Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24457
Title: | บทบาทของสื่อและปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบสื่อสารทางโทรสาร : ศึกษาเฉพาะผู้ใช้บริการโทรสารสาธารณะระหว่างประเทศ |
Other Titles: | The role of media and factors affecting the adoption of facsimile - telecommunication : a study of international public facsimile utilizers |
Authors: | เกษม กิตติอัชฌากุล |
Advisors: | จาระไน แกลโกศล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โทรสาร เป็นนวกรรมทางระบบสื่อสารประเภทหนึ่งของสังคมไทย แม้จะเป็นที่ยอมรับกันว่านวกรรมส่วนใหญ่มักจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงระดับชีวิตของประชากรในสังคมต่าง ๆ ให้ดีขึ้น ถ้าหากว่าสมาชิกในสังคมนั้น ๆ ยอมรับและนำไปปฏิบัติจริง ๆ แล้วก็ตาม แต่การที่บุคคลจะยอมรับนวกรรมหรือไม่นั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับการใช้สื่อต่าง ๆ ที่ใช้เผยแพร่นวกรรมนั้นแล้ว ยังต้องมีปัจจัยหรือสาเหตุต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจจะเป็นองค์ประกอบที่สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคในการยอมรับนวกรรมนั้นอีกด้วย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของสื่อที่ใช้ในการเผยแพร่โทรสารและปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการยอมรับระบบสื่อสารทางโทรสาร ตลอดจนปริมาณการใช้โทรสารในสังคมไทย โดยทำการศึกษากับผู้ใช้บริการโทรสารสาธารณะระหว่างประเทศที่ศูนย์โทรคมนาคมระหว่างประเทศ ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2522 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2524 จำนวน 144 คน การศึกษาเรื่องนี้มุ่งพิสูจน์สมมุติฐาน 2 ข้อคือ 1. สื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจและสื่อบุคคล มีบทบาทจูงใจที่แตกต่างกันตามระดับการยอมรับระบบสื่อสารทางโทรสาร 2. คุณลักษณะทางโทรสาร สถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ พฤติกรรมการสื่อสาร และคุณลักษณะทางบุคลิกภาพของผู้ใช้บริการโทรสาร ฯ มีความสัมพันธ์กับระดับการยอมรับระบบสื่อสารทางโทรสารในทิศทางเดียวกัน ผลการวิจัย ส่วนใหญ่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ โดยสรุปผลได้ดังนี้คือ ผู้ใช้บริการโทรสาร ฯ ส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารเผยแพร่การใช้โทรสารจากสื่อประเภทต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งสื่อขึ้นไป ซึ่งเป็นการรับข่าวสารเผยแพร่จากเอกสารเผยแพร่มากที่สุด สื่อบุคคลเป็นสื่อที่มีบทบาทจูงใจให้เกิดการยอมรับโดยไปใช้บริการโทรสาร ฯ มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบบทบาทจูงใจของสื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจและสื่อบุคคลที่มีต่อระดับการยอมรับแล้ว ปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการจูงใจจากสื่อมวลชนจะมีระดับการยอมรับระบบสื่อสารทางโทรสารที่แตกต่างไปจากผู้ที่ได้รับการจูงใจจากสื่อบุคคล ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบสื่อสารทางโทรสารนั้น ปรากฏว่า คุณลักษณะทางโทรสาร สถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ พฤติกรรมการสื่อสารและคุณลักษณะทางบุคลิกภาพของผู้ใช้บริการโทรสาร ฯ มีผลต่อการยอมรับระบบสื่อสารทางโทรสาร และในขณะเดียวกันก็มีความสัมพันธ์กับระดับการยอมรับในทิศทางเดียวกันด้วย ยกเว้น สถานะทางสังคมและเศรษฐกิจที่ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับการยอมรับและไม่สามารถอธิบายความแตกต่างของระดับการยอมรับได้ ในปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ คุณลักษณะทางบุคลิกภาพของผู้ใช้บริการโทรสารมีความสัมพันธ์และสามารถที่จะอธิบายความแตกต่างของระดับการยอมรับระบบสื่อสารทางโทรสารมากที่สุด รองลงมาคือ คุณลักษณะของโทรสาร ส่วนปริมาณหรือขอบเขตในการใช้โทรสารของสังคมไทยนั้น พบว่ามีปริมาณการใช้โทรสารในจำนวนที่ไม่สูงนัก แต่มีแนวโน้มที่จะมีการใช้อย่างแพร่หลายในอนาคต เมื่อพิจารณาดูจากทัศนคติที่มีต่อโทรสารของผู้ใช้บริการโทรสาร ฯ |
Other Abstract: | Facsimile can be counted as an innovation in our Thai communication system. Even though it has been accepted that most of the induced innovations may enable society member to improve the quality of life, it has long been accepted as communication assumption that its success usually depends on whether the target audience will accept and adopt it. It is additionally accepted by communicators that such a success, apart from being dependence on the techniques of media utilization, also relies on various related factors which may be promotive or obstructive. The main objective of this research project is to study the role of media, the factors affecting the adoption of Facsimile-Telecommunication and demand of Facsimile-Telecommunication for Thai Society. The target group of this study is the 114 Utilizers of international public facsimile at the International Telecommunication Centre during December 15, 1979 to September 30, 1981. This study aims at testing the following hypotheses: 1. Mass media, specialized media and interpersonal media contribute different degrees of persuasion on the adoption of Facsimile-Telecommunication. 2. The attributes of facsimile, socioeconomic characteristics, communication behavior and personality characteristics of Utilizers are positively correlated to the adoption of facsimile-telecommunication. The results of the study certify that both of the hypotheses are accepted. More details of the study can be summed up as follows: Most utilizers received information from several channels. Most of them gain information from distributed publications. As for the role of persuasion, interpersonal communication plays the most important part. Among the three types of utilized communication media under comparison, mass media, specialzed media and interpersonal media, the result of the study proves that the first and the third type of media yield different degrees of influence on the adoption of the facsimile. For the factors affecting the adoption of the studied innovation namely, attributes of facsimile, socio-economic characteristics, communication behavior and personality characteristics, the result proves that all of the mentioned factors affect the adoption in some way and almost all of the factors except socio-economic characteristics positively correlate with the degree of adoption. As compared among all of these factors, personality characteristics mostly correlates with the degree of adoption and the highest in degree of explainatoriness. Second to the personality characteristics factor is facsimile attributes. The demand for facsimile usage is found not so high, but he trend of demand may increase as measured through the attitudes towards the induced media. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การประชาสัมพันธ์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24457 |
ISBN: | 97456008866 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kasem_Ki_front.pdf | 676.35 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kasem_Ki_ch1.pdf | 989.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kasem_Ki_ch2.pdf | 748.09 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kasem_Ki_ch3.pdf | 398.03 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kasem_Ki_ch4.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kasem_Ki_ch5.pdf | 703.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kasem_Ki_back.pdf | 1.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.