Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24508
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน | |
dc.contributor.advisor | ชัยอนันต์ สมุทวณิช | |
dc.contributor.author | ผาณิต รวมศิลป์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-19T03:44:08Z | |
dc.date.available | 2012-11-19T03:44:08Z | |
dc.date.issued | 2521 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24508 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2481 – 2487) อันเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจระยะแรกภายหลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบปัจจุบัน ซึ่งย่อมเป็นการแน่นอนว่าภายหลังจากการใช้นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้แล้วผลที่เกิดขึ้นย่อมจะต้องเป็นทั้งพื้นฐานให้รัฐบาลชุดต่อมาที่จะถือเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไปหรือตลอดจนกระทั่งเป็นการสร้างปัญหาให้รัฐบาลชุดต่อมาต้องหาทางแก้ไขอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากผลของการศึกษาครั้งนี้ว่านโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นั้นมีลักษณะเป็นนโยบายที่เกิดขึ้นตามแนวทางความคิด และการตัดสินใจของผู้นำรัฐบาลเป็นสำคัญ โดยประชาชนส่วนใหญ่จะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ปฏิบัติตามเท่านั้น ทั้งนี้เพราะรัฐบาลชุดนี้มีอำนาจเด็ดขาดและเลือกที่จะปกครองประเทศในแบบเผด็จการ ประกอบกับสงครามโลกที่ขยายตัวมาถึงประเทศไทยในช่วงหลังของรัฐบาลชุดนี้ทำให้นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจเป็นไปโดยเร่งรัด และเพื่อสนองความต้องการที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากขึ้น ลักษณะความรุนแรงในมาตรการต่าง ๆ ซึ่งมีผลบีบคั้นต่อประชาชนส่วนใหญ่มาโดยตลอดจึงทำให้ความ[กระตือรือร้น]ที่จะปฏิบัติตามการชี้นำของรัฐบาลนับวันยิ่งจะถดถอยลง เฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างที่สงคราม กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น ยิ่งกว่านั้นความรุนแรงของนโยบายในทาง[ปฏิบัติ]ยังกลับทำให้เกิดการแตกแยกมากขึ้นในสังคมด้วย รัฐบาลต้องประสบกับปัญหาการต่อต้าน และคัดค้านจากประชาชนซึ่งไม่พอใจภาวะการครองชีพที่ตนเองกำลังเผชิญมากขึ้น ขณะเดียวกันข้าราชการซึ่งเป็นกลไกสำคัญของรัฐก็ปฏิบัติงานสนองตามนโยบายของรัฐอย่างด้อยประสิทธิภาพลงตามลำดับ ดังนั้นในที่สุดการพัฒนาเศรษฐกิจตามนโยบายของจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงบังเกิดผลในลักษณะตรงกันข้ามกับเจตนารมณ์พื้นฐาน คือ การใช้ลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจของรัฐบาลโดยสิ้นเชิง นั่นคือประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศยังคงไม่มีบทบาททั้งในระดับธรรมดา และระดับสูงในทางเศรษฐกิจอย่างเด่นชัด แต่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่นักการเมือง และนักธุรกิจบางกลุ่มกลับได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญ และได้รับประโยชน์จากผลของนโยบายดังกล่าว ซึ่งเป็นลักษณะที่ยังคงสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันด้วย การที่ประเทศที่กำลังพัฒนาดังเช่นประเทศไทยล้วนแต่ต้องยอมรับปัญหาที่เป็นจริงประการหนึ่งที่ว่าการพัฒนาประเทศจะบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายไม่ได้ถ้าปราศจากการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นอย่างถูกต้อง และเหมาะสม ผู้เขียนจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานวิจัยชิ้นนี้จะให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านในการทำความเข้าใจกับตัวปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในอดีต และส่งผลกระทบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในสมัยปัจจุบัน การเสนองานวิจัยครั้งนี้ผู้เขียนแบ่งเนื้อหาออกเป็น 7 บท โดยกล่าวถึงวัตถุประสงค์ ขอบเขตของการวิจัย วิธีดำเนินการค้นคว้าและวิจัย และประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะได้รับไว้ในส่วนบทนำ บทที่ 1 เป็นการกล่าวถึงอย่างกว้าง ๆ เกี่ยวกับโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนความเจริญและความเป็นมาในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในอดีต ทั้งในสมัยที่ยังมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช และภายหลังที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 จนถึงก่อนหน้าที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม จะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2481 บทที่ 2 กล่าวถึงลักษณะและสภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทยภายใต้อิทธิพลและบทบาทของชาวต่างประเทศ การขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพล ป.