Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24248
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณา ปูรโชติ
dc.contributor.authorวราภรณ์ ผ่องสุวรรณ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณพิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-16T03:24:20Z
dc.date.available2012-11-16T03:24:20Z
dc.date.issued2526
dc.identifier.isbn9745623482
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24248
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสถานภาพทางการศึกษาของโรงเรียนราษฏร์ระดับมัธยมศึกษา ในเขตจังหวัดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก 3 จังหวัด คือ จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ในปีการศึกษา 2524 จำนวน 34 โรงเรียน เป็นโรงเรียนที่ทำการสอนในระดับชั้น ม.1 – ม.3 จำนวน 30 โรงเรียน และระดับชั้น ม.1 – ม.4 , ม.ศ.4 – ม.ศ.5 จำนวน 4 โรงเรียน ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจสถานภาพทางการศึกษาของโรงเรียนราษฏร์ระดับมัธยมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าดัชนีบ่งชี้สถานภาพทางการศึกษาของแต่ละโรงเรียน ในโรงเรียนระดับ ม.1 – ม.3 ซึ่งคำนวณมาจากอัตราส่วนระหว่างตัวแปรกับจำนวนนักเรียนของแต่ละโรงเรียน ตัวแปรนั้นทั้งหมด 18 ตัวแปร เช่น จำนวนครูที่มีวุฒิทางการศึกษา พื้นที่โรงเรียนและรายได้ของโรงเรียน เป็นต้น ดัชนีบ่งชี้สถานภาพทางการศึกษานี้ กำหนดให้มีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 200 มีค่ากลางเท่ากับ 100 ทำการเปรียบเทียบตัวแปรบางตัวของแต่ละกลุ่มโรงเรียนกับเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน และกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้ศึกษาตัวแปรบางตัว ซึ่งได้แก่ คุณวุฒิและประสบการณ์การสอนของครู ครูวุฒิเจ้าของโรงเรียน ผู้จัดการและครูใหญ่จำนวนวัสดุอุปกรณ์และค่าธรรมเนียม เป็นต้น ผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้ คือ โรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่ม 1 (ชั้นม.1 – ม.3) จำนวน 30 โรงเรียน ปรากฏว่า 1) ดัชนีบ่งชี้สถานภาพทางการศึกษา มีค่าอยู่ระหว่าง 37.1113 ถึง 172.6668 สูงสุด คือ โรงเรียนบุญจิตวิทยา จังหวัดชลบุรี ต่ำสุด คือ โรงเรียนเซนต์แอนโทนี จังหวัดฉะเชิงเทรา โรงเรียนที่มีค่าดัชนีบ่งชี้สถานภาพทางการศึกษาสูงกว่า 100 มีอยู่ 11 โรงเรียน อยู่ในจังหวัดชลบุรี 7 โรงเรียน และจังหวัดฉะเชิงเทรา 4 โรงเรียน โรงเรียนที่มีค่าดัชนีบ่งชี้สถานภาพทางการศึกษาต่ำกว่า 100 มี 19 โรงเรียน อยู่ในจังหวัดชลบุรี 9 โรงเรียน จังหวัดระยอง 4 โรงเรียน และจังหวัดฉะเชิงเทรา 6 โรงเรียน จากทั้งหมด 30 โรงเรียน แสดงว่าโรงเรียนราษฏร์ระดับมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ส่วนใหญ่มีสถานภาพทางการศึกษาต่ำ 2) ศึกษาตัวแปรบางตัวของโรงเรียนมัธยมศึกษาระดับชั้น ม.1 – ม.3 ปรากฏว่า 2.1) โรงเรียนส่วนมากยังไม่มีโรงฝึกงาน ห้องพลศึกษา และห้องปฏิบัติการวิชาต่างๆ เช่น วิชาคหกรรมศิลป์ วิชาเกษตรกรรมศิลป์ เป็นต้น 2.2) อุปกรณ์ในวิชาต่างๆ เช่น วิชาเขียนแบบ วิชาไฟฟ้าและวิชาช่างยนต์ รวมทั้งจำนวนหนังสือในห้องสมุดยังไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน 2.3) คุณวุฒิของครูที่สอนในระดับชั้น ม.1 – ม.3 เจ้าของ และผู้จัดการโรงเรียน ส่วนมากมีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี สำหรับครูใหม่มีวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่าเป็นส่วนมาก และมีประสบการณ์การบริหารงานทางการศึกษา ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป 2.4) อัตราค่าธรรมเนียมการเรียนในระดับชั้น ม.1 – ม.3 ต่อนักเรียนแต่ละคน มีตั้งแต่ 200 – 2400 บาทต่อปี โรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่ม 2 (ชั้นม.1 - ม.4 , ม.ศ.4 - ม.ศ.5) จำนวน 4 โรงเรียน ศึกษาตัวแปรบางตัว แล้วพบว่า 1) โรงเรียนส่วนมากยังไม่มีห้องทดลองวิชาเกษตรกรรมศิลป์ 2) อุปกรณ์ในวิชาช่างยนต์และจำนวนหนังสือในห้องสมุด ยังไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน 3) คุณวุฒิครูที่สอนในระดับชั้น ม.1 - ม.4 , ม.ศ.4 - ม.ศ.5 มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ส่วนครูใหญ่มีวุฒิสูงกว่าปริญญาตรีและปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและมีประสบการณ์การบริหารงานทางการศึกษาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป 4) อัตราค่าธรรมเนียมการเรียนชั้น ม.1 - ม.4 ต่อนักเรียนแต่ละคนมีตั้งแต่ 500 – 2800 บาทต่อปี และชั้นม.ศ.4 – ม.ศ.5 อัตราค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 600 – 3200 บาทต่อปี
