Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24605
Title: การติดตามผลพฤติกรรมการสอนตามการรับรู้ของอาจารย์ที่ผ่านการประชุมจากโครงการประชุมปฏิบัติการและสัมมนาของหน่วยพัฒนาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: A follow-up study of teaching behavior as perceived by faculty members attending the Chulalongkorn University staff development unit workshops and seminars during the year 1977-1981
Authors: สมนึก เจาวัฒนา
Advisors: พวงแก้ว ปุณยกนก
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเอาแนวความคิดแบบจำลองของไทเลอร์ มาประยุกต์ใช้ในการประเมินผลของโครงการประชุม ซึ่งเน้นเฉพาะการติดตามผลพฤติกรรมการสอนตามการรับรู้ของอาจารย์ที่ผ่านการประชุมจากโครงการประชุมปฏิบัติการและสัมมนาของหน่วยพัฒนาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี 2520-2524 ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแต่ละโครงการ แล้วนำไปแจกกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ผ่านการประชุมจากโครงการทั้ง 9 จำนวน 336 คนโดยแยกแบบสอบถามตามรายชื่อของโครงการที่ได้เข้าประชุมพร้อมกับสุ่มสัมภาษณ์อาจารย์ที่ผ่านการประชุม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนพฤติกรรมการสอนของอาจารย์แต่ละท่าน และทดสอบสัดส่วนของอาจารย์ที่มีคะแนนพฤติกรรมการสอนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดโดยใช้การทดสอบค่า ซีหรือทดสอบด้วยไคสแควร์ในแต่ละโครงการผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า 1. โครงการที่ประสบผลสำเร็จมีจำนวน 6 โครงการคือ โครงการประชุมเรื่องการเรียนการสอนทั่วไป การสอนแบบบรรยาย การสอนกลุ่มย่อย เทคนิคการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา การเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการแสวงหาความรู้ และประเมินผลการเรียน โดยแต่ละโครงการพบว่า สัดส่วนของอาจารย์ที่มีคะแนนพฤติกรรมการสอนผ่านเกณฑ์ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป มีค่าเป็นไปตามสัดส่วนที่กำหนดคือ ตั้งแต่ 0.75 ขึ้นไปที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 2.โครงการที่ไม่ประสบผลสำเร็จมีจำนวน 3โครงการคือ โครงการประชุมเรื่องชุดการสอน การสอนโดยผู้สอนเป็นกลุ่ม และสื่อการสอน โดยแต่ละโครงการพบว่า สัดส่วนของอาจารย์ที่มีคะแนนพฤติกรรมการสอนผ่านเกณฑ์ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไปมีค่าต่ำกว่าสัดส่วนที่กำหนดคือ 0.75 อย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: The purpose of this research is to study the teaching behavior as perceived by faculty members attending the Chulalongkorn University Staff Development Unit Workshops and Seminars during the year 1977-1981 by using Tyler’s Model. A questionaire was used in accordance with the objectives of each project. The samples were 336 faculty members who attended the workshops and seminars. Each sample received a questionnaire correspond to the workshops and seminars he had attended. The data from each member was analyzed by mean and standard deviation and the proportion of the score which passed the criterion was tested by z-test or Chi-Square test. The rsults were as follow :- 1. Six projects were up to the objectives. They are: General Learning and Teaching, Lecturing, Teaching a Small Group, Teaching Techniques corresponding the Course, Teaching and Learning emphasizing the Process of Finding Knowledge, and Learning Evaluation. The proportion of the members who had teaching behavior score above mean 3.00, was significantly up to the criterion (p = 0.75) at .05 of each project. 2. Three projects were not achieved according to objectives. They are ; Program Teaching, Team teaching, and Mass Media. The Proportion of the members who had teaching behavior score lower than mean 3.00, was not up to the criterion (p = 0.75) significantly of each project.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24605
ISBN: 9745611271
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somnuek_Ch_front.pdf542.74 kBAdobe PDFView/Open
Somnuek_Ch_ch1.pdf595.51 kBAdobe PDFView/Open
Somnuek_Ch_ch2.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
Somnuek_Ch_ch3.pdf634.53 kBAdobe PDFView/Open
Somnuek_Ch_ch4.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Somnuek_Ch_ch5.pdf828.21 kBAdobe PDFView/Open
Somnuek_Ch_back.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.