พิบูลสงคราม พร้อมด้วยความคิดเห็นและที่มาของการกำหนดนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจแบบชาตินิยม และวิธีการในการพัฒนาของรัฐบาลชุดนี้ บทที่ 3 กล่าวถึงลักษณะและขั้นตอนต่าง ๆ ในการประกอบธุรกิจการค้าทั้งภายในประเทศ และการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทยว่ามีวิวัฒนาการ และปฏิบัติกันเช่นไรในขณะนั้น ต่อมากล่าวถึงการกำหนดและลักษณะของนโยบายที่จอมพล ป. นำมาใช้พัฒนาธุรกิจการค้าของประเทศไทยขณะนั้นตลอดจนมาตรการที่กำหนดขึ้นมาใช้ตามแนวนโยบายดังกล่าว บทที่ 4 กล่าวถึงนโยบายพัฒนาการเกษตรกรรมของประเทศไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยชี้ให้เห็นถึงลักษณะทั่ว ๆ ไปของปัญหาการเกษตรกรรมที่สะสมกันมาตั้งแต่อดีต และรัฐบาลชุดนี้ได้ใช้นโยบายและมาตรการอย่างไรในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล ทั้งในรูปการส่งเสริมด้านวิชาการ การเงิน วัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ การออกกฎหมายเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบาย การใช้อำนาจของรัฐบาลช่วยเหลืออำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้แก่เกษตรกรอย่างกว้างขวาง รวมทั้งความคิดในการนำระบบสหกรณ์มาใช้ และการจัดตั้งสหกรณ์ต่าง ๆ อย่างจริงจัง บทที่ 5 กล่าวถึงลักษณะของการอุตสาหกรรมในประเทศไทยในระยะเวลาก่อนหน้านั้น จนกระทั่งถึงสมัยที่จอมพล ป. จะทำการพัฒนาอย่างจริงจัง แนวทางและการดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมของจอมพล ป. แต่ละลักษณะ ตั้งแต่การส่งเสริมอุตสาหกรรมในครอบครัวจนถึงอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ รวมทั้งขั้นตอนและอุปสรรคในกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในบทที่ 6 กล่าวถึงสภาพการณ์ท่าที และแนวโน้มต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนที่จะเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 และปัญหาความยุ่งยากทางเศรษฐกิจหลังจากที่รัฐบาลจอมพล ป. ตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นแล้ว ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อภาวะและกระบวนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การใช้นโยบายในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ การคลังของจอมพล ป. การพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินนโยบายนั้น ๆ รวมทั้งท่าทีและการแก้ไขของรัฐบาล และบทสุดท้าย บทที่ 7 เป็นบทสรุปผลการศึกษานโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของจอมพล ป.พิบูลสงครามตั้งแต่เริ่มแรกที่นำออกใช้จนสิ้นสุดสมัยของรัฐบาลชุดนี้ว่ามีลักษณะอย่างไร ประสบผลสำเร็จมากน้อยอย่างใด พร้อมกันนั้นก็ชี้ให้เห็นถึงอุปสรรค ปัญหา และข้อบกพร่องสำคัญต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this dissertation is to study and evaluate the effectiveness of Thailand’s policy of economic development during the premiership of Field Marshal P. Pibulsonggram (1938 – 1944). Since this policy is the first of its kind after the 1932 Revolution, which put an end to absolute monarchy, its process has not only laid [guidelines] and foundation for succeeding Thailand’s economic programmes but also had to be reaponsible for the economic problems which the later government has to face. The results of this study reveal that Pibulsonggram’s economic policy which is an attempt to incorporate nationalism’s into the nation’s economic developing programme, is dependent upon himself as the sole decision maker and people are merely supposed to put it into practice. Besides military dictatorship there are other factors which led to the ineffectiveness of this policy. One is the impact of World War II, which resulted in nationwide economic depression. Besides, drastic measures put forward to enforce the policy during wartime failed to draw active mass participation and even led to national disunity, civil disobedience and protests. Furthermore, government officials who formed the core of state mechanism performed very poorly in implementing the policy. The outcome of this policy could not therefore attain its real target and the majority of the Thai people had still been deprived of their economic rights at all levels of the nation’s economy. On the other hand, the upper class, namely, high ranking government officials, politicians and certain groups of businessmen still maintained their economic privileges, and therefore, had gained large benefits from