Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24267
Title: โครงสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่น : วิเคราะห์ในเชิงปริมาณแบบพึ่งพา
Other Titles: The structure of econnomic relations between Thailand and Japan : a quantitative analysis of interdependence
Authors: วัชรี อิทธิอาวัชกุล
Advisors: วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในช่วงสองทศวรรษแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจไทยโดยใช้กลยุทธความจำเจริญเติบโตแบบไม่สมดุล (Unbalanced Growth) ได้มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศ และระหว่างประเทศในลักษณะที่เศรษฐกิจไทยต้องผูกพันกับเศรษฐกิจต่างประเทศยิ่งขึ้น ดังนั้นความผันแปรในวิกฤติการณ์เศรษฐกิจโลกจึงส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ปัญหาดุลการชำระเงินที่เกิดขึ้นในประเทศไทยสาเหตุประการหนึ่งเกิดจากความรุนแรงของปัญหาการขาดดุลการค้าที่เป็นพลังกดดันอยู่ในระบบเศรษฐกิจไทย แม้เศรษฐกิจไทยจะพัฒนาก้าวหน้าโดยมีภาคเกษตรกรรมเป็นแหล่งที่มาของรายได้เงินตราต่างประเทศที่สำคัญ แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการนำสินค้าเข้าประเภททุน และสินค้าขั้นกลางเพื่อการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาอุตสาหกรรมยังไม่ได้ก่อให้เกิดผลเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจได้ถึงขนาด จึงปรากฏว่ายิ่งเศรษฐกิจไทยขยายตัว ประเทศไทยก็ยิ่งต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะจากญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยอย่างยิ่งยวดทั้งด้านเศรษฐกิจและการค้า วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีความมุ่งหมายที่จะศึกษาวิเคราะห์ถึงลักษณะโครงสร้างเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่นว่า อุตสาหกรรมต่างๆ มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาต่อกันมากน้อยเพียงใด ตลอดจนวิเคราะห์ถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงความต้องการสินค้าของประเทศไทยกับญี่ปุ่น ต่อโครงสร้างการผลิตของประเทศทั้งสองในเชิงผลกระทบต่อเนื่องต่ออัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมในด้านผลผลิต รายได้ (มูลค่าเพิ่ม) และการว่าจ้างทำงาน วิธีการวิจัยเป็นวิธีเชิงปริมาณโดยนำแบบจำลองปัจจัยการผลิตผลผลิตระหว่างประเทศ (International Input-Output Model) มาศึกษาวิจัยโดยใช้ข้อมูลจากตารางปัจจัยการผลิตผลผลิตระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่นปี พ.ศ.2518 (ขนาด 69 สาขา) และข้อมูลการค้าของกรมศุลกากรในช่วงปี พ.ศ.2518-2524 เป็นเครื่องมือสำคัญในการคำนวณค่าทางสถิติต่างๆ ผลการศึกษาวิจัยได้ผลสรุปซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน กล่าวคือ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่มีความแตกต่างกันทางโครงสร้างการผลิตอย่างมากกล่าวคือ ญี่ปุ่นเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตค่อนข้างครบวงจรสมบูรณ์และเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทยซึ่งโครงสร้างการผลิตเป็นเกษตรกรรม การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมยังต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเพื่อการผลิต (Producer Goods) จากญี่ปุ่นเป็นมูลค่าสูงกว่าสินค้าเพื่อการบริโภค (Consumer Goods) ที่ประเทศไทยผลิตเพื่อส่งออกไปขายญี่ปุ่น ความสัมพันธ์ระหว่างกันในแนวดิ่ง (Vertical Interdependence) เช่นนี้เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยต้องตกเป็นฝ่ายพึ่งพาญี่ปุ่นมากกว่าที่ญี่ปุ่นต้องพึ่งพาประเทศไทย (Unilateral Dependence) ฉะนั้นการค้าระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่นที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันประเทศไทยจึงขาดพลังอำนาจต่อรองทางการค้ากับญี่ปุ่นอย่างแท้จริง ผลสะท้อน คือ ประเทศไทยจึงต้องประสบกับการขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นอย่างเรื้อรังเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการพิจารณาแก้ไขปัญหารากฐานของการค้าระหว่างประเทศของไทยกับญี่ปุ่น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาแนวทางแก้ไขที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงกันทั้งด้านการค้าการลงทุนและการพัฒนาอุตสาหกรรม ดังนั้นผลการศึกษาวิจัยนี้จึงพอจะเป็นแนวทางอันหนึ่งที่จะช่วยให้รัฐบาลสามารถวางแผนและดำเนินมาตรการในด้านต่างๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
Other Abstract: The two decades o£ Thailand’s economic development based on the unbalanced growth strategy had brought about the drastic changes in its economic structure which is over more dependent on its foreign sector. As a result, any fluctuation in world economy had inevitably affected Thailand’s economic stability. The cronic unfavourable balance of trade is one of the important factors which contributed to' the serious problem of balance of payment deficit facing the country. while the economic development has been progressing with agricultural sector as the major source of foreign currency earning, it is still insufficient to meet import demand for capital and intermediate goods needed for industrial production. This is perhaps due to the fact that industrial development in Thailand had not created a full linkage effect. It is quite apparent, therefore, that the more expanded economy, the more dependent Thailand become on imported goods particularly from Japan which is its major trading partner. It is the purpose of this thesis to use the economic relation between Thailand and Japan as a case study to measure the degree of structural interdependence and also to evaluate the repercussions between their production structures from the changes in either country's import demands. The study of economic impact is focused on the income and employment generating effects. The study is quantitative in nature utilizing the International Input Output Model to analyse the data from the international input output table between Thailand and Japan of the year 1975 (dividing into 69 sectors), and trade data from Thai Customs Department covering the period 1975-1981. The conclusion of the study gives a strong support to the hypothesis that the more differences in industrial structures, the more interdependence between the countries involved. Comparatively, Thailand’s production structure is predominantly agricultural while Japan has the full-range industrialisation and advanced technology. As a consequent, Thailand’s industrial productions continue to depend much on raw materials and technology from Japan. Trade between Thailand and Japan can thus be regarded as characterized by the vertical relationship such that Thailand’s import of producer goods from Japan is,-relatively much greater than its export of consumer goods to Japan. This vertical inter dependence is one of the crucial factors which led Thailand to unilateral dependent on Japan thereby reducing Thailand’s bargaining power. This is evidenced by Thailand's large and growing trade balance deficit with Japan. It is hoped that this empirical study is useful not only as an academic exercise but also as one of the basis for government to formulate policy and analyze its implication. Since to have any success in rectifying the fundamental problem inherited in Thailand-Japanese trade relation, such policy formulation must take into consideration all aspects of the inter relationship which includes trade, investment and industrial development.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24267
ISBN: 9745623148
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Washaree_It_front.pdf650.26 kBAdobe PDFView/Open
Washaree_It_ch1.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Washaree_It_ch2.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Washaree_It_ch3.pdf742.14 kBAdobe PDFView/Open
Washaree_It_ch4.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Washaree_It_ch5.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Washaree_It_ch6.pdf497.67 kBAdobe PDFView/Open
Washaree_It_back.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.