Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24541
Title: | แบบฝึกหัดการอ่านและเขียนคำที่ใช้อักษรควบ "ร" และ "ล" สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่หนึ่ง |
Other Titles: | Pattern drilis in reading and writing /r/ and /l/ clusters for mathayom suksa one |
Authors: | ประเสริฐ เชยชิต |
Advisors: | วัลลภา ศุนาลัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน |
Issue Date: | 2518 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาการอ่านและเขียนคำที่ใช้อักษรควบ “ร” และ “ล” สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และสร้างแบบฝึกขึ้นทดลองฝึกเพื่อต้องการทราบความสามารถในการอ่านและเขียนคำที่ใช้อักษรควบ “ร” และ “ล” ของนักเรียน หลังจากได้รับการฝึกแล้ว วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยสร้างแบบสอบการอ่านและเขียนคำที่ใช้อักษรควบ “ร” และ “ล” โดยใช้คำที่มีความถี่สูงจากหนังสือแบบเรียนภาษาไทยเล่ม 5 ชั้นประถมปีที่ 7 แบบสอบละ 60 เสียง นำไปทดลองกลุ่มตัวอย่างประชากรซึ่งเป็นนักเรียนชายหญิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 70 คน จากโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม นำผลการสอบมาวิเคราะห์หาคำที่เป็นปัญหาในการอ่านและเขียน เพื่อจะได้เป็นคำที่เป็นพื้นฐานในการสร้างแบบฝึก ผู้วิจัยสร้างแบบฝึกสำหรับการอ่านและเขียนคำที่ใช้อักษรควบ “ร” และ “ล” 15 แบบฝึก นำไปทดลองฝึกกลุ่มตัวอย่างประชากร แล้วผู้วิจัยสร้างแบบสอบขึ้นใหม่โดยใช้คำในแบบสอบเดิม สอบกลุ่มตัวอย่างประชากร นำผลการสอบครั้งแรกกับครั้งที่ 2 มาเปรียบเทียบกันเพื่อหาความแตกต่างหลังจากฝึกแล้ว และคำนวณหาร้อยละของจำนวนคนที่อ่านและเขียนผิดหลังจากฝึกแล้ว สรุปผลการวิจัย 1. จากผลการสอบอ่านครั้งแรก (Pretest) คำที่ใช้อักษรควบ “ร” และ “ล” ที่นักเรียนอ่านผิดสูงสุดร้อยละ 50 คือคำว่า พรุ่งนี้ คำที่นักเรียนอ่านผิดระหว่างร้อยละ 25 ถึง 50 เรียงลำดับตามจำนวนครั้งที่ผิดจากน้อยไปมาก คือคำว่า กรอก เพลง พลิก ไพร่ เปลือย ตรม เพราะ สงคราม เปรต ตรง ไกล ปล้อน ปล่อย ครั้น กราบ ราตรี กล้า พระ ปรึกษา คลอด พรุ่งนี้ และคำที่อ่านผิดต่ำสุดร้อยละ 5.71 คือคำว่า ปราบ และ ตราก 2. จากผลการสอบเขียนครั้งแรก (Pretest) คำที่ใช้อักษรควบ “ร” และ “ล” ที่นักเรียนเขียนผิดสูงสุดร้อยละ 87.14 คือคำว่า หัวไพล คำที่นักเรียนเขียนผิดระหว่างร้อยละ 50 ถึง 90 เรียงลำดับตามจำนวนครั้งที่ผิดจากน้อยไปมาก คือคำว่า ไพล่ ปรอย กลด กรีดกราย ปรก เชี่ยวกราก เกร็ดความรู้ ข้าวกล้า แปล้ แกร่ว ตากหน้า ตาโพลง พลิ้ว คลองธรรม พรวดพราด ผัดวัน ปอกลอก หัวไพล คำที่นักเรียนเขียนผิดต่ำสุดคือไม่มีนักเรียนเขียนผิดเลย ได้แก่คำว่า กลม 3. แบบฝึกการอ่านและเขียนคำที่ใช้อักษรควบ “ร” และ “ล” สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี 15 แบบฝึก มีวิธีการฝึกดังนี้ แบบฝึกอ่านปากเปล่า แบบฝึกอ่านโดยใช้คำประพันธ์ แบบฝึกโดยใช้วิธีการสอนแบบอ่าน-พูด (Aural-Oral Approach) แบบเขียนตามคำบอก แบบเติมคำ แบบเติมอักษร แบบถามตอบปากเปล่า และแบบอักษรไขว้ 4. จากการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีทดสอบค่าซี (z-test) ปรากฏว่า ความสามารถการอ่านและเขียนคำที่ใช้อักษรควบ “ร” และ “ล” ก่อนฝึกและหลังฝึกแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 5. หลังการฝึกแล้ว คำที่ใช้อักษรควบ “ร” และ “ล” ที่นักเรียนอ่านผิดสูงสุดร้อยละ 20 คือคำว่า คลอด คำที่นักเรียนอ่านผิดร้อยละ 