Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24281
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์ | |
dc.contributor.author | วัชรี วิลาสเดชานนท์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-16T05:06:25Z | |
dc.date.available | 2012-11-16T05:06:25Z | |
dc.date.issued | 2522 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24281 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาทางอาชีวะได้รับการส่งเสริมสนับสนุนในด้านต่างๆ จากรัฐบาลมาโดยตลอด ตั้งแต่เริ่มพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 เป็นต้นมา จนกระทั่งบัดนี้เป็นที่น่าสงสัยว่าจากการส่งเสริมการศึกษาด้านนี้ได้รับผลตอบแทนคุ้มกับต้นทุนที่เสียไปหรือไม่ และสมควรที่จะได้รับการสนับสนุนหรือปรังปรุงเปลี่ยนแปลงด้านใดบ้าง การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนของการลงทุนทางอาชีวศึกษาในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะประเมินคุณค่าการศึกษาอาชีวะระดับ ปวช. ในแต่ละสาขาว่า ในปัจจุบันอัตราผลตอบแทนของการศึกษาแต่ละสาขา โครงสร้างด้านต้นทุน ตลอดจนผลตอบแทนอยู่ในภาวะเช่นไร โดยพิจารณาทั้งในแง่สังคมและส่วนบุคคล การศึกษาเลือกศึกษาสาขาช่างอุตสาหกรรม และสาขาพณิชยกรรม โดยสุ่มตัวอย่างจากบรรดาผู้สำเร็จจากสถานศึกษาที่เป็นของรัฐบาล คือ สาขาพณิชยกรรม สุ่มตัวอย่างจาก วิทยาเขตพณิชยการพระนคร สาขาช่างอุตสาหกรรม สุ่มตัวอย่างจากวิทยาเขตอุเทนถวาย และวิทยาลัยช่างกลปทุมวันจำนวนตัวอย่างสุ่มทั้งสิ้น 445 ตัวอย่าง การวิเคราะห์โครงการศึกษาด้านอาชีวะในครั้งนี้ อาศัยเทคนิคการวิเคราะห์ถึงผลได้ผลเสีย (cost – benefit analysis) โดยคำนวณออกมาในรูปของอัตราผลตอบแทนภายใน ซึ่งมีลำดับขั้นตอนในการศึกษาดังนี้ คือ 1) ศึกษาทางด้านผลตอบแทน (benefit) จัดอยู่ในรูปของรายได้บวกกับผลประโยชน์พิเศษที่เป็นตัวเงิน ผลตอบแทนของการศึกษาอาชีวะระดับ ปวช. หมายถึง ส่วนแตกต่างของรายได้ระหว่างผู้สำเร็จ ปวช. กับชั้น ม.ศ. 3 แต่เนื่องจากรายได้ที่บุคคลได้รับนั้นเป็นผลมาจากอิทธิพลของปัจจัยหลายๆ อย่างรวมกัน จึงต้องขจัดอิทธิพลของปัจจัยอื่นๆ ให้เหลือเฉพาะส่วนของรายได้ที่เป็นอิทธิพลของการศึกษาแต่เพียงอย่างเดียว โดยการสร้างสมการถดถอยของรายได้ของผู้สำเร็จ ปวช. แต่ละสาขาขึ้นมา พบว่า กระแสรายได้ของผู้สำเร็จจากช่างกลมีค่าอยู่ในระดับสูงสุด ส่วนสมการถดถอยของรายได้ของผู้ที่สำเร็จจากช่างก่อสร้างอุเทนถวาย อยู่ในรูปของสมการเชิงเส้นตรง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เมื่ออายุเพิ่มขึ้น รายได้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสิ้นสุดอายุการทำงาน ในบรรดาผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วนั้นปรากฏว่า ต้องใช้เวลาหางานทำโดยเฉลี่ยแล้ว 3.1 เดือน เพื่อให้ผลตอบแทนที่วัดได้มีค่าใกล้เคียงความจริงมากที่สุด จึงมีการปรับปรุงรายได้ที่ผู้สำเร็จได้รับในปีแรกด้วยตัวเลขดังกล่าว 2) ศึกษาทางด้านต้นทุน (cost) หมายถึง ต้นทุนต่อหน่วยทั้งที่เป็นต้นทุนทางตรง (direct cost) และต้นทุนทางอ้อม (indirect cost) โดยพิจารณาแยกเป็นต้นทุนทางสังคมและต้นทุนส่วนบุคคล องค์ประกอบของต้นทุนทางตรงในแง่สังคม แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ต้นทุนดำเนินการและต้นทุนทรัพย์สิน ซึ่งช่างกลปทุมวันมีต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านนี้สูงที่สุดถึง 5531 บาทต่อปี ช่างก่อสร้างอุเทนถวาย 5062 บาท และพณิชยการพระนคร น้อยที่สุด คือ 2552 บาท ต้นทุนที่แตกต่างกันนี้เนื่องมาจากลักษณะเนื้อหาของวิชาในหลักสูตรที่ต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ประกอบการศึกษาที่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาต้นทุนส่วนบุคคล ซึ่งประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายส่วนตัว ช่างกลปทุมวันมีต้นทุนด้านนี้ต่ำสุด คือ เพียงแค่ 2022 บาทเท่านั้น ของช่างก่อสร้างอุเทนถวายสูงถึง 2632 บาท และพณิชยการพระนคร 2479 บาท สรุปแล้ว ต้นทุนส่วนบุคคลของการเรียนอาชีวะ ประมาณ 2290 บาทต่อคนต่อปี เนื่องจากการศึกษาในระดับใดๆ นั้น มักมีผู้สอบตกหรือลาออกในสัดส่วนไม่น้อย จึงต้องคำนึงถึงส่วนนี้ด้วย โดยการนำเปอร์เซ็นต์ของผู้ลาออกและจำนวนปีโดยเฉลี่ยที่ใช้เรียนจนสำเร็จ มาปรับปรุงต้นทุนทางตรงทั้งในแง่สังคมและส่วนบุคคล สำหรับต้นทุนทางอ้อมซึ่งหมายถึงค่าเสียโอกาสนั้น หาจากรายได้ของผู้จบ ม.