Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24837
Title: การสร้างแบบฝึกหัดภาษาไทยเรื่อง "สระเสