Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24750
Title: | การเร่งให้เกิดการย่อยตัวเองของยีสต์ขนมปัง |
Other Titles: | Acceleration of autolysis of baker's yeast |
Authors: | วรรณกร เลื่องชัยเชวง |
Advisors: | สุรพงศ์ นวังคสัตถุศาสน์ ไพเราะ ปิ่นพานิชการ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาหาภาวะที่เหมาะสมในการเร่งการย่อยตัวเองของยีสต์ขนมปัง (Saccharomyces cerevisiae) โดยภาวะที่เหมาะสมสำหรับการย่อยตัวเองของยีสต์ขนมปัง คือบ่มที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส ความเป็นกรดด่างเริ่มต้น 5.0 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งจะได้ออโตไลเสตที่มีความเข้มข้นของโปรตีน 162.80 ± 0.54 มิลลิกรัมต่อกรัมเซลล์ยีสต์แห้ง การศึกษาผลของสารเคมีเพื่อเร่งการย่อยตัวเองของยีสต์ พบว่า การเติมโซเดียมคลอไรด์ 7.5% (W/V) หรือเอทานอล 7.5% (V/V) หรือสองชนิดร่วมกันในระหว่างการย่อย จะได้ออโตไลเสตที่มีความเข้มข้นของโปรตีนเพิ่มขึ้นเป็น 198.89 ± 3.17 257.14 ± 0.86 และ 267.12 ± 2.15 มิลลิกรัมต่อกรัมเซลล์ยีสต์แห้ง ตามลำดับ โดยบ่มที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง สำหรับผลของเอนไซม์ ทำการทดลองโดยเติมเอนไซม์ประมาณ 1,000 ยูนิตต่อกรัมยีสต์แห้ง บ่มที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส พบว่าเมื่อเติมพานเพน (BDH) จะได้ออโตไลเสตที่มีความเข้มข้นของโปรตีน 185.67 ± 1.33 มิลลิกรัมต่อกรัมเซลล์ยีสต์แห้ง ที่ค่าความเป็นกรดด่างเริ่มต้น 6.5 เป็นเวลา 48 ชั่วโมง การเติมนิวเทรส ที่ค่าความเป็นกรดด่าง 6.0 และเฟลเวอร์ไซม์ ที่มีความเป็นกรดด่าง 6.5 จะได้ออโตไลเสตที่มีความเข้มข้นของโปรตีน 137.75 ± 0.24 และ 120.15 ± 2.05 มิลลิกรัมต่อกรัมเซลล์ยีสต์แห้ง นำภาวะที่มีความเข้มข้นออโตไลเสตสูงสุดคือ การเติมโซเดียมคลอไรด์ 7.5% (W/V) ร่วมกับเอทานอล 7.5% (V/V) เพื่อทำการทดลองในขนาด 4.5 ลิตรพบว่า ออโตไลเสตมีความเข้มข้นของโปรตีนใกล้เคียงกับการทดลองระดับขวดเขย่าคือ 261.85 มิลลิกรัมต่อกรัมเซลล์ยีสต์แห้ง เมื่อนำออโตไลเสตมาวิเคราะห์ปริมาณกรดอะมิโน พบว่ามี กรดกลูตามิก และกรดแอสปาร์ติก เป็นส่วนประกอบสำคัญตามลำดับ |
Other Abstract: | This research was studied to determine optimal condition for the autolysis of baker's yeast (Saccharomyces cerevisiae). The optimal condition was 55°C, initial pH 5.0 for 24 hours. Resulting in autolysate containing protein of 162.80 ± 0.54 mg /g dried cells. The addition of either 7.5% (w/v)sodium chloride or 7.5% (v/v) ethanol or the mixture there of to yeast during autolysis under the above conditions except incubation for 48 hours, resulted in the increase of protein content in autolysates of 198.89 ± 3.17, 257.14 ± 0.86 and 267.12 ± 2.15 mg /g dried cells, respectively. Protease enzymes was also added approximately 1,000 units of proteolytic enzymes per g. dried cells to yeast during autolysis at 55°C with incubation for 48 hours. Papain(BDH) at initial pH 6.5, neutrase at pH 6.0 or Flavourzyme at pH 6.5 gave the concentration of protein 185.67 ± 1.33, 137.75 ± 0.24 and 120.15 f 2.05 mg /g dried cells, respectively. The addition of sodium chloride 7.5 %(w/v) in combination with ethanol 7.5 Vo(v/v) during autolysis was the best condition which provided the highest protein concentration. This condition could give the comparable result in the 4.5 L scale up. The major amino acid composition of the protein in autolysatc were characterized. Glutamic acid and aspartic acid were the two major components in the protein, respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีชีวภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24750 |
ISBN: | 9741744633 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wannakorn_lu_front.pdf | 5.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wannakorn_lu_ch1.pdf | 6.56 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wannakorn_lu_ch2.pdf | 2.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wannakorn_lu_ch3.pdf | 13.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wannakorn_lu_ch4.pdf | 2.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wannakorn_lu_ch5.pdf | 905.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wannakorn_lu_back.pdf | 3.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.