Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24660
Title: การศึกษาการให้บริการต่อผู้ใช้ไฟฟ้าและการจัดเก็บค่ากระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง
Other Titles: A study on service and bill collection of metropolitan electricity authority
Authors: พิเชษฐ์ ชานวาทิก
Advisors: สุพล ผลโกศล
สุภาภรณ์ พลนิกร
Subjects: การไฟฟ้านครหลวง
ผู้บริโภค -- ทัศนคติ
ไฟฟ้า -- ราคา
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผลการวิจัยปรากฏว่า ในจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 301 ราย เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าใหม่จำนวน 153 ราย (หมายถึงผู้ตอบแบบสอบถามที่เคยติดต่อในเรื่องขอติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าใหม่กับการไฟฟ้านครหลวง) และเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่ไม่เคยขอติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าใหม่จำนวน 148 รายในกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าใหม่นี้พบว่า ผู้ตอบส่วนมากไม่พอใจในการให้บริการของการไฟฟ้านครหลวงเกี่ยวกับการขอติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าร้อยละ 67.97 โดยมีผู้ที่พึงพอใจต่อการให้บริการของการไฟฟ้านครหลวงเกี่ยวกับการขอติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าร้อยละ 32.03 จึงพิสูจน์สมมติฐานในข้อที่ 1 ที่ว่าผู้ใช้ไฟฟ้าใหม่ไม่พึงพอใจต่อการให้บริการของการไฟฟ้านครหลวงเกี่ยวกับการขอติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า เป็นจริง จากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งหมด มีผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความสามารถชำระค่าไฟฟ้าผ่านทางธนาคารร้อยละ 46.51 (ซึ่งหมายถึงผู้ตอบแบบสอบถามที่ชำระค่าไฟฟ้าด้วยวิธีหักบัญชีเงินฝากธนาคารอยู่แล้ว หรือที่คิดว่าการชำระค่าไฟฟ้าโดยวิธีนี้เป็นวิธีที่ตนสะดวก) ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ไม่สามารถชำระค่าไฟฟ้าผ่านธนาคารร้อยละ 47.18 (ผู้ไม่ตอบร้อยละ 6.31) ในกลุ่มที่ผู้ที่มีความสามารถชำระค่าไฟฟ้าผ่านทางธนาคารนี้มีความพึงพอใจที่จะชำระค่าไฟฟ้าผ่านทางธนาคารมากกว่าที่จะให้พนักงานของการไฟฟ้านครหลวงออกไปจัดเก็บเองคิดเป็นร้อยละ 55.00 จึงพิสูจน์สมมติฐานข้อที่ 2 ที่ว่าผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความสามารถชำระค่ากระแสไฟฟ้าผ่านทางธนาคาร มีความพึงพอใจในการบริการชำระค่ากระแสไฟฟ้าผ่านทางธนาคารมากกว่าที่จะให้พนักงานการไฟฟ้านครหลวงออกไปจัดเก็บเองได้ว่าเป็นจริง และในจำนวนผู้ที่มีความสามารถชำระค่าไฟฟ้าผ่านทางธนาคารได้นี้มีผู้พึงพอใจที่จะให้พนักงานของการไฟฟ้านครหลวงไปจัดเก็บเองมากกว่าชำระค่าไฟฟ้าผ่านทางธนาคารคิดเป็นร้อยละ 40.71 (ผู้ไม่ตอบร้อยละ 4.29) สำหรับในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่สามารถชำระค่าไฟฟ้าผ่านทางธนาคาร มีผู้พึงพอใจที่จะให้พนักงานของการไฟฟ้านครหลวงไปจัดเก็บเองมากกว่าที่จะชำระค่าไฟฟ้าผ่านทางธนาคารร้อยละ 85.71 และผู้พึงพอใจชำระค่าไฟฟ้าผ่านทางธนาคารมากกว่าที่จะให้พนักงานของการไฟฟ้านครหลวงไปจัดเก็บเองเพียงร้อยละ 3.11 (ผู้ไม่ตอบร้อยละ 11.18) โดยที่เหตุผลที่ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่สะดวกในการชำระค่าไฟฟ้าผ่านทางธนาคารส่วนใหญ่ได้แก่ ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่มีเงินฝากในธนาคาร เหตุผลรองลงมาคือ ไม่เข้าใจวิธีชำระค่าไฟฟ้าด้วยวิธีนี้ ในกรณีที่มีปัญหาหรือข้อผิดพลาดทำให้แก้ไขได้ยาก และอาจไม่มีเงินฝากในบัญชีพอให้ชำระค่าไฟฟ้าได้ ตามลำดับ จากการวิจัยพบว่าระยะเวลาของการจัดเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้าจากลูกค้าส่วนมาก (ร้อยละ 60.00 ของรายได้ทั้งหมด) ของการไฟฟ้านครหลวงส้นกว่าระยะเวลาการชำระหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าที่ซื้อมาจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (ระยะเวลาการเก็บหนี้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยประมาณ 34 วัน นับจากวันที่จดบันทึกหน่วยการจำหน่ายไฟฟ้าประจำเดือน จนกระทั่งถึงวันที่สิ้นสุดการชำระหนี้) โดยมีรายละเอียด คือ การไฟฟ้านครหลวงสามารถดำเนินการจัดเก็บเงินค่าไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มแรก ซึ่งได้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าเอกชนที่ใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือนตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 46.67 ของรายได้ทั้งหมด และผู้ใช้ไฟฟ้าเอกชนที่ใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือนตั้งแต่ 10,000-99,999 บาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 13.33 ของรายได้ทั้งหมด ได้เร็วกวาระยะเวลาชำระหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ใช้เวลาดำเนินการ และให้สินเชื่อไว้ประมาณ 14 วัน และ 4 วัน ตามลำดับ สำหรับกลุ่มที่สองได้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าเอกชนที่ใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาทซึ่งมีจำนวนร้อยละ 26.67 ของรายได้ทั้งหมด สามารถจัดเก็บค่าไฟฟ้าได้นานกว่าระยะเวลาการ[ชำระหนี้]ค่ากระแสไฟฟ้าที่ซื้อมาจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยประมาณ 15 วัน และกลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าหน่วยงานราชการนั้นคิดเป็นร้อยละ 13.33 ของรายได้ทั้งหมด ใช้ระยะเวลาในการเก็บเงินค่าไฟฟ้านานกว่าระยะเวลาการชำระหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยประมาณ 21 วัน จะเห็นได้ว่าการไฟฟ้านครหลวงต้องรับภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากความล่าช้าในการเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้าในกลุ่มหน่วยงานราชการ และรวมถึงกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าเอกชนที่ใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาทเพียงบางส่วน โดยที่มีร้อยละ 60.00 ของรายได้ สามารถจัดเก็บได้เร็วกว่าระยะเวลาชำระหนี้ เพราะฉะนั้นการไฟฟ้านครหลวงจึงได้รายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากที่เก็บค่าไฟฟ้าได้เร็ว มากกว่าดอกเบี้ยที่เสียไปอันเนื่องจากความล่าช้าในการจัดเก็บค่ากระแสไฟฟ้า ดังนั้นสมมติฐานในข้อ 3 ที่ว่าระยะเวลาของการจัดเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้ามีความล่าช้ากว่าระยะเวลาการชำระหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าที่ซื้อมาจึงไม่เป็นจริง
Other Abstract: Following are the results of the research. Of all the 301 individuals who answered the questionnaire, there were 153 new users of electricity (meaning those answering the questionnaire who used to contact the Metropolitan Electricity Authority in order to have a new kilowatt-hour meter installed) and 148 users of electricity who had never contacted the MEA in order to have a new kilowatt-hour meter installed. Regarding the group of new users of electricity, it was discovered that the majority of those answering the questionnaires--67.97%--were not satisfied with the MEA’s manner in handling their requests for the installation of the meter, while 32.03% were satisfied. This has thus proved that the first hypothesis which assumes that new users of electricity are not satisfied with the MEA’s manner in handling their requests for the installation of a kilowatt-hour meter is true. Of all those answering the questionnaire, 46.51% of users of electricity were able to pay their electricity bills through banks (meaning those answering the questionnaire who already paid their electricity bills by means of having their bank accounts debited or who thought that it was convenient for them to pay by this means) and 47.18% of the users were unable to pay their electricity bills through banks, (6.31% of them did not answer the questionnaire). Regarding the group of those who were able to pay their electricity bills through banks, 55.00% preferred to pay through banks to having the bills collected by the MEA’s employees. This has thus proved that the second hypothesis which assumes that the electricity users who are able to pay their electricity bills through banks prefer to pay through banks to having the bills collected by the MEA’s employees is true. And 40.71% of those who were able to pay their electricity bills through banks preferred to have the bills collected by the MEA’s employees to paying through