Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24406
Title: การสร้างผักบุ้ง Ipomoea aquatica ดัดแปลงพันธุ์ที่มียีนประมวลรหัสเอพีเอสรีดักเตสจาก Arabidopsis thaliana
Other Titles: Construction of a transgenic Pakbung Ipomoea aquatica harbouring APS reductase gene from Arabidopsis thaliana
Authors: นิรุตติ์ สกุลคู
Advisors: อัญชริดา อัครจรัลญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ถ่ายโอนยีนประมลรหัสเอพีเอสรีดักเตสของ Arabidopsis thaliama (ยีนAPR1) ไอโซฟอร์ม ที่พบในพลาสติดของ Arabidopsis thaliana เข้าสู่ผักบุ้งโดยใช้ Agrobacterium tumefaciens EHA101 ที่มีพลาสมิด pBIH1/APR1 ได้ต้นอ่อนผักบุ้ง 267 ต้น จาก cotyledon segment จำนวน 2,119 ชิ้น เพียง 8 ต้นสามารถทนต่อสารปฏิชีวนะไฮโกรมัยซินเข้มข้น 25 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และเพียง 2 ต้นที่ให้ผลิตภัณฑ์จากกระบวนการ PCR ซึ่งแสดงว่ามียีน APR1 ตรวจพบโปรโมเตอร์ชนิด CaMV 35s ถ่ายโอนร่วมไปกับยีน APR1 โดยวิธี PCR การตรวจสอบโดยวิธี Southern hybridization ดีเอ็นเอของผักบุ้งสองพันธุ์ให้สัญญาณไฮบริไดเซชั่นกับดีเอ็นเอติดตาม (ดีเอ็นเอ APR1) เป็นการยืนยันว่าผักบุ้งทั้งสองพันธุ์มียีน APR1 จาก Arabidopsis thaliana จริง เรียกผักบุ้งทั้งสองพันธุ์นี้ว่าผักบุ้งทรานสฟอร์แมนท์หมายเลข 2 และหมายเลข 8 กิจกรรมของเอพีเอสรีดักเตสของผักบุ้งทรานสฟอร์แมนท์พันธุ์หมายเลข 2 และหมายเลข 8 สูงกว่าผักบุ้งพันธุ์เดิม 4.95 และ 3.63 เท่าในราก 2.96 และ 2.77 เท่าในลำต้น และ 1.26 และ 1.69 เท่าในใบตามลำดับ ปริมาณกรดอะมิโนซีสเตอีนและกลูตาไธโอนของผักบุ้งทรานสฟอร์แมนท์พันธุ์หมายเลข 2 และหมายเลข 8 ในราก และลำต้นสูงกว่าผักบุ้งพันธุ์เดิม โดยกรดอะมิโนซิสเตอีนและกลูตาไธโอนที่เพิ่มขึ้นนี้ เพิ่มที่รากมากกว่าที่ลำต้น ผักบุ้งทรานสฟอร์แมนท์พันธุ์หมายเลข 2 มีกรดอะมิโนซีสเตอีนและกลูตาไธโอนสูงกว่าผักบุ้งพันธุ์เดิม 30.44 และ 1,048.67 เท่าตามลำดับ ลักษณะของผักบุ้งทรานสฟอร์แมนท์ทั้งสองพันธุ์นี้ไม่แตกต่างจากผักบุ้งพันธุ์เดิม เมื่อเจริญในสภาวะที่มีซัลเฟตความเข้มข้นสูง
Other Abstract: Arabidopsis thaliama APS reductase gene (APR1) encoding plastid isoform was transformed into Pakbung (Ipomoea aquatic) using Agrobacterium tumefaciens EHA101 harbouring plasmid pBIH1/APR1. Two hundred sixty seven regenerated shoots were obtained from 2,119 cotyledon segments and 8 shoots were tolerates to 25 mg/L hygrcmycin. Only 2 shoots (No. 2 and No. 8) gave expected PCR band when using oligonucleotide primers for amplifying APR1. By PCR analysis, CaMV 35s promotor was found to be transformed with APR1. Confirmation for the existance of A. thaliana APR1 obtained by SAouthern hybridization, DNA extracted from both shoots, No. 2 and No. 8 gave positive signal with APR1 probe. APS reductase activity of transformant No.2 and No.8 was higher than those of wild type : 4.95 and 3.63 times in roots, 2.96 and 2.77 time in shoots, 1.26 and 1.69 time in leaves, respectively. Cysteine and glutathione content of transformant No.2 and No.8 in roots and shoots were higher than those of wild type. The increment of cysteine and glutathione contents was higher in roots than in shoots. Cysteine and glutathione content of transformant No.2 was 30.44 and 1,048.67 times higher than those of wild type, respectively. No difference of phenotype between both transformants and wild type when grown in the presence of 1,000 mg SO₄²⁻ /L.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24406
ISBN: 9741709501
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nirut_sa_front.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
Nirut_sa_ch1.pdf977.16 kBAdobe PDFView/Open
Nirut_sa_ch2.pdf5.27 MBAdobe PDFView/Open
Nirut_sa_ch3.pdf928.81 kBAdobe PDFView/Open
Nirut_sa_ch4.pdf6.1 MBAdobe PDFView/Open
Nirut_sa_ch5.pdf4 MBAdobe PDFView/Open
Nirut_sa_ch6.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
Nirut_sa_back.pdf6.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.