Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24688
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิราภรณ์ ธนียวัน-
dc.contributor.advisorสุเทพ ธนียวัน-
dc.contributor.authorนภดล สว่างนาวิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-11-20T07:16:33Z-
dc.date.available2012-11-20T07:16:33Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745321087-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24688-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractศึกษาผลของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ 2 ชนิด ( แรมโนลิพิด ผลตจาก Pseudomonas aeruginosa สายพันธุ์ A41 และเซอร์แฟคติน ผลิตจาก Bacillus subtilis สายพันธุ์ BBK1) และสารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ 2 ชนิด (ไตรตอนเอ็กซ์-100 และสารเคมีขจัดคราบน้ำมันเคมเทค 307) ต่อการย่อยสลายน้ำมันดิบเมอร์บานชนิดเบา โดยแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากทรายทะเลที่ปนเปื้อนคราบน้ำมันบริเวณชายหาดหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และชายหาดพัทยา จังหวัดชลบุรี พบไอโซเลต HU2 จากชายหาดหัวหิน มีความสามารถสูงสุดในการย่อยสลายน้ำมันดิบ จำแนกชนิดทางอนุกรมวิธานด้วยการวิเคราะห์ 16S rDNA ของไอโซเลต HU2 เป็นแบคทีเรียสกุล Brevundimonas ด้วยความคล้ายคลึง 99.3% และให้ชื่อว่า Brevundimonas sp. สายพันธุ์ HU2 มีลักษณะ รูปร่างท่อนสั้นโค้ง ติดสีแกรมลบ ไม่เคลื่อนที่ ทนเค็มได้ 10% ไม่สามารถสร้างสารลดแรงตึงผิวได้ การทดสอบ การใช้แหล่งคาร์บอนสามารถย่อยสลายอัลเคนที่เป็นโซ่ตรงสายยาว และน้ำมันหลายชนิดได้ แต่ไม่สามารถ ย่อยสลายพอลิไซคลิกอะโรมาติกไอโดรคาร์บอนและสารลดแรงตึงผิวได้ ศึกษาการย่อยสลายน้ำมันดิบโดย แบคทีเรียสายพันธุ์นี้ ในอาหารเหลว BH ที่มีน้ำทะเลและทรายทะเลปลอดเชื้อ ที่มีน้ำมันดิบความเข้มข้น 1 % ที่ความเป็นกรด-ด่าง 7.5 เขย่าที่ความเร็ว 200 รอบต่อนาที ที่อุณหภูมิ 30°ช. นับจำนวนเชื้อที่เพิ่มขึ้น และ วิเคราะห์ปริมาณน้ำมันดิบที่เหลืออยู่โดยใช้ FTIR และ GC-FID พบว่า ภายในเวลา 8 วัน ปริมาณน้ำมันดิบ ถูกย่อยสลายเหลือ 10.41 % เปรียบเทียบกับปริมาณน้ำมันดิบที่ย่อยสลายทางกายภาพเหลืออยู่ 77.83 % ผลของการเติมสารลดแรงตึงผิว 4 ชนิดลงไปในการเลี้ยงเชื้อพบว่า ที่ความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิวที่มีค่าการกระจายตัวของน้ำมันที่เท่ากัน (78.6 ตร.ชม.) ซึ่งมีค่าสูงกว่าค่า CMC แรมโนลิพิด เซอร์แฟคติน และเคมเทค 307 สามารถเพิ่มการเจริญและการย่อยสลายน้ำมันดิบของเชื้อได้เร็วขึ้นกว่าไม่มีการเติม โดยไม่พบปริมาณ น้ำมันดิบในวันที่ 2 ของการเลี้ยงเชื้อ ส่วนไตรตอนเอ็กซ์-100 และ การเติมแบคทีเรียที่สามารถสร้างสารลดแรง ตึงผิว P. aeruginosa สายพันธุ์ A41 และ B.subtilis สายพันธุ์ BBK1 ไม่พบปริมาณน้ำมันดิบในวันที่ 3 ของการเลี้ยงเชื้อ เปรียบเทียบกับการย่อยสลายทางกายภาพเมื่อเติมสารลดแรงตึงผิวในวันที่ 4 ถูกย่อยสลายไปเหลือ 53.39-61.09 % เมื่อเติมสารลดแรงตึงผิวที่ความเข้มข้นเท่ากับหรือน้อยกว่าค่า CMC (และที่ความเข้มข้นเท่า กัน 0.01 %) การเจริญและการย่อยสลายน้ำมันดิบจะเกิดขึ้นได้ แต่ช้ากว่าที่ความเข้มข้นสูงกว่าค่า CMC นอก จากนี้ยงพบว่า ธาตุอาหารในน้ำทะเลและอาหารเลี้ยงเชื้อ มีผลต่อการเจริญและการย่อยสลายน้ำมันดิบของ แบคทีเรียสายพันธุ์นี้ด้วย-