banks, (4.29% did not answer the questionnaire). Regarding the group of those answering the questionnaire who were unable to pay their electricity bills through banks, 85.71% preferred to have the bills collected by the MEA’s employees to paying the bills through banks. And only 3.11% of the users preferred to pay the bills through banks to having them collected by the MEA’s employees, (11.18% of them did not answer the questionnaire). The main reason that the users felt it inconvenient to pay the bills through banks was that they had no bank deposits. The secondary reason was that they did not understand this means of paying the bills and were afraid that it might be difficult to make corrections when there were mistakes. In addition, they might not have enough deposites to cover their electricity bills. The study discovered that the MEA’s periods for collecting electricity bills from the majority of its clients (60.00% of its total income) were shorter than those for paying its electricity bills to the Electricity Generating Authority of Thailand (the EGAT’s period for collecting electricity bills was about 34 days as from the date of recording the number of monthly electricity units sold to the last date for paying the bills) with the following details. The MEA was able to collect electricity bills from the first group of electricity users, i.e. private individuals using electricity from 100,000 baht and upwards per month on the average, which constituted 46.67% of its total income, and from private individuals using electricity between 10,000-99,999 baht, which constituted 13.33% of its total income, faster than the period for its paying electricity bills to the EGAT, which allowed for operational delays and gave credit, by about 14 and 4 days respectively. Regarding the second group of private individuals using electricity less than 10,000 baht per month on the average, which constituted 26.67% of the MEA’s total income, the period used by the MEA to collect electricity bills was longer than that used to pay its electricity bills to the EGAT by about 15 days. And regarding the last group of electricity users, i.e. those from government agencies, which constituted 13.33% of the MEA’s total income, the period used by the MEA to collect electricity bills was longer than that used to pay its electricity bills to the EGAT by about 21 days. It was apparent that the MEA had to bear the responsibility of paying interest due to the delay in collecting electricity bills from the group of users from government agencies and the group of private individuals using electricity less than 10,000 baht per month on the average, which constituted part of its income, while it was able to collect 60.00% of its income faster than the period for paying its electricity bills. Therefore, the MEA gained more interest from the income it obtained ahead of time than that it lost due to the delay in collecting electricity bills. Hence, the third hypothesis which assumes that the period used to collect electricity bills from users is longer than that used to pay electricity bills to cover the cost of electricity which has been purchased is not true.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พาณิชยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24660
ISSN: 9745661325
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pichet_Ch_front.pdf582.42 kBAdobe PDFView/Open
Pichet_Ch_ch1.pdf412.99 kBAdobe PDFView/Open
Pichet_Ch_ch2.pdf412.79 kBAdobe PDFView/Open
Pichet_Ch_ch3.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Pichet_Ch_ch4.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
Pichet_Ch_ch5.pdf833.32 kBAdobe PDFView/Open
Pichet_Ch_back.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.