Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24507
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดิเรก ศรีสุโข-
dc.contributor.advisorสุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม-
dc.contributor.authorวรรณวิภา จัตุชัย-
dc.date.accessioned2012-11-19T03:35:00Z-
dc.date.available2012-11-19T03:35:00Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745680826-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24507-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบโครงสร้างของลำดับขั้นการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยแบบ Simple linear ในการอธิบานลำดับขั้นการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาและเปรียบเทียบการอธิบายลำดับขั้นการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานครจาก 3 รูปแบบ คือ Simple linear model, Miller's model และ Wright's model ความสามารถในการเรียนรู้ด้านพุทธพิสัยแบ่งเป็น 6 ด้าน คือ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และประเมินค่า กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 642 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิเคราะห์เส้นทางโดยใช้เทคนิคการประเมินค่าพารามิเตอร์แบบ Partial Least Squares ในการเปรียบเทียบรูปแบบโครงสร้างของลำดับขั้นการเรียนรู้ด้านพุทธพิสัยแต่ละรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์กับรูปแบบโครงสร้างของลำดับขั้นการเรียนรู้ด้านพุทธพิสัยแบบเต็มรูป ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบโครงสร้างของลำดับขั้นการเรียนรู้ด้านพุทธพิสัยรูปแบบที่ 1 (Simple linear model) รูปแบบที่ 2 (Miller's model) และรูปแบบที่ 3 (Wright's model) สามารถอธิบายลำดับขั้นการเรียนรู้ของข้อมูลเชิงประจักษ์ได้ประมาณร้อยละ 54, 55 และ 57 ตามลำดับ ทั้ง 3 รูปแบบอธิบายข้อมูลเชิงประจักษ์ได้น้อยกว่ารูปแบบโครงสร้างของลำดับขั้นการเรียนรู้ด้านพุทธพิสัยแบบเต็มรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. รูปแบบโครงสร้างของลำดับขั้นการเรียนรู้ที่อธิบายข้อมูลเชิงประจักษ์ได้ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากรูปแบบเต็มรูป คือ รูปแบบโครงสร้างของลำดับขั้นการเรียนรู้ด้านพุทธพิสัยรูปแบใหม่ คล้ายกับรูปแบบเต็มรูปคือ ความสามารถระดับต้นส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมไปยังความสามารถระดับสูง แต่ต่างกันที่ความสามารถปลายทางของรูปแบบใหม่มี 2 ด้านคือ ความสามรถด้านการสังเคราะห์ และความสามารถด้านการประเมินค่า รูปแบบโครงสร้างของลำดับขั้นการเรียนรู้ด้านพุทธพิสัยรูปแบบใหม่อธิบายข้อมูลเชิงประจักษ์ได้ประมาณน้อยละ 73 หรือคิดเป็นร้อยละ 98 ของรูปแบบเต็มรูป-
dc.description.abstractalternativeThe main purpose of this study was to investigate the fitness of three structural models of a learning - hierarchy in cognitive domain in explaining the hierarchy of learning mathematics of students in the lower secondary schools in the Bangkok Metropolis. The three structural models are Simple linear model, Miller's model and wright's model. The learning abilities were categorized into 6 levels: memory, comprehension, application, analysis, synthesis and evaluation. The sample used in the study were 642 students at grade 9. A mathematics achievement test was used as an instrument. The data were analyzed by path analysis method with Partial Least Squares technique as the estimation procedure. The models were tested against empirical data and compared with each others as well as with the full structural model. Findings 1. The Simple linear model, Miller's model and Wright's model were able to account the variance of the empirical data for 54%, 55% and 57% respectively. 2. A new structural model of a learning – hierarchy proposed by the author can explaining the empirical data approximately 73%. .Results from comparing the proposed model with the full model showed that the proposed model was able to account for the data variance approximately 98%. Also, their difference was not statistically significant. Conceptually, the two models were similar in the complexity. Both models contained direct and indirect effects. However, the both models were different in the terminal ability. While the full model only had evaluation as the only terminal ability. The proposed model had synthesis and evaluation as the terminal abilities.-
dc.format.extent3325227 bytes-
dc.format.extent11208657 bytes-
dc.format.extent9201515 bytes-
dc.format.extent6947108 bytes-
dc.format.extent7144233 bytes-
dc.format.extent7218127 bytes-
dc.format.extent10161663 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleรูปแบบโครงสร้างของลำดับขั้นการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย ในผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นen
dc.title.alternativeStructural models of a learning hierachy in cognitive domain for mathematics achievement of students at the lower secondary education levelen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanwipa_ch_front.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open
Wanwipa_ch_ch1.pdf10.95 MBAdobe PDFView/Open
Wanwipa_ch_ch2.pdf8.99 MBAdobe PDFView/Open
Wanwipa_ch_ch3.pdf6.78 MBAdobe PDFView/Open
Wanwipa_ch_ch4.pdf6.98 MBAdobe PDFView/Open
Wanwipa_ch_ch5.pdf7.05 MBAdobe PDFView/Open
Wanwipa_ch_back.pdf9.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.