Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24833
Title: ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ของเยาวชนไทย อายุ 15-24 ปี
Other Titles: Knowledge of AIDS among Thai Youth (Age 15-24)
Authors: วรรณิภา เรืองสัจ
Advisors: วีรสิทธิ์ สิทธิไตรย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ของเยาวชน และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์กับปัจจัยด้านประชากร สังคม เศรษฐกิจ ทัศนคติ และ ประสบการณ์ของเยาวชน ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากสถาบันประขากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโครงการแหล่งรับบริการวางแผนครอบครัวของเยาวชนไทย ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากอนามัยครอบครัว กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข โดยเงินทุนจาก UNFPA มีประชากรตัวอย่างรวม 1,018 ราย ในทั้ง 4 ภาค ซึ่งการวิเคราะห์ถึงความรู้ เกี่ยวกับโรคเอดส์ของเยาวชนไทยนี้ ทำในสองขั้นตอน คือ วิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับอาการ การติดต่อ และการป้องกันโรคเอดส์ แยกจากกัน เพื่อให้เห็นในรายละเอียดก่อน และวิเคราะห์ถึงระดับความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ โดยนำความรู้เกี่ยวกับอาการ การติดต่อ และการป้องกันโรคเอดส์มาสร้างดัชนีเพื่อให้เห็นภาพรวม และนำไปพิจารณาถึงความสัมพันธ์กับตัวแปรด้านประชากร สังคม เศรษฐกิจ ทัศนคติ และประสบการณ์ โดยใช้ X²-test ทดสอบความสัมพันธ์ทางสถิติและ Gamma วัดความสัมพันธ์เชิงเนื้อหา ผลการวิเคราะห์พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับการติดต่อ การป้องกัน และดัชนีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ เกี่ยวกับอาการของโรคเอดส์ และอายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับอาการ การติดต่อ การป้องกัน และดัชนีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ ในขณะที่เขตที่อยู่อาศัย การพูดคุยเกี่ยวกับโรคเอดส์กับเพื่อน สถานภาพของการทำงาน ทัศนคติต่อการที่คนหนุ่มสาวควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีคุมกำเนิด ประสบการณ์ใช้วิธีคุมกำเนิด และประสบการณ์ดูวีดีโอโป๊และอ่านหนังสือโป๊ มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับอาการ การติดต่อ การป้องกัน และดัชนีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า เยาวชนหญิง เยาวชนที่อยู่ในเขตชนบท เยาวชนที่ไม่เคยพูดคุยเกี่ยวกับโรคเอดส์กับเพื่อน เยาวชนที่ทำงานแล้ว เยาวชนที่มีทัศนคติไม่เห็นด้วยต่อการที่คนหนุ่มสาวควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีคุมกำเนิด เยาวชนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ใช้วิธีการคุมกำเนิด และ เยาวชนที่ไม่เคยดูวีดีโอโป๊และอ่านหนังสือโป๊ มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ต่ำกว่าเยาวชนกลุ่มอื่นๆ ฉะนั้นจึงควรให้ความสนใจให้ความรู้แก่เยาวชนที่กลุ่มที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ต่ำกว่าดังกล่าว
Other Abstract: This study of Knowledge of AIDS among Thai Youth aims to examine levels of knowledge of AIDS among Thai youths aged 15-24 years livings in rural and urban areas of Thailand (except Bangkok) in relations to socio­ economic and demographic factors as well as attitudes and experiences of the youth. Data used in this study were drawn from a research study titled "Private Sources of Contraceptives Among Adolescents" supported by Family Health Division, Department of Health, Ministry of Public Health with funding from UNFPA. The Institute of Population Studies, Chulalongkorn University conducted the fieldwork in 1988 and 1,018 cases of Thai youth were interviewed in all 4 regions of Thailand. The analysis in this study consists of two stages : analysizing knowledge of symptoms of AIDS, transmission of HIV and prevention classified by socio-economic and demographic characteristics of youths. Then examining the relationship between index of level of AIDS knowledge (by combining levels of knowledge on symptoms, transmission and prevention together) and those characteristics. The X² -test and Gamma were used to examine contact relationships. Results from the analysis showed that there was relationship between sex and knowledge on transmission and prevention as well as the index of level of knowledge (or knowledge index) but no relationship was found between sex and knowledge on symptoms. Age had no relationship with any of the knowledges or the knowledge index. The following variables : place of residence, whether the respondents had conversation about AIDS with friends, work status, attitudes concerning whether adolescents should have knowledge of the use of methods of family planning, experience of using contraceptives, and experience of viewing X-rated VDO and magazines had relationship with the knowledge on AIDS both individually and as an index. In conclusion, female youth, those living in rural areas, those who had never talked with friends about AIDS, those who were working, those who disagreed with the idea that young people should know about contraceptive methods, those who never had experience using contraceptives and those who never viewed X-rated VDO or magazines were found to Pee youth who had low level of knowledge on AIDS. Therefore, the relatively education campaigns on AIDS should be focused on these groups of the youth.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24833
ISBN: 9745769614
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannipa_ru_front.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open
Wannipa_ru_ch1.pdf4.55 MBAdobe PDFView/Open
Wannipa_ru_ch2.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open
Wannipa_ru_ch3.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open
Wannipa_ru_ch4.pdf16.83 MBAdobe PDFView/Open
Wannipa_ru_ch5.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open
Wannipa_ru_back.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.