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the educational status of 34 private secondary schools in East-Coast provinces (Chonburi, Rayong and Chachoengsao) in the academic year 1981. There are 30 private secondary schools level M.1-M.3 and four private secondary schools level Mol-M.4,M.S.4-M.S.5» A school survey method was used to collect the data concerning Educational Status of Private Secondary School. The obtained data was analyzed by computing the educational status index of each school. The first group (M.1 -M.3) was computed from the ratio of variable with number of students. There are 18 variables such as number of the educational teachers, school areas and school incomes etc. The educational status index was set between 0 to 200 , the median was 100. And comparing some variables with some standard of Office of the Private Educational Commission and describing some variables such as- qualification and experiences of teachers, the owner of school, the manager, the headmaster and school equipments. The findings were as follow : Thirty private secondary schools of level M.1-M.3 showed : 1. The educational status index was ranged from 37.1113 to 172.6668. Boonchitvitaya School of Chonburi had the highest educational status index and Saint Antony School of Chachoengsao has the lowest one. There are 11 schools (seven schools in Chonburi and four schools in Chachoengsao) which had the educational status, index over 100. There are 19 schools (nine schools in Chonburi, four schools in Rayong and six schools in Chachoengsao) which had the educational status index below 100., it showed that these 19 schools had low educational status. 2. Most schools had no workshops, physical education rooms and laboratory rooms such as home science laboratory and agricultural arts shop. The equipment for teaching and learning in electric subject, automechanic subject and books in the libraries were not sufficient for students. The owner, manager and teachers hold a lower than Bachelor's Degree, most headmaster hold a Bachelor's Degree and had educational experiences over five years. The school fee per student was between 200 - 2400 baht per year. Four private secondary schools of level M.1-M.4, M.S.4-M.S.5 showed : Most schools had no agricultural arts laboratory. The equipment for teaching and learning automechanic subject and books in the liberies were not sufficient for student. Most teachers in M.1- M.4,M.S.4-M.S.5 hold a lower than Bachelor's Degree. The headmaster hold a Bachelor’s Degree and higher, they had the educational experiences over ten years. The school fee per student was between 500 - 2800 baht per year for level M.1-M.4 and 600 - 3200 baht per year for level M.S.4-M.S.5.
dc.format.extent514783 bytes
dc.format.extent434948 bytes
dc.format.extent998067 bytes
dc.format.extent473725 bytes
dc.format.extent1636472 bytes
dc.format.extent828677 bytes
dc.format.extent714047 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleสถานภาพทางการศึกษาของโรงเรียนราษฎร์ระดับมัธยมศึกษา ในเขตจังหวัดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกen
dc.title.alternativeEducational status of private secondary schools in East-Coast provincesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waraporn_Po_front.pdf502.72 kBAdobe PDFView/Open
Waraporn_Po_ch1.pdf424.75 kBAdobe PDFView/Open
Waraporn_Po_ch2.pdf974.67 kBAdobe PDFView/Open
Waraporn_Po_ch3.pdf462.62 kBAdobe PDFView/Open
Waraporn_Po_ch4.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_Po_ch5.pdf809.25 kBAdobe PDFView/Open
Waraporn_Po_back.pdf697.31 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.