Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24444
Title: ความคิดเห็นของนักกีฬาที่มีต่อการเชียร์กีฬา
Other Titles: The opinions of alhletes on sportscheering
Authors: สมลักษณ์ สมบูรณ์สิงห์
Advisors: ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักกีฬาที่มีต่อการเชียร์กีฬา ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังนักกีฬาชายกับนักกีฬาหญิง ที่เล่นกีฬาทั้งประเภททีมและประเภทบุคคล จำนวน 360 คน และได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 357 ชุด คิดเป็นร้อยละ 99.17 และทำการทดสอบความแตกต่างด้วยค่า “ที” แล้วจึงนำเสนอในรูปตารางและความเรียง ผลการวิจัยพบว่า : 1. วิธีการเชียร์กีฬาที่นักกีฬาชอบมาก ได้แก่ แบบมีผู้นำในการเชียร์แบบปรบมือ แบบมีผู้นำในการร้องเพลง แบบมีการแปรอักษร แบบการพูดชมเชยและปลุกใจ แบบทำตลกและการแต่งกายแปลกๆ และแบบการใช้เครื่องดนตรีประกอบ (กลอง ฉิ่ง แตร) 2. วิธีการเชียร์กีฬาแบบมีผู้นำในการเชียร์ แบบมีผู้นำในการร้องเพลง แบบปรบมือ แบบมีการแปรอักษร และแบบการพูดชมเชยและปลุกใจ มีผลต่อกรเล่นของนักกีฬามาก คือ ทำให้มีกำลังใจและกล้าเล่นกีฬา ทำให้มีความตั้งใจและมุมานะในการเล่นกีฬา ทำให้ร่วมสามัคคีกันและมีน้ำใจนักกีฬาในการเล่น ทำให้มีอารมณ์เยือกเย็นในการเล่นกีฬาและทำให้สมาธิในการเล่นกีฬา 3. วิธีการเชียร์กีฬาแบบการสอน การตำหนิ และยั่วแหย่ และแบบการโห่ร้องกระทืบพื้นและเป่าปาก มีผลต่อการเล่นของนักกีฬามาก คือ ทำให้มีการทะเลาะวิวาทกันในการเล่นกีฬา ทำได้การเล่นรุนแรงขึ้น ทำให้มีโมโหในการเล่นกีฬา ทำให้มีความประหม่า เล่นไม่ดีและผิดพลาด ทำให้มีความรำคาญ หงุดหงิด และเบื่อหน่ายในการเล่น 4. วิธีการเชียร์กีฬาแบบไม่มีการเชียร์หรือดูเฉยๆ มีผลต่อการเล่นของนักกีฬามาก คือ ทำให้มีสมาธิในการเล่นกีฬา ทำให้มีอารมณ์เยือกเย็นในการเล่นกีฬา ทำให้ร่วมสามัคคีกันและมีน้ำใจนักกีฬาในการเล่น 5. การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างความคิดเห็นของนักกีฬาชายกับนักกีฬาหญิง และนักกีฬาประเภททีมกับประเภทบุคคล เกี่ยวกับวิธีการเชียร์กีฬาที่นักกีฬาชอบและวิธีการเชียร์กีฬาที่มีผลต่อการเล่นของนักกีฬา พบว่า ไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to study the opinions of athletes on sports cheering. Questionnaires were constructed ad sent to 360 male and female athletes which participated in team and individual sports event. Ninety-nine percent of the questionnaires were returned. The obtained data were then analyzed in terms of percentage, means, standard deviations. A t-test method was also employed to determine the significant difference. It was found that : 1. The methods of sports cheering which athletes liked at “the much level” were cheering through leader, applause, singing, letter coding, praising, arousing, comedy, fancy-dressing and musical methods. 2. The methods which had the positive effect to the athletes in terms of stimulating, self – confidence, will power, per – severance, and to play with full potential were the methods of cheering through the leader, singing, applause, letter coding, praising and arousing. 3. The methods which had the negative effect to the athletes in terms of playing rough, anxiety, careless in playing and carelessful were the methods of cheering by over-instruction, making rough noises, and stamping the floors. 4. If there is no cheering at all it also make athletes play better, carefully and more patient in playing 5. In comparing the opinions oncerning the effect of cheering to the athletes it was found that there was no significant difference between the opinions of the male and the female athletes and between the opinions of athletes in the team and the individual sports at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24444
ISBN: 9745625752
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somlark_So_front.pdf462.14 kBAdobe PDFView/Open
Somlark_So_ch1.pdf400.35 kBAdobe PDFView/Open
Somlark_So_ch2.pdf489.52 kBAdobe PDFView/Open
Somlark_So_ch3.pdf258.14 kBAdobe PDFView/Open
Somlark_So_ch4.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Somlark_So_ch5.pdf661.42 kBAdobe PDFView/Open
Somlark_So_back.pdf558.58 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.