Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24724
Title: ปัญหากฎหมายของสัญญาทรัสต์รีซีทภายใต้กฎหมายไทย
Other Titles: Legal problems concerning trust receipt agreement under thai laws
Authors: นลินี เกียรติชัยพิพัฒน์
Advisors: ชยันติ ไกรกาญจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตามกฎหมายสหรัฐอเมริกาและอังกฤษนั้น การทำทรัสต์รีซีทถือว่าเป็นการนำสินค้าเป็นหลักประกันการชำระเงินแก่ธนาคาร แต่สำหรับสัญญาทรัสต์รีซีทของไทยนั้น เนื่องจากกฎหมายเกี่ยวกับ การนำทรัพย์มาเป็นหลักประกันของไทยมีข้อจำกัดที่ทำให้สินค้าที่ซื้อขายไม่สามารถใช้เป็นหลักประกัน ตามกฎหมายหลักประกันได้ สัญญาทรัสต์รีซีทที่ใช้อยู่ในประเทศไทยจึงได้กำหนดให้กรรมสิทธิ์ในสินค้า เป็นของธนาคาร ซึ่งศาลไทยก็มีคำวินิจฉัยให้เป็นไปตามข้อสัญญานี้ นอกจากนั้น สัญญาทรัสต์รีซีทก็มีข้อ สัญญาอื่นๆ ที่มีประเด็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่ชัดเจนในเรื่องสิทธิ หน้าที่ และความรับผิด ระหว่างธนาคาร ลูกค้า และบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ทำการศึกษาถึงปัญหาข้อกฎหมายของสัญญาทรัสต์รีซีทภายใต้กฎหมายไทย และผลทางกฎหมายของสัญญาทรัสต์รีซีทที่เกิดขึ้นว่า สัญญาทรัสต์รีซีทที่มีผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้แก่ธนาคารนั้น จะกระทบต่อสิทธิของธนาคารหรือไม่ เพียงใด จากการศึกษาพบว่า 1. การที่ธนาคารมอบเอกสารการรับสินค้าให้แก่ลูกค้าเพื่อนำไปรับสินค้าจากผู้ขนส่งและ นำสินค้านั้นไปขาย หรือนำไปใช้ หรือนำไปผ่านกระบวนการผลิตเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไปนั้น การ กระทำของลูกค้าดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการกระทำในฐานะที่เป็นตัวแทนของธนาคาร 2. หากลูกค้านำสินค้าไปจำนำกับบุคคลภายนอก การจำนำมีผลผูกพันธนาคาร เนื่องจาก ธนาคารได้ยินยอมให้ลูกค้าครอบครองสินค้าโดยให้ลูกค้าแสดงออกเสมือนสินค้านั้นเป็นของลูกค้าเอง ธนาคารจะเอาสินค้าคืนจากผู้รับจำนำโดยไม่ไถ่ถอนไม่ได้ 3. กรณีที่ลูกค้าตกเป็นบุคคลล้มละลาย สินค้าตามทรัสต์รีซีทจะถือเป็นทรัพย์สินในคดี ล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนีรายอื่นได้ 4. ในกรณีที่สินค้าเป็นเครื่องจักร ที่ธนาคารตกลงให้ลูกค้าจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ.2514 ถือว่าธนาคารได้มอบกรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรกลับไป ให้แก่ลูกค้า และลูกค้าจะมีสิทธิจดทะเบียนจำนองต่อไป
Other Abstract: According to American and British laws, trust receipt is deemed a security with goods for repayment to a bank. Trust Receipt under Thai law is different. Thai law on security has some restrictions with respect to the use of goods as collateral by virtue of the law on security. Trust receipt agreement, therefore, specifies that the debtor transfers ownership in goods to the bank. This agreement is upheld by the Thai courts in several cases. Besides, a trust receipt agreement contains other covenants which raise some legal issues regarding rights, duties and responsibilities among the bank, customer and other related persons. This thesis studies the legal problems arising from the trust receipt agreement as used in Thailand and its legal consequences whether and how the trust receipt agreement, which transfers ownership in goods to the bank, affects the rights and duties of the bank. The study reveals as follows. 1. In case the bank delivers Bill of Lading to the customer to obtain goods from the carrier so as to sell, use or make finished products, such the customer by doing so is not deemed the bank’s agent. 2. If the customer pledges the goods with another person, such pledge legally binds the bank because the bank permits the customer to possess the goods in the manner as they belong to the customer and accordingly the bank can not take the goods back from the pledgee without redemption. 3. If the customer becomes insolvent, the goods specified in the Trust Receipt agreement is considered assets in bankruptcy case which is to be shared among creditors under the Bankruptcy Law. 4. In case that the goods is machinery to be subsequently mortgaged with the bank and the bank allows the customer to register the ownership of the machinery pursuant to the Machinery Registration Act, the ownership is deemed to be transferred back to the customer and the customer is entitled to mortgage it after the registration.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24724
ISBN: 9741765258
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nalinee_ki_front.pdf3.16 MBAdobe PDFView/Open
Nalinee_ki_ch1.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Nalinee_ki_ch2.pdf10.46 MBAdobe PDFView/Open
Nalinee_ki_ch3.pdf13.6 MBAdobe PDFView/Open
Nalinee_ki_ch4.pdf40.77 MBAdobe PDFView/Open
Nalinee_ki_ch5.pdf7.05 MBAdobe PDFView/Open
Nalinee_ki_back.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.