Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24435
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ
dc.contributor.advisorแน่งน้อย ศักดิ์ศรี
dc.contributor.authorบุญเสริม เปรมธาดา
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-17T07:49:33Z
dc.date.available2012-11-17T07:49:33Z
dc.date.issued2545
dc.identifier.isbn9741712588
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24435
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาในเชิงการอนุรักษ์และการพัฒนาโบราณสถานทางกายภาพอาคารที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 การศึกษานี้เป็นการศึกษาในเชิงลึกโดยเลือกกรณีศึกษาอาคารศุลกสถาน ซึ่งเป็นอาคารที่ยังไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนเป็นตัวอย่างในการเสนอแนะเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาโบราณสถานหลังนี้และหลังอื่นๆ ในประเภทเดียวกัน โดยตั้งสมมุติฐานไว้ 3 ประการคือ 1) ในเชิงทฤษฎีและแนวความคิดการปรับปรุงอาคารของตะวันตกนั้นสามารถนำมาใช้ได้กับการปรับปรุงอาคารที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 2) การปรับปรุงอาคารในสมัยรัชกาลที่ 5 ในภาคปฏิบัตินั้นไม่สามารถนำเทคนิควิธีการของตะวันตกมาใช้ได้ทั้งหมด 3) การใช้ทฤษฎีการอนุรักษ์กรอบอาคาร (Facade' retention of facadism) และทฤษฎีการแปลความหมาย (Interpretation) มีความเป็นไปได้ และเหมาะสมกับอาคารศุลกสถาน โดยทำการศึกษาถึงทฤษฎีและแนวความคิดในการปรับปรุงอาคาร ตัวอย่างการปรับปรุงอาคารในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ผ่านมาและในต่างประเทศ รูปแบบโครงสร้างและวัสดุก่อสร้าง สภาพอาคารในปัจจุบันและแนวทางการปรับปรุงอาคารหลังนี้ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันตลอดจนเงื่อนไขต่างๆ ในการปรับปรุงมาทำการวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป และนำไปทำการทดลองออกแบบปรับปรุงอาคารศุลกสถาน ผลการวิจัยพบว่า ในแง่ของกายภาพแล้วอาคารศุลกสถาน มีความเหมาะสมในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นโรงแรมมูติก (Boutique hotel) ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงพื้นที่ภายในอาคารเพื่อรองรับการใช้งานควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ผนังรอบนอกไว้ให้ใกล้เคียงกับของเดิมทุกประการ ส่วนในแง่ของคุณค่าของอาคารนั้นพบว่า อาคารศุลกสถานมีคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์และคุณค่าการใช้งานที่เท่ากัน ในแง่ของการพัฒนาโบราณสถานให้มีการใช้งานได้สูงสุดไม่จัดว่าเป็นการทำลายโบราณสถาน ในทางตรงกันข้ามกลับทำโบราณนั้นมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ผลการพิสูจน์สมมุติฐานข้อที่ 1 พบว่ามีเหมาะสมที่จะนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้โดยทฤษฎีและแนวคิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่ใช้กับอาคารศุลกสถานได้แก่ ทฤษฎีการอนุรักษ์ (conservation) ทฤษฎีการบูรณะ (restoration) ทฤษฎีการอนุรักษ์กรอบอาคาร (Facade' retention or facadism) และทฤษฎีการต่อเติม (addition) ผลการพิสูจน์สมมุติฐานข้อที่ 2 พบว่า มีความเป็นไปได้ ซึ่งเทคนิคที่สามารถนำมาใช้กับอาคารในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ใช้ฝีมือและความชำนาญโดยใช้วัสดุที่มีในประเทศ ส่วนเทคนิคที่ไม่เหมาะสมกับการนำมาใช้กับอาคารในประเทศไทย มักเป็นงานที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงหรือเครื่องมือขนาดใหญ่เนื่องจากอาคาร ที่สร้างในสมัยนี้นั้นมีขนาดเล็กกว่าอาคารในต่างประเทศมาก อีกทั้งยังต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างสูงซึ่งไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ผลการพิสูจน์สมมุติฐานข้อที่ 3 พบว่ามีความเป็นไปได้ เนื่องจากมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการใช้งานที่มากขึ้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องก่อสร้างโตรงสร้างภายในอีกชั้นหนึ่ง เพื่อความมั่นคงแข็งแรง และปรับเปลี่ยนการใช้งานเนื้อที่ภายในให้คล่องตัวมากขึ้น ส่วนทฤษฎีการแปลความหมายนั้นเป็นการอนุรักษ์ทางอ้อมที่ถ่ายทอดลักษณะสำคัญบางส่วน เพื่อส่งเสริมคุณค่าอาคารหลังนี้ให้มากขึ้น
dc.description.abstractalternativeThis thesis studies the relationship between conservation and development of historical buildings in the reign of King Rama V (1868-1910). It is an in-depth study of the old custom house of Bangkok. In this study, three hypotheses were made as follows: 1) Western renovation theories and concepts, namely Conservation, Restoration, Addition, and Facadism, are possible to apply to historical buildings in the reign of King Rama V. 2) Some of western renovation techniques derived from these four basic theories are not suitable to use with Thai historical buildings. 3) Both the theory of Facadism (or Facade's Retention) and that of Interpretation are possible to apply to the renovation of the cased building. The aim of this research is to guidelines of Interior architectural renovation for the building. Thus, it had adopted several research methods to gather data from different sources to arrive conclusions, recommendations and experimental design. First, it focused on the understanding of several western renovation theories to establish basis knowledge for further investigation. Second, it employed survey and observation methods to investigate eleven already-renovated buildings of this period as well as buildings in France. It was to focus on styles, structure, materials, and construction techniques of these representative buildings. Third, it reviewed four proposals presented to Ministry of Finance, an owner of the cased building, for the development of the cased building and its site. Considering both its first-level value (historical value) and its second-level value (used value), this study suggests that his building should be renovated as "a boutique hotel" as the original facade can be preserved even interior spaces will be changed to suit new functions. According to the three hypotheses mentioned above, this research concludes: 1) western renovation theories could be applied to Thai historical building. 2) Some of western renovation techniques relying on skills of builders are suitable for renovation of Thai historic buildings while high technology constructions used in large buildings are not appropriated because of smaller sizes of the Thai historical buildings. 3) It is possible to employ both theories of Facadism and of Interpretation to the renovation of the cased building.
dc.format.extent4586169 bytes
dc.format.extent2453661 bytes
dc.format.extent7426081 bytes
dc.format.extent16057487 bytes
dc.format.extent23332365 bytes
dc.format.extent8438379 bytes
dc.format.extent11832294 bytes
dc.format.extent22585295 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงสถาปัตยกรรมภายใน อาคารที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 5 กรณีศึกษา : อาคารศุลกสถานen
dc.title.alternativeThe guidelines of interior architectural renovation for western influenced architectures in the reign of King Rama V : the case of the Old Custom House of Bangkoken
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonserm_pr_front.pdf4.48 MBAdobe PDFView/Open
Boonserm_pr_ch1.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open
Boonserm_pr_ch2.pdf7.25 MBAdobe PDFView/Open
Boonserm_pr_ch3.pdf15.68 MBAdobe PDFView/Open
Boonserm_pr_ch4.pdf22.79 MBAdobe PDFView/Open
Boonserm_pr_ch5.pdf8.24 MBAdobe PDFView/Open
Boonserm_pr_ch6.pdf11.55 MBAdobe PDFView/Open
Boonserm_pr_back.pdf22.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.