Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24511
Title: ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และบุคลากรเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ในเขตการศึกษา 9
Other Titles: Opinions of administrators, teachers and personnel concerning the implementation of the elementary curriculum B.E. 2521 in the educational region nine
Authors: พงษ์พิศ พานิล
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อศึกษาสภาพการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 9 2.เพื่อศึกษาปัญหาการใช้หลักสูตร ประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 9 3.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 9 4.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็น เกี่ยวกับสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ของโรงเรียน ประถมศึกษาขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 9 สมมุติฐานในการวิจัย 1.ความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารโรงเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา เกี่ยวกับสภาพการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ในโรงเรียนประถมศึกษาไม่แตกต่างกัน 2.ความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารโรงเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ในโรงเรียนประถมศึกษาไม่แตกต่างกัน 3.สภาพการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติในเขตการศึกษา 9 ไม่แตกต่างกัน 4.ปัญหาการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติในเขตการศึกษา 9 ไม่แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 58 คน ครู จำนวน 348 คน และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ศึกษานิเทศก์สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ศึกษานิเทศก์สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามซึ่งสร้างขึ้น เป็นแบบตรวจสอบ (Check list) แบบประเมินค่า (Rating scale) และปลายเปิด (open-ended) จากแบบสอบถามที่ส่งไป 529 ฉบับ ได้รับคืนเป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์และสามารถวิเคราะห์ได้จำนวน 492 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 93.00 ของแบบสอบถามที่ส่งไป การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สมมุติฐานโดยการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) สรุปผลการวิจัย จากการวิจัย พบว่า 1.ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับสภาพการใช้หลักสูตรในโรงเรียนประถมศึกษา เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยโดยส่วนรวมปรากฏว่า มีความเห็นเกี่ยวกับสภาพการใช้หลักสูตรว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน คือ ด้านหลักสูตรและเอกสารหลักสูตร บุคลากร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลการเรียน ก็มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน เมื่อวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับสภาพการใช้หลักสูตร ปรากฏว่า มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับความเชื่อมั่น .05 2.ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา เกี่ยวกับปัญหาการใช้หลักสูตร เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยโดยส่วนรวมในแต่ละด้าน ที่เกี่ยวกับหลักสูตรและเอกสารหลักสูตรบุคลากร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนปรากฏว่ามีปัญหาของการใช้หลักสูตร อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยโดยส่วนรวมแล้วปรากฏว่าปัญหาของการใช้หลักสูตรก็อยู่ในระดับปานกลาง เช่นเดียวกัน เมื่อวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ในแต่ละด้านและทั้งโดยส่วนรวมแล้ว ปรากฏว่า มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นส่วนทั้งเขตการศึกษา เกี่ยวกับสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตร ปรากฏว่าอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ทั้ง 3 กลุ่ม ปรากฏว่า ความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3.เกี่ยวกับสภาพการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหม่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก เกี่ยวกับด้านหลักสูตรและเอกสารหลักสูตรบุคลากรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลการเรียน เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยโดยส่วนรวมในแต่ละด้านแล้ว ปรากฏว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรทุก ๆ ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยโดยส่วนรวมทั้งหมดทุก ๆ ด้านแล้ว ปรากฏว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง เช่นเดียวกัน เมื่อวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู โรงเรียนประถมศึกษา ทั้ง 3 ขนาด ในแต่ละด้านและทั้งโดยส่วนรวมแล้ว ปรากฏว่า ความคิดเห็นการใช้หลักสูตร ไม่แตกต่างกัน 4.