Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24714
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorแม้นมาส ชวลิต-
dc.contributor.authorนิโลบล เหมินทคุณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-20T08:06:35Z-
dc.date.available2012-11-20T08:06:35Z-
dc.date.issued2520-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24714-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์ศึกษาเรื่องหลักการ และวิธีการเกี่ยวกับหนังสือตัวเขียน คือ การจัดหา การประเมินคุณค่า การจัดเรียง การจัดเก็บ การจัดทำเครื่องมือช่วยการค้นคว้า การเก็บรักษาและซ่อมแซม รวมทั้งการให้บริการ จากการศึกษาพบว่าเครื่องมือช่วยการค้นคว้าที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ บัตรรายการ ซึ่งแจ้งให้ทราบถึงแหล่งความรู้ของห้องสมุด หนังสือตัวเขียน การทำบัตรรายการหนังสือตัวเขียนต้องใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างจากหลักเกณฑ์สำหรับหนังสือตัวพิมพ์ จากการศึกษาหลักเกณฑ์การลงรายการในบัตรรายการหนังสือตัวเขียนภาษาตะวันออกที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศไทยของห้องสมุดสี่แห่งในทวีปยุโรปแล้ว สรุปได้ว่า 1. การลงรายการหลัก นิยมใช้ชื่อเรื่องมากกว่าชื่อผู้แต่ง เพราะหนังสือตัวเขียนส่วนใหญ่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในกรณีที่ไม่ปรากฏชื่อเรื่อง ผู้ทำบัตรรายการตั้งชื่อเรื่องโดยพิจารณาจากเนื้อเรื่องของหนังสือตัวเขียน 2. รายการบรรณลักษณ์ ลงรายละเอียดต่าง ๆ คือระบุขนาดรูปเล่ม วัสดุที่ใช้รอบรับตัวอักษร วัสดุที่ใช้เขียน ความยาวของแต่ละบรรทัดที่มีอักษร ลักษณะอุปกรณ์ที่ใช้ควบคู่กับหนังสือตัวเขียน เช่นไม้ประกับคัมภีร์ ผ้าห่อคัมภีร์ เป็นต้น รายละเอียดเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็น เพราะหนังสือตัวเขียนแต่ละเล่มมีลักษณะเฉพาะเล่ม นอกจากนี้แล้วยังมีลักษณะเฉพาะอื่น ๆ ที่ผู้ทำบัตรรายการต้องสนใจและบันทึกไว้เพื่อแยกให้เห็นว่าหนังสือตัวเขียนแต่ละเล่มมีข้อแตกต่างจากเล่มอื่น ๆ เช่นลักษณะลายมือเขียน สภาพของหนังสือตัวเขียน เป็นต้น 3. สาระสำคัญของหนังสือตัวเขียนแต่ละเล่มเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะช่วยให้ผู้ค้นคว้าคัดเลือกและตัดสินใจว่าจะศึกษาหนังสือตัวเขียนฉบับใดก่อน หอสมุดแห่งชาติไทย มีหนังสือตัวเขียนที่มีอายุก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เอกสารเหล่านี้คือ หนังสือใบลาย สมุดไทยทำจากเปลือกต้นข่อย และกระดาษสาส่วนใหญ่ผลิตขึ้นในสมัยก่อนกำเนิดการพิมพ์ในประเทศไทย หอสมุดแห่งชาติไทยมีหนังสือตัวเขียนจำนวนมาก คือ คัมภีร์พุทธศาสนาซึ่งจารบนใบลาน ประมาณ 25,000 คัมภีร์ สมุดข่อย 142,206 ฉบับ และกระดาษสาอีกแปดหมื่นกว่าชิ้น หอสมุดฯ ได้ดำเนินงานเทคนิคต่าง ๆ เกี่ยวกับหนังสือตัวเขียน แต่ยังไม่ครบถ้วนตามหลักการ เพราะมีอุปสรรคเรื่องอัตรากำลังคน ซึ่งไม่ได้อัตราส่วนกับปริมาณเอกสารที่ต้องรับผิดชอบ ปัญหาอีกข้อหนึ่งคือหนังสือตัวเขียนบางส่วนไม่ได้จัดเก็บในสถานที่ที่มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นอย่างถูกวิธี สำหรับบุคลากรของหอสมุดแห่งชาติที่ปฏิบัติงานเทคนิคเกี่ยวกับหนังสือตัวเขียน จำเป็นต้องมีความรู้ทางอักษรและภาษาตะวันออกโบราณ ภาษาไทยโบราณ และความรู้ทางพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์และวิชาการหลายแขนง โครงการที่หอสมุดแห่งชาติกำลังดำเนินการอยู่ คือการจัดตั้งห้องปฏิบัติงานซ่อมแซมและอนุรักษ์หนังสือตัวเขียน ตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ วิทยานิพนธ์นี้ได้เสนอแนะเรื่องต่อไปนี้คือ 1. จัดทำดรรชนีค้นเรื่องสำหรับหนังสือตัวเขียนบางหมู่ที่มีผู้ค้นคว้านิยมใช้กันมาก เช่น หมู่จดหมายเหตุ 2. ปรับปรุงการลงรายการบางรายการในบัตรรายการหนังสือตัวเขียนใบลาน โดยอาศัยแนวจาก Catalogue dès Manuscrits en Pāli, Laotien et Siamois provenant de la Thailande ซึ่งจัดทำโดยศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ และหอสมุดแห่งชาติเดนมาร์คได้พิมพ์เผยแพร่ 3. จัดพิมพ์เผยแพร่บัตรรายการหนังสือตัวเขียนบางหมู่ที่ได้จัดทำไว้เรียบร้อยแล้ว 4. วางแผนจัดทำสหบัตรหนังสือตัวเขียน โดยร่วมมือกับสถาบันอื่นที่มีหนังสือตัวเขียนอยู่ในครอบครองจำนวนมาก เช่น มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ ศูนย์วรรณคดีอีสาน วัดมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม เพื่อจะได้ทราบแหล่งสะสมหนังสือตัวเขียนในประเทศไทย-
dc.description.abstractalternativeวิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์ศึกษาเรื่องหลักการ และวิธีการเกี่ยวกับหนังสือตัวเขียน คือ การจัดหา การประเมินคุณค่า การจัดเรียง การจัดเก็บ การจัดทำเครื่องมือช่วยการค้นคว้า การเก็บรักษาและซ่อมแซม รวมทั้งการให้บริการ จากการศึกษาพบว่าเครื่องมือช่วยการค้นคว้าที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ บัตรรายการ ซึ่งแจ้งให้ทราบถึงแหล่งความรู้ของห้องสมุด หนังสือตัวเขียน การทำบัตรรายการหนังสือตัวเขียนต้องใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างจากหลักเกณฑ์สำหรับหนังสือตัวพิมพ์ จากการศึกษาหลักเกณฑ์การลงรายการในบัตรรายการหนังสือตัวเขียนภาษาตะวันออกที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศไทยของห้องสมุดสี่แห่งในทวีปยุโรปแล้ว สรุปได้ว่า 1. การลงรายการหลัก นิยมใช้ชื่อเรื่องมากกว่าชื่อผู้แต่ง เพราะหนังสือตัวเขียนส่วนใหญ่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในกรณีที่ไม่ปรากฏชื่อเรื่อง ผู้ทำบัตรรายการตั้งชื่อเรื่องโดยพิจารณาจากเนื้อเรื่องของหนังสือตัวเขียน 2. รายการบรรณลักษณ์ ลงรายละเอียดต่าง ๆ คือระบุขนาดรูปเล่ม วัสดุที่ใช้รอบรับตัวอักษร วัสดุที่ใช้เขียน ความยาวของแต่ละบรรทัดที่มีอักษร ลักษณะอุปกรณ์ที่ใช้ควบคู่กับหนังสือตัวเขียน เช่นไม้ประกับคัมภีร์ ผ้าห่อคัมภีร์ เป็นต้น รายละเอียดเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็น เพราะหนังสือตัวเขียนแต่ละเล่มมีลักษณะเฉพาะเล่ม นอกจากนี้แล้วยังมีลักษณะเฉพาะอื่น ๆ ที่ผู้ทำบัตรรายการต้องสนใจและบันทึกไว้เพื่อแยกให้เห็นว่าหนังสือตัวเขียนแต่ละเล่มมีข้อแตกต่างจากเล่มอื่น ๆ เช่นลักษณะลายมือเขียน สภาพของหนังสือตัวเขียน เป็นต้น 3. สาระสำคัญของหนังสือตัวเขียนแต่ละเล่มเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะช่วยให้ผู้ค้นคว้าคัดเลือกและตัดสินใจว่าจะศึกษาหนังสือตัวเขียนฉบับใดก่อน หอสมุดแห่งชาติไทย มีหนังสือตัวเขียนที่มีอายุก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เอกสารเหล่านี้คือ หนังสือใบลาย สมุดไทยทำจากเปลือกต้นข่อย และกระดาษสาส่วนใหญ่ผลิตขึ้นในสมัยก่อนกำเนิดการพิมพ์ในประเทศไทย หอสมุดแห่งชาติไทยมีหนังสือตัวเขียนจำนวนมาก คือ คัมภีร์พุทธศาสนาซึ่งจารบนใบลาน ประมาณ 25,000 คัมภีร์ สมุดข่อย 142,206 ฉบับ และกระดาษสาอีกแปดหมื่นกว่าชิ้น หอสมุดฯ ได้ดำเนินงานเทคนิคต่าง ๆ เกี่ยวกับหนังสือตัวเขียน แต่ยังไม่ครบถ้วนตามหลักการ เพราะมีอุปสรรคเรื่องอัตรากำลังคน ซึ่งไม่ได้อัตราส่วนกับปริมาณเอกสารที่ต้องรับผิดชอบ ปัญหาอีกข้อหนึ่งคือหนังสือตัวเขียนบางส่วนไม่ได้จัดเก็บในสถานที่ที่มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นอย่างถูกวิธี สำหรับบุคลากรของหอสมุดแห่งชาติที่ปฏิบัติงานเทคนิคเกี่ยวกับหนังสือตัวเขียน จำเป็นต้องมีความรู้ทางอักษรและภาษาตะวันออกโบราณ ภาษาไทยโบราณ และความรู้ทางพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์และวิชาการหลายแขนง โครงการที่หอสมุดแห่งชาติกำลังดำเนินการอยู่ คือการจัดตั้งห้องปฏิบัติงานซ่อมแซมและอนุรักษ์หนังสือตัวเขียน ตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ วิทยานิพนธ์นี้ได้เสนอแนะเรื่องต่อไปนี้คือ 1. จัดทำดรรชนีค้นเรื่องสำหรับหนังสือตัวเขียนบางหมู่ที่มีผู้ค้นคว้านิยมใช้กันมาก เช่น หมู่จดหมายเหตุ 2. ปรับปรุงการลงรายการบางรายการในบัตรรายการหนังสือตัวเขียนใบลาน โดยอาศัยแนวจาก Catalogue dès Manuscrits en Pāli, Laotien et Siamois provenant de la Thailande ซึ่งจัดทำโดยศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ และหอสมุดแห่งชาติเดนมาร์คได้พิมพ์เผยแพร่ 3. จัดพิมพ์เผยแพร่บัตรรายการหนังสือตัวเขียนบางหมู่ที่ได้จัดทำไว้เรียบร้อยแล้ว 4. วางแผนจัดทำสหบัตรหนังสือตัวเขียน โดยร่วมมือกับสถาบันอื่นที่มีหนังสือตัวเขียนอยู่ในครอบครองจำนวนมาก เช่น มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ ศูนย์วรรณคดีอีสาน วัดมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม เพื่อจะได้ทราบแหล่งสะสมหนังสือตัวเขียนในประเทศไทย-
dc.format.extent519369 bytes-
dc.format.extent325179 bytes-
dc.format.extent1847781 bytes-
dc.format.extent936577 bytes-
dc.format.extent1647636 bytes-
dc.format.extent2242319 bytes-
dc.format.extent352352 bytes-
dc.format.extent1081167 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการบริหารงานและการดำเนินงานเทคนิคหนังสือตัวเขียนในหอสมุดแห่งชาติไทยen
dc.title.alternativeOrganization of manuscripts deposited at The National Library of Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบรรณารักษศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nilobon_He_front.pdf507.2 kBAdobe PDFView/Open
Nilobon_He_ch1.pdf317.56 kBAdobe PDFView/Open
Nilobon_He_ch2.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
Nilobon_He_ch3.pdf914.63 kBAdobe PDFView/Open
Nilobon_He_ch4.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Nilobon_He_ch5.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open
Nilobon_He_ch6.pdf344.09 kBAdobe PDFView/Open
Nilobon_He_back.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.