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิสุทธ์ บุษยกุล
dc.contributor.authorวราภรณ์ จิรวาณิช
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-15T09:18:46Z
dc.date.available2012-11-15T09:18:46Z
dc.date.issued2522
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24164
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522en
dc.description.abstractจุดมุ่งหมายของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษารวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีอุปนัยน์ของชาวอินเดีย โบราณ โดยจะเสนอรายละเอียดเฉพาะพิธีที่ปรากฏในวรรณคดีสูตรต่างๆ ซึ่งอยู่ในระยะเวลาประมาณ 500 ปี ถึง 200 ปี ก่อนคริสตศักราช (ประมาณ 50 ปี ก่อนพุทธศักราช ถึงประมาณพุทธศักราช 300 ) ระยะเวลาดังกล่าวนี้เป็นระยะเวลาที่ขนบธรรมเนียมประเพณีถึงพิธีต่างๆของชาวอินเดียได้กำหนดเป็นระเบียบแบบแผนให้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดในสังคมแล้ว อนึ่งในวิทยานิพนธ์นี้ ผู้วิจัยยังมุ่งที่จะเสนอแนวความคิกเกี่ยวกับลักษณะ ความสัมพันธ์ระหว่าง พิธีอุปนัยน์กับพิธีไหว้ครู และครอบโขนละครของไทยอีกด้วย ในการศึกษาเรื่องราวดังกล่าวนี้ ผู้วิจัยได้ค้นคว้ารวบรวมหลักฐานและข้อมูลจากคัมภีร์ต่าง ๆ เช่น คัมภีร์พระเวท พราหมณะ อุปนิษัท สมฤติ ธรรมศาสตร์ และโดยเฉพาะ คฤหยสูตรต่างๆ ซึ่งเป็นตำราเกี่ยวกับพิธีกรรมประจำบ้าน นอกจากนี้ยังได้อาศัยตำราต่างๆ ที่นักปราชญ์ชาวอินเดียและชาวประเทศทางตะวันตกได้ค้นคว้ารวบรวมขึ้นไว้ ประกอบการวิจัยอีกด้วย เนื้อหาของวิทยานิพนธ์แบ่งเป็น 5 บท บทแรกเป็นบทนำ ซึ่งกล่าวถึงหัวข้อวิทยานิพนธ์ ตลอดจนวิธีดำเนินการวิจัย บทที่ 2 ว่าด้วยเรื่องวรรณคดี สันสกฤตต่างๆพอสังเขป เพื่อเป็นพื้นฐานประกอบความเข้าใจถึงระยะความเป็นมาของพิธีอุปนัยน์ จากนั้นกล่าวถึงจุดประสงค์ของพิธีอุปนัยน์ กำหนดเวลาที่จะประกอบพิธีพิธีอุปนัยน์ ผู้มีสิทธิ์เข้าพิธีอุปนัยน์ ตลอดจนอายุของผู้เข้าพิธีอุปนัยน์ และข้อกำหนดเกี่ยวกับเครื่องแบบของพรหมจารี บทที่ 3 กล่าวถึงพิธีอุปนัยน์ ซึ่งมีทั้งพิธีอุปนัยน์ของบุคคลปกติธรรมดา บุคคลพิการ และบุตรที่เกิดจากชู้ ตลอดจนพิธีอุปนัยน์ของสตรี หน้าที่และระเบียบวินัยของนักศึกษาหรือพรหมจารี ขณะที่อาศัยอยู่กับอาจารย์เพื่อเรียนพระเวทหลังจากเข้าพิธีอุปนัยน์แล้ว และพิธีลบล้างความผิดของผู้ที่มิได้เข้าพิธีอุปนัยน์บทที่ 4 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพิธีอุปนัยน์กับพิธีครอบโขนละครของไทย และบทที่ 5 เป็นบทสรุป ผลของการวิจัย ทำให้ทราบว่า พิธีอุปนัยน์ของชาวอินเดียโบราณได้กำหนดเป็นระเบียบแบบแผนที่แน่นอน และพิธีกรรมอันสลับซับซ้อนในสมัยสูตร พิธีอุปนัยน์ เป็นพิธีที่กระทำเพื่อฝากตัวเป็นศิษย์และเรียนพระเวทจากอาจารย์ผู้สอน ผู้ที่เข้าพิธีอุปนัยน์แล้วได้ชื่อว่าเป็นทวิชะ คือผู้เกิดสองครั้ง สามารถที่จะกระทำพิธีทางศาสนาได้ ผู้ที่ไม่เข้าพิธีอุปนัยน์เมื่อถึงกำหนดจะเป็นผู้ที่มีความผิด สังคมรังเกียจ ไม่มีสิทธิจะเรียนพระเวทและประกอบพิธีใดๆทางศาสนาทั้งสิ้น ผู้ที่มีสิทธิเข้าพิธีอุปนัยน์คือผู้ที่อยู่ในวรรณะสูงทั้งสามคือ พราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ ศูทรไม่มีโอกาสเข้าพิธีอุปนัยน์ ส่วนสตรีนั้นเคยได้เข้าพิธีอุปนัยน์ในสมัยพระเวท แต่ต่อมาในสมัย สูตรมีข้อกำหนดว่าสตรีไม่ต้องเข้าพิธีอุปนัยน์ เพราะถือว่าพิธีแต่งงานคือพิธีอุปนัยน์ของสตรี นอกจากนี้แล้วการศึกษาพิธีอุปนัยน์ยังคงทำให้เข้าใจว่าประเพณีวัฒนธรรมของไทย คงได้รับอิทธิพลจากพิธีอุปนัยน์อยู่บ้าง โดยเฉพาะปรากฏในพิธีไหว้ครูและครอบโขนละครของไทย
