Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24499
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจรวยพร ธรณินทร์
dc.contributor.authorเผด็จ นวนหนู
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-19T02:55:55Z
dc.date.available2012-11-19T02:55:55Z
dc.date.issued2521
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24499
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาผลการดื่มน้ำ น้ำเกลือ และน้ำตาล ต่อความสามารถในการทำงานของร่างกาย โดยใช้ผู้รับการทดลองอาสาสมัครเป็นนิสิตชายชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพลศึกษา ซึ่งมีสุขภาพสมบูรณ์และแข็งแรง จำนวน 25 คน แล้วคัดเลือกผู้มีสมรรถภาพใกล้เคียงกันสำหรับทำการทดลอง จำนวน 12 คน โดยพิจารณาผลจากการทดสอบเบื้องต้น ซึ่งใช้วิธีถีบจักรยานจนอัตราการเต้นของหัวใจสูงถึง 170 ครั้ง ต่อนาที (PWC170) ก่อนการทดลองให้ผู้รับการทดลองออกกำลังถีบจักรยานตามจังหวะ 50 รอบ ต่อนาที ภายในห้องอุณหภูมิปกติ (26-28 องศาเซนเซียส) ความชื้นสัมพัทธ์ 70± 5% โดยใช้งานหลัก 70% ของผลการทดสอบ PWC170 ของแต่ละคนที่ทำได้ในการทดสอบเบื้องต้น เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แล้วพัก 30 นาที ต่อจากนั้นจึงทำการทดลองในสภาวะต่าง ๆ ซึ่งทดลองห่างกันครั้งละไม่น้อยกว่า 2 วัน ดังนี้ 1. ภาวะร่างกายปกติ 2. ภายหลังดื่มน้ำ 3. ภายหลังดื่มน้ำเกลือ 4. ภายหลังดื่มน้ำตาล เริ่มการทดลองโดยใช้งานเริ่มต้น 70% ของ PWC170 และเพิ่มขึ้น 25 วัตต์ ทุก ๆ 2 นาที จนผู้รับการทดลองมีอัตราชีพจรถึง 180 ครั้ง ต่อนาที หรือหมดแรงถีบต่อไปไม่ไหว บันทึกปริมาณงานที่ทำได้เป็นวัตต์ ถ้าพิจารณาในแง่ปริมาณสูงสุด ผลปรากฏว่าความสามารถในการทำงานของร่างกายในภาวะภายหลังดื่มน้ำ น้ำเกลือ และน้ำตาล ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนความสามารถในการทำงานของร่างกายในภาวะภายหลังดื่มน้ำ น้ำเกลือ และน้ำตาล มีประสิทธิภาพดีกว่าภาวะปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ถ้าพิจารณาปริมาณงานทั้งหมด ปรากฏว่าความสามารถในการทำงานของร่างกายในภาวะปกติ ภายหลังดื่มน้ำ น้ำเกลือ และน้ำตาล ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จึงสรุปได้ว่า ในการออกกำลังกายหนัก ๆ และนาน ๆ การดื่มน้ำ น้ำเกลือ และ/หรือน้ำตาลอย่างเพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายมีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to investigate the effects of water, salt, and sugar replacement on physical performance. Twenty-five healthy male freshmen students from Srinakharinvirot Palasuksa University volunteered to be subjects. These subjects were then selected to only twelve of them who were in similar physical fitness level. The similarity of their physical fitness were based on the results of physical working capacity 170 (PWC170) testing. Prior to the experiment, subjects pedaled on the Monark bicycle ergometer at a speed of 50 revolutions per minute for 1 hour. The testing room temperature was kept constantly at 26-28 C with 70± 5% humidity. The work load was at 70% of maximum work from the first PWC170 test. The subjects were permitted to rest for 30 minutes before the next test. Four testing conditions were given to each subject with a two-day interval : namely (1) normal body condition, (2) water replacement, (3) salt replacement, and (4) sugar replacement. The exercise work load started at the pre-determined intensity. It was increased 25 watts for every 2 minutes till the working heart rate reached 180 beats/minute or exhaustion. Results revealed that the physical working capacity determined from the maximum quantity of work done after water, salt, and sugar replacement were not significantly different among groups at the 0.1 level. However, if determined from the total quantity of work done, results showed that physical working capacity at normal condition, water, salt, and sugar replacement were not significantly different. All these tests yielded better physiological response than that of the normal condition. It was concluded that in a profound endurance exercise, water, salt, and/or sugar replacement would improve working efficiency.
dc.format.extent460075 bytes
dc.format.extent1040948 bytes
dc.format.extent451258 bytes
dc.format.extent451363 bytes
dc.format.extent717803 bytes
dc.format.extent1221824 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleผลการดื่มน้ำ น้ำเกลือ และน้ำตาล ต่อความสามารถในการทำงานของร่างกายen
dc.title.alternativeEffects of water, salt and sugar intake on physical performanceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพลศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Padet_Nu_front.pdf449.29 kBAdobe PDFView/Open
Padet_Nu_ch1.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Padet_Nu_ch2.pdf440.68 kBAdobe PDFView/Open
Padet_Nu_ch3.pdf440.78 kBAdobe PDFView/Open
Padet_Nu_ch4.pdf700.98 kBAdobe PDFView/Open
Padet_Nu_back.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.