Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24814
Title: การศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาเอกศิลปะ หลักสูตร ศิลปบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเพาะช่าง
Other Titles: A study of instruction management of Thai art major at the bachelor of fine arts program in Thai arts (2-years continuing program) the Rajamangala Institute of Technology Pohchang Campus
Authors: นาคนุช หน่อพัฒน์
Advisors: อำไพ ตีรณสาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัดอุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาเอกศิลปะไทย หลักสูตร ศิลปบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2ปี) ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่างใน ด้านผู้เรียน ด้านชุดประสงค์การเรียนการสอน เนื้อหาสาระหรือเนื้อหาวิชา การดำเนิน การเรียนการสอน ด้านการควบคุมคุณภาพการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอน จำนวน 14 คน นักศึกษาที่กำลังศึกษา จำนวน 46 คน นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้ว จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถาม 2 ชุด ชุดที่ 1 สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาเอก ศิลปะไทยและชุดที่ 2สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาศิลปะไทยแบบสัมภาษณ์จำนวน1 ชุด สำหรับผู้สอน และแบบสังเกตการเรียนการ สอนสาขาวิชาเอกศิลปะไทย ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่เช้าศึกษาในสาขาวิชาเอกนี้เพราะมีความสนใจ ซาบซึ้ง และศรัทธาในศิลปะไทย ผู้ สำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่ เมื่อจบการศึกษาแล้ว ไปประกอบอาชีพอิสระ ตรงตามที่ตนศึกษามาและพอใจกับงานที่ทำ สำหรับความคิดเห็นเกี่ยว กับการเรียนการสอนของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในด้านผู้สอนชุดประสงค์การเรียนการสอนและเนื้อหาสาระหรือเนื้อหาวิชาส่วนใหญ่ เป็นสภาพที่ตรงกับความเป็นจริงที่เห็นด้วยมากด้านผู้เรียนการด่าเนินการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนให้ความ คิดเห็นอยู่ระดับปานกลาง ด้านการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพการเรียนการสอนและสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอนอยู่ในระดับเห็น ด้วยน้อย ผลการสัมภาษณ์พบว่าผู้สอนยังขาดคุณวุฒิทางการศึกษาที่เหมาะสมกับระดับชั้นที่ต้องสอนและไม่ได้จบการศึกษาทาง ศิลปะไทยโดยตรงทั้งยังต้องหาความรู้และวิทยาการทางเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น แต่ด้วยประสบการณ์จึงทำให้มี ความเชี่ยวชาญมีวิธีการถ่ายทอดที่หลากหลาย นักศึกษาใส่ใจแทะจดจำการปฏิบัติงานของอาจารย์ทุกขั้นตอน หมั่นฝึกฝนและปฏิบัติงาน ด้านชุด ประสงค์การเรียนการสอนเป็นไปตามที่สถาบันกำหนด นักศึกษาต้องการให้ผู้สอนชี้แจงชุดประสงค์ก่อนเรียนเพื่อให้ได้รับความชัดเจนในการรับรู้ด้านเนื้อหาสาระหรือเนื้อหาวิชามีมากเกินไปทำให้นักศึกษาไม่สามารถรับรู้ได้ทั้งหมดภายในเวลาที่กำหนด ด้านการดำเนินการสอนส่วนใหญ่เป็นการสอนแบบบรรยาย มีการไปทัศนศึกษาคัดลอกแบบงานจากโบราณสถาน มีการใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องฉาย คอมพิวเตอร์น้อยมาก ด้านการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพการสอน มีการตรวจสอบคุณภาพของผู้เรียนก่อนสอน มีมาตรฐาน ISO เช้ามามีบทบาท แต่ยังไม่ได้รับ การยอมรับในหมู่ผู้สอนเท่าที่ควร ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน มีการวัคจากความรับผิดชอบการแสวงหาความรู้ของนักศึกษา วัคจากผลงาน กระบวนการทำงานและความคิดสร้างสรรค์ ด้านสภาพแวดล้อม บรรยากาศในห้องเรียนไม่อำนวยต่อการเรียน อากาศถ่ายเทไม่สะดวก แสงสว่างไม่เพียงพอ ต้องได้รับการปรับปรุงอย่างเร่งด่วน ผลการสังเกตพบว่าผู้สอนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน จุดประสงค์การเรียนการสอนเป็นไปตามที่สถาบันกำหนด เนื้อหาสาระเน้นลักษณะการสืบถอดมรดกความเป็นไทย นักศึกษาปฏิบัติงานตามผู้สอนอย่างเคร่งครัด สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร ผู้สอนให้ความสำคัญในการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนในหลายขั้นตอน ด้านสภาพแวดล้อม บรรยากาศในห้องเรียนไม่อำนวยต่อการเรียน อากาศถ่ายเทไม่สะดวก แสงสว่างไม่เพียงพอ
Other Abstract: The objective of this analysis is to study of instruction management of Thai Art major in Fine Art curriculum at the Bachelor degree level (continuing education 2 years) The Rajamangala Institute of Technology Pohchang campus. Six aspects of instruction management were composed of students, instruction objectives, subject contents, instruction process, the teaching quality controls, and environment. The population were composed of 14 teachers, 46 undergraduate students and 30 graduates. There were 3 sets of instrument: the questionnaire, observation form, and interview. The data were analyzed by means of frequencies, means, and standard diviation. The analysis showed that majority of students have chosen to study in this program dued to their personal interests, and impressions and good faith in Thai Arts. Majority of the graduates were engaging in independent careers in line with the studied subjects and they were satisfy with their work. Most of the undergraduates and the graduates agreed upon instruction management in the aspects of instructors, instruction objectives and content subjects. The aspect of environment was least agreed. It was found for the interview that the instructors were not graduated directly in Thai Art program. There were the needs for further study and innovation. Students obeyed and listened to instructors’ teaching. In the aspect of environment, there was lack of appropriate light and ventilation. It was found for the observation form that content subjects emphasized Thai heritage transmission. The instructors did not accept innovation and newer media.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24814
ISBN: 9741762402
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narknuch_no_front.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open
Narknuch_no_ch1.pdf6.84 MBAdobe PDFView/Open
Narknuch_no_ch2.pdf19.35 MBAdobe PDFView/Open
Narknuch_no_ch3.pdf3.04 MBAdobe PDFView/Open
Narknuch_no_ch4.pdf12.62 MBAdobe PDFView/Open
Narknuch_no_ch5.pdf10.97 MBAdobe PDFView/Open
Narknuch_no_back.pdf11.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.