dc.description.abstractalternativeIt is the purpose of this thesis to make a careful study of the initiation ceremony (upanayana) in ancient India, especially during the sutra period (circa 500 - 200 B.C.) when this important ceremony has already been well established in the Indian society. The thesis proposes in the same time to: study the possible influence of this upanayana ceremony on similar Thai counterparts in the dramaturgical practice in Thailand.In the course of the research, data are gathered from the various classes of Vedic texts, such as the Samhitas, the Brahmanas, the upanishads, the (Grhyasutras and other ritual literature. Books written by modern Indian and western scholars are also consulted. These data are then assorted, classified and systematically studied. The thesis is divided into 5 chapters, the first of which is introductory, discussing the problem, the thesis title and research methods. The second chapter gives a brief outline of Indian literature so far as it is necessary for the under¬standing of the upanayana ceremony. The third chapter describes the rituals for boys in general, boys who are crippled, boys born out of wedlock and girls. It also describes the daily life and duties of the initiated students in the home of the teacher. The remedy prescribed to those who fail to become initiated in due time is also discussed. The fourth chapter is a comparative study showing the points of similarity and dif¬ference between the Indian and the Thai practices. The researcher believes that the upanayana ceremony of India was firmly established in the time of the Grhyasutras, The ceremony is required of those before they start the formal study of the sacred Vedas. A student who has sucessfully gone through the ceremony is called a dvija or the twice - born, and, after the completion of the study, is entitled to perform the various sacrifices and other rituals. Sudras are never initiated. Women were once admitted to this initiation cere¬mony, but later were not permitted on the ground that the wedding ceremony was the substitute for the femals. It is the belief of the present researcher that the upanayana ceremony of India unmistakably exerts some influence on the Thai Wai Khru and Khrob ceremonies.
dc.format.extent538524 bytes
dc.format.extent322718 bytes
dc.format.extent1089555 bytes
dc.format.extent2106952 bytes
dc.format.extent493519 bytes
dc.format.extent341315 bytes
dc.format.extent563195 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleพิธีอุปนัยน์ในอินเดียสมัยโบราณen
dc.title.alternativeInitiation ceremony in ancient indiaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Varaphorn_Ji_front.pdf525.9 kBAdobe PDFView/Open
Varaphorn_Ji_ch1.pdf315.15 kBAdobe PDFView/Open
Varaphorn_Ji_ch2.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Varaphorn_Ji_ch3.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open
Varaphorn_Ji_ch4.pdf481.95 kBAdobe PDFView/Open
Varaphorn_Ji_ch5.pdf333.32 kBAdobe PDFView/Open
Varaphorn_Ji_back.pdf550 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.