dc.description.abstractalternativeA study was conducted to persue the effects of two biosurfactants (rhamnolipid produced by Pseudomonas aemginosa strain A41, and surfactin produced by Bacillus subtilis strain BBK1) and two synthetic surfactants (triton X-100, and oil-spill dispersant Chemtec 307) on Murban light crude- oil biodegradation by microorganisms isolated from petroleum-contaminated sand from Hua-Hin beach, Prachuabkhirikhan province and Pattaya beach, Chonburi province, Gulf of Thailand. It was found that bacterial isolate HU2 from Hua-Hin beach sand had the highest activity of crude-oil degradation. On the taxonomic indentification by 16S rDNA sequence analysis, isolate HU2 has 99.3% homology with the bacterium in the genus Brevundimonas and was therefore designated as Brevundimonas sp. strain HU2. Morphological and biochemical studies revealed a thin- bended and short rod-shaped organism, Gram negative, non-motility, 10% halotolerance, and non-biosurfactant - producer. This strain is able to utilize long straight chain n-alkane and various petroleum products, but failed to degrade polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) and surfactants. Investigation of crude-oil biodegradation by the present strain was performed in BH broth supplemented with 1 % crude-oil and both sterile seawater and marine sand, pH 7.5 at 200 rpm agitation, 30°c, while bacterial growth was determined by viable plate count and residual oil were analysed by FTIR and GC-FID. After 8 days of biodegradation, the starting oil content was decreased down to 10.41 %, while that of abiotic degradation was found to be 77.83 %. Enhancement of biodegradation by the addition of 4 surfactants at a concentration equivalent to activity of oil displacement 78.6 cm2 and above their respective CMCs, rhamnolipid, surfactin, and Chemtec 307 enhanced the bacterial populations and completely oil degraded within 2 days, triton X -100 on the other hand achieved in 3 days. Augmentation of biosurfactant-producers (P.aemginosa strain A41 and B.subtiiis strain BBK1) also took 3 days to achieved the same result. As of abiotic control with surfactants addition after 4 days a 53.39-61.39 % of oil still. In addition, if surfactants were added at a concentration equal to or below the CMC (and at 0.01% concentration), an even slower rate of degradation was observed. It is also observed the present of nutrients in seawater and cultivation medium gave positive effects toward crude-oil biodegradation.-
dc.format.extent7845148 bytes-
dc.format.extent2816461 bytes-
dc.format.extent27714803 bytes-
dc.format.extent18078893 bytes-
dc.format.extent24476632 bytes-
dc.format.extent5531239 bytes-
dc.format.extent9866505 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleผลของสารลดแรงตึงผิวต่อการย่อยสลายน้ำมันดิบโดยจุลินทรีย์ที่แยกได้จากทรายทะเลที่ปนเปื้อนคราบน้ำมันen
dc.title.alternativeEffects of surfactants on crude-oil degradation by microorganisms isolated from petroleum-contaminated marine sanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineจุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nopbhadol_sa_front.pdf7.66 MBAdobe PDFView/Open
Nopbhadol_sa_ch1.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open
Nopbhadol_sa_ch2.pdf27.07 MBAdobe PDFView/Open
Nopbhadol_sa_ch3.pdf17.66 MBAdobe PDFView/Open
Nopbhadol_sa_ch4.pdf23.9 MBAdobe PDFView/Open
Nopbhadol_sa_ch5.pdf5.4 MBAdobe PDFView/Open
Nopbhadol_sa_back.pdf9.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.