ศ. 3 แล้วไม่ได้เรียนต่อ จากผลงานที่ Blaug ทำไว้เมื่อปี 2513 แล้วปรับด้วยดัชนีราคา 3) คำนวณอัตราผลตอบแทน (rate of return) สำหรับการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม จึงใช้วิธีคำนวณหาอัตราผลตอบแทนภายใน และในการคำนวณอัตราผลตอบแทนในแง่มุมสังคม ซึ่งแสดงถึงประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรทางสังคม ใช้รายได้ก่อนเสียภาษีเทียบกับต้นทุนของสังคม บวกกับต้นทุนรวมบุคคล ซึ่งไม่รวมค่าเล่าเรียน ผลปรากฏว่า ช่างกล-ปทุมวันให้อัตราผลตอบแทนของการศึกษาสูงที่สุดถึง 8.39% ในขณะที่ช่างก่อสร้างอุเทนถวาย และพณิชยการพระนคร มีอัตราเป็น 4.75% และ 6.77% ตามลำดับ แต่เมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนของสาขาช่างกับสาขาพณิชยกรรมแล้ว พบว่า มีอัตราเท่าๆ กัน คือ 6% สำหรับอัตราผลตอบแทนในแง่ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงอุป-สงค์ต่อการศึกษานั้น พณิชยการพระนครมีอัตราผลตอบแทนเป็น 9.67% ช่างก่อสร้างอุเทนถวาย 9.38% และสำหรับช่างกลปทุมวัน สูงถึง 12.75% สรุปแล้วการเรียนอาชีวะในระดับ ปวช. ให้อัตราผลตอบแทนโดยเฉลี่ย 9.59% จะเห็นอัตราผลตอบแทนของการลงทุนทางอาชีวศึกษาในระดับ ปวช. นี้ค่อนข้างจะต่ำ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์นี้ไม่ได้รวมผลตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงิน ซึ่งผลตอบแทนต่างๆ เหล่านั้น มีความสำคัญอย่างมากต่อความเจริญและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ | |
dc.description.abstractalternative | Since the second National Economic and Social Development Plan, the vocational education has increasingly been given support by the governments. It is, however, still uncertain whether the benefits accrued to the receivers of this education are worthwhile when compared with its costs. If they are, then continuous support should to lent to this type of education. The aim of this is mainly to determine the rate of return to invest¬ment in vocational education, especially secondary vocational schooling in two major fields. The thesis also aims to find out the conditions and the cost structure of these types of education. Our approach included the con¬sideration of both the social and individual aspects. This study concentrates on the technical and commercial vocational fields which are found in major public and private vocational secondary schools. Among- the total of 445 samples are the graduates majoring in commercial field from Bangkok Commercial Campus and in technical industrial field from The Institute Of Education Uthantawai Construction and Patumwan Technical Institute. This vocational education study is based on cost/benefit analysis the result of which is reflected through the calculation of the internal rate of return which is done in 3 steps.1) Determination of benefit derived from the education by using income and fringe benefit figures. The benefit from vocational secondary schooling refer to the differential in the earnings of vocational secondary school graduates and Matayom Suksa 3 graduates. But the earnings from the surveys may however be explained by several factors other than education. So the multiple regression technique is applied to set up earning functions which are subsequently used determine the earnings purely attributed to education, other factors being kept constant. The best earnings function is found for the graduates from the Patumwan Technical Institute. The earnings regression of graduates from the Institute of Technology and educa¬tion. Uthantawai Construction is a linear equation. These results show that the more advanced in age, the more income they will get up till their retirement. 2) Determine the cost, both social and private. The cost in this case means the direct and indirect cost per unit. The social direct cost is mainly divided into recurrent cost and capital charges. It is found that the social direct cost of Pratumwan Technical Institute per year is the highest, 5531 baht. The second is The Institute of Technology and Education Uthantawai Construction 5062 baht and the lowest is 2552 of The Bangkok Commercial Campus. The differentials in these costs can be explained by the different characteristics and substance of the course programmes. Private costs include two distinct typos of expenditures. One is personal expense such as clothing, lodgings etc. The other is tuition and other fees for study. Pratumwan Technical Institute has the lowest private cost which is 2022 baht per year while those of The Institute of Technology and Education Uthantawai Construction and The Bangkok Commercial Campus are 2632 and 2479 baht per year respectively. On Average, the total private cost of educational study is about 2290 baht per head per year. As there are a large portion of drop-outs and repeaters we have to take account of these factors in our study. The drop-outs and repeaters are used to adjust the social and private direct costs. The indirect cost which refers to the opportunity cost is calculated from the income of the Matayora Suksa 3 graduates who have not done any further study. This was taken from the Blaug study in 1970 and then adjusted by price index. 3) The social internal rate of return is calculated by using income before tax and total cost of education excluding the fee. The social rate of return should indicate how an efficient allocation of resources should be. The result for Pratumwan Technical Institute is the highest rate of return of 8.39 % while for The-Institute of Technology and Education uthantawai Construction and The Bangkok Commercial Campus the rates are 4.75 % and 6.77 % respectively. For both institutions the overage rate is 6 per cent. The private rates of return which reflects the demand for these types of education are 9.67 % for The Bangkok Commercial Campus, 9.38 % for The Institute of Technology and Education uthantawai Construction, and 12.75 % for The Patumwan Technical Institute. The overage rate of return to the vocational education at the level of secondary schooling appears to be rather low, amounting to only 9.59 %. However, this analysis does not include in the calculation of the rate of return the non - pecuniary benefits which can be of significance to the economy as a whole. | |
dc.format.extent | 598072 bytes | |
dc.format.extent | 656987 bytes | |
dc.format.extent | 1129845 bytes | |
dc.format.extent | 794905 bytes | |
dc.format.extent | 590686 bytes | |
dc.format.extent | 527709 bytes | |
dc.format.extent | 1399843 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | อัตราผลตอบแทนของการลงทุนทางอาชีวศึกษา | en |
dc.title.alternative | The rate of return to investment in vocational secondary schooling | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Watcharee_Wi_front.pdf | 584.05 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Watcharee_Wi_ch1.pdf | 641.59 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Watcharee_Wi_ch2.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Watcharee_Wi_ch3.pdf | 776.27 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Watcharee_Wi_ch4.pdf | 576.84 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Watcharee_Wi_ch5.pdf | 515.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Watcharee_Wi_back.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.