this policy. Although it is almost impossible for developing countries like Thailand to effectively develop its present economy, if its previous governments failed to find appropriate solutions to those deep-rooted problems, the researcher, therefore, hopes that this research would give the readers some understanding to the nation’s conflicting economic problems, their causes and effects, so as to lend us experiences in dealing with prospective economic problems as part of the nation’s economic developing programme. This dissertation is consisted of seven chapters. The objectives, scope, research methodology and contributions of this dissertation are included in the introduction. Chapter I deals with the general background of the Thai political, economic and social structures and history of the Thai economic development before the 1932 Revolution up to 1938 when Phibulsonggram came to power as the Prime Minister. Chapter II is an analysis of Thailand’s economy which was dominated by foreigners. Then it goes on the discuss the role played by foreign capitalists, how Pibulsonggram came to power, how this nationalistic economic development policy was formed, and lastly how it was implemented. Chapter III deals with the then situation of private enterprises and foreign trade. Pibulsonggram’s policy to develop Thailand’s trade, and measures to enfore the said policy. Chapter IV explains Pibolsonggram’s policy toward agriculture, problems hindering agricultural process and the attempts of government to solve them. Among the attempts were the initiation of an agricultural promotion policy, the provision of measures to enforce the said policy, using state mechanism in facilitation agricultural activities and largely introducing co-operative movements. Chapter V gives a general background for Thailand’s industry before Pibulsonggram’s period, various ways and means to carry out Pibulsonggram’s industrial development programme. The promotion programmes to develop domestic and large scale industries. It also discusses obstacles to the progress of these types of industry. Chapter VI deals with a general background of Thailand’s economy and its trends during the period prior to Thailand’s alliance with Japan in World War II, economic chaos resulting from this alliance, and the effects of this worsening economic situation upon the whole economic developmental process. It also discusses Pibulsonggram’s [implementation] of the plan to solve the financial problems, it obstacles, and reactions of the government to this failure, Chapter VII, which is the final chapter, gives an overall evaluation of Pibulsonggram’s policy of economic development and its effectiveness and also illustrates its main obstacles and its major weak points which led to its failure. | |
dc.format.extent | 966767 bytes | |
dc.format.extent | 1460957 bytes | |
dc.format.extent | 2610809 bytes | |
dc.format.extent | 4747705 bytes | |
dc.format.extent | 6150817 bytes | |
dc.format.extent | 3218156 bytes | |
dc.format.extent | 4948399 bytes | |
dc.format.extent | 571148 bytes | |
dc.format.extent | 3254015 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ตั้งแต่ พ.ศ. 2481 ถึง พ.ศ. 2487 | en |
dc.title.alternative | Field Marshal P. Pibulsonggram's policy of economic development from 1938 to 1944 | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ประวัติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phanit_Ru_front.pdf | 944.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phanit_Ru_ch1.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phanit_Ru_ch2.pdf | 2.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phanit_Ru_ch3.pdf | 4.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phanit_Ru_ch4.pdf | 6.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phanit_Ru_ch5.pdf | 3.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phanit_Ru_ch6.pdf | 4.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phanit_Ru_ch7.pdf | 557.76 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phanit_Ru_back.pdf | 3.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.