เกี่ยวกับปัญหาการใช้หลักสูตร ประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก เกี่ยวกับเรื่องหลักสูตรและเอกสารหลักสูตรบุคลากร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลการเรียน เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยโดยส่วนรวมในแต่ละด้านแล้ว ปรากฏว่า ปัญหาการใช้หลักสูตรเป็นปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยในแต่ละด้านแล้ว ปรากฏว่า ปัญหาการใช้หลักสูตรเป็นปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยโดยส่วนรวมทั้งหมดทุก ๆ ด้านแล้วปรากฏว่า ปัญหาการใช้หลักสูตรอยู่ในระดับปานกลาง เช่นเดียวกัน เมื่อวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก เกี่ยวกับปัญหาการใช้หลักสูตรในแต่ละด้านและทั้งโดยส่วนรวมแล้ว ปรากฏว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: Purposes of Study 1.To study the situation of the implementation of the Elementary Curriculum B.E. 2521 in elementary schools under the jurisdiction of the National Primary Education Office in Educational Region Nine. 2.To study the problems of the implementation of the Elementary Curriculum B.E. 2521 in elementary schools under the jurisdiction of the National Primary Education Office in Educational Region Nine. 3.To compare opinions of administrators, teachers and personnel concerning situation and problems of the implementing the elementary Curriculum B.E. 2521 in elementary schools under the jurisdiction of the National Primary Education Office in Educational Region Nine. 4.To compare opinions concerning situation and problems of the implementation the Elementary Curriculum B.E. 2521 in large, medium, and small elementary schools under the jurisdiction of the National Primary Education Office in Educational Region Nine. Hypotheses 1. There is no significant difference among opinions of administrators, teachers and personnel concerning situation of the implementation of the Elementary Curriculum B.E. 2521 in elementary school in Educational Region Nine. 2.There is no significant difference among opinions of administrators, teachers and personnel concerning problems of the implementation of the Elementary Curriculum B.E. 2521 in elementary schools in Educational Region Nine. 3.There is no Significant difference in the implementation of the Elementary Curriculum B.E. 2521 in the large, medium, and small elementary schools under the jurisdiction of the National Primary Education Office in Educational Region Nine. 4.There is no significant difference in the problems of implementing the Elementary Curriculum, B.E. 2521 in the Large, medium and small schools under jurisdiction of the National Primary Education office in Educational Region Nine. Research Procedure Sample of this study consisted of 58 school administrators, 348 teachers, and 123 educational personnel in Educational Region Nine. Questionnaires which were constructed in the forms of check list, rating scale, and open-ended were distributed to the sample. Of the total 529 questionnaires sent out, 492 or 93.00 percent were completed and returned. Data, then were analyzed by using percentage, arithmetic mean, standard deviation, and one-way analysis of [Variance]. Research Findings 1.Administrators, teachers, and educational personnel responded that the functions of curriculum implementation both overall and each function were employed at the moderate level. There is no significant difference among opinions of administrators, teachers, and educational personnel concerning the situation of curriculum implementation at the .05 level, then the first hypothesis was fail to be rejected. 2.Administrators, teachers, and educational personnel rated that the problems of curriculum implementation both overall and each function were at the moderate level. There is no significant difference among opinions of administrators, teachers, and educational personnel concerning the problems of curriculum implementation at the .05 level, the second hypothesis was failed to be [reflected]. 3.The curriculum implementation in large, medium, and small schools either considered both overall and separate function appeared that they were all employed at the moderate level. There is no significant difference in the implementation of the Elementary Curriculum B.E. 2521 in large, medium, and small schools at the .05 level, then, the third hypothesis was failed to be rejected. 4.The problems of curriculum implementation in large, medium, and small schools either considered both overall and separate function were rated at the moderated level. There is no significant difference in problems of the implementation of the Elementary Curriculum B.E. 2521 in large, medium and small schools at the .05 level, then the forth hypothesis was failed to be rejected.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24511
ISSN: 9745647446
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongpis_Pa_front.pdf660.67 kBAdobe PDFView/Open
Pongpis_Pa_ch1.pdf763.13 kBAdobe PDFView/Open
Pongpis_Pa_ch2.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open
Pongpis_Pa_ch3.pdf565.86 kBAdobe PDFView/Open
Pongpis_Pa_ch4.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open
Pongpis_Pa_ch5.pdf915.45 kBAdobe PDFView/Open
Pongpis_Pa_back.pdf892.94 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.