10 ถึง 20 เรียงลำดับตามจำนวนครั้งที่ผิดจากน้อยไปมากคือคำว่า คลาน ปลิ้น ใคร คลาย สงคราม ราตรี เปลี่ยนเปลือย พระ กลับ กล้า เพลง ไกล คลอด คำที่นักเรียนอ่านผิดต่ำสุดคือไม่มีนักเรียนอ่านผิดเลยได้แก่คำว่า ครัว ตราก ตรำ พร้อม เพรียง ตรอง ตรง กราบ 6. หลังการฝึกแล้ว คำที่ใช้อักษรควบ “ร” และ “ล” ที่นักเรียนเขียนผิดสูงสุด ร้อยละ 22.85 คือคำว่า ตาพร่า และ หัวไพล คำที่นักเรียนเขียนผิดร้อยละ 15 ถึง 25 เรียงลำดับตามจำนวนครั้งที่ผิดจากน้อยไปมาก คือคำว่า ปลกเปลี้ย พรวดพราด บานเกล็ด พลาง อำพราง เชี่ยวกราก ปอกลอก อิ่มแปล้ ข้าวกล้า ปรก ผัดวัน ตากหน้า เกร็ดความรู้ ครั่ง ตาโพลง ตาพร่า หัวไพล คำที่นักเรียนเขียนผิดต่ำสุดคือไม่มีนักเรียนเขียนผิดเลยได้แก่คำว่า กลม ตายทั้งกลม แปล กรอก ข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยมีความเห็นว่า แบบฝึกเสริมบทเรียนนั้นสำคัญและจำเป็น ครูสอนภาษาไทย ควรสร้างแบบฝึกเสริมทักษะในการใช้ภาษาไทย คือ ฟัง อ่าน พูด และเขียนให้มีจำนวนมากพอ เพราะจะช่วยให้การสอนภาษาไทยประสบความสัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น แบบฝึกที่นำไปใช้ควรนำมาปรับปรุงอยู่เสมอ และควรฝึกหลาย ๆ วิธีไม่ให้ซ้ำกันเสมอ เพื่อไม่ให้นักเรียนเบื่อหน่าย นอกจากเสียงอักษรควบ “ร” และ “ล” จะมีปัญหาทุกระดับชั้นแล้ว เสียงอักษรควบ “ว” ก็มีปัญหาเสียงหนึ่งด้วย ควรจะทำการวิจัยและทำแบบฝึกในเรื่องนี้ ควรมีการศึกษาองค์ประกอบอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับการอ่านและการเขียนคำที่ใช้อักษรควบ “ร” และ “ล” เช่น เพศ เชื้อชาติ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม อาชีพบิดามารดาและสัมฤทธิผลในการเรียน |
Other Abstract: | Purpose The purpose of this study was to find out the problem of reading and writing “/rƆ/” and “/lƆ/” clusters for Mathayom Suksa one and to construct the pattern drills. Then, a posttest was administered to the same group of students to test the ability of reading and writing “/rƆ/” and “/lƆ/” clusters after the pattern drills were practiced. Procedure A reading test of 60 “/rƆ/” and “/lƆ/” clusters words and a writing test of 60 “/rƆ/” and “/lƆ/” cluster words were constructed to be used as a tool to find out the problems of reading and writing “/rƆ/” and “/lƆ/” cluster errors of 70 students of Mathayom Suksa one in Yannavesvitayakom School. The results were treated to find the percentage of word errors in each word of the test. These word errors were, then, used as the pattern drills for the same group of students. After the pattern drills were used, the students were tested by a test series based on the pretest pattern. The results were treated to find the percentage as before. Results and conclusions. 1. From the pretest, it was found that 25 per cent to 50 per cent of the students had difficulty in reading the “/rƆ/” and “/lƆ/” cluster words of กรอก เพลง พลิก ไพร่ เปลือย ตรม เพราะ สงคราม เปรต ตรง ไกล ปล้อน ปล่อย ครั้น กราบ ราตรี กล้า พระ ปรึกษา คลอด พรุ่งนี้. The word “พรุ่งนี้” was on the top of the list while the easiest words for them were “ปราบ” and “ตราก” There were only 5.71 per cent of them made a mistake. 2. From the pretest, it was found the 50 per cent to 90 per cent of the students had difficulty in writing the “/rƆ/” and “/lƆ/” cluster words words of ไพล่ ปรอย กลด ปรก กรีดกราย เชี่ยวกราก เกร็ดความรู้ ข้าวกล้า แปล้ แกร่ว ตากหน้า ตาโพลง พลิ้ว คลองธรรม พรวดพราด ผัดวัน ปลอกลอก หัวไพล. The word “หัวไพล” was on the top of the list while the easiest word for them was “กลม”. None of them made a mistake. 3. Pattern drills in reading and writing “/rƆ/” and “/lƆ/” clusters, which were constructed were oral reading pattern, verse reading pattern, aural-oral approach pattern, dictation pattern, completion pattern both words and letters, question and answer pattern, and cross word pattern. 4. It was found that the z-test for reading and writing “/rƆ/” and “/lƆ/” clusters of before and after drilling was significantly different at the .01 level of confidence. 5. From the posttest, it was found that 10 per cent to 20 per cent of the students had difficulty in reading the “/rƆ/” and “/lƆ/” cluster words of คลาน ปลิ้น ใคร คลาย สงคราม ราตรี เปลี่ยน เปลือย พระกลับ กล้า เพลงไกล คลอด. The word “คลอด” was the top of the list while the easiest words for them were ครัว ตราก ตรำ พร้อม เพรียง ตรอง ตรง กราบ. None of them made a mistake. 6. From the posttest, it was found that 15 per cent to 25 per cent of the students had difficulty in writing the “/rƆ/” and “/lƆ/” cluster words of ปลกเปลี้ย พรวดพราด บานเกล็ด พราง อำพราง เชี่ยวกราก ปอกลอก อิ่มแปล้ ข้าวกล้า ปรก ผัดวัน ตากหน้า เกร็ดความรู้ ครั่ง ตาโพลง ตาพร่า หัวไพล. The words “ตาพร่า” and “หัวไพล” were on the top of the list while the easiest words for them were กลม ตายทั้งกลม แปล กรอกน้ำ. None of them made a mistake. Recommendation It could be said that the supplementary preparation is important and necessary. The Thai Language teachers should construct the supplementary pattern drills in listening, speaking, reading and writing because they will make the teaching of Thai Language successful. Pattern drills should be corrected after being used for some time, and there are quite a few procedures of drills to make them interesting. In the Thai Language, there are “/rƆ/” “/lƆ/” and “/wƆ/” clusters. The “/wƆ/” cluster should be investigated. Other variables should be investigated such as sex, nationality, economic and social condition, parents’ profession, and academic achievement of students. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24541 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prasert_Ch_front.pdf | 560.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prasert_Ch_ch1.pdf | 575.78 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prasert_Ch_ch2.pdf | 806.65 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prasert_Ch_ch3.pdf | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prasert_Ch_ch4.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prasert_Ch_ch5.pdf | 340.09 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prasert_Ch_back.pdf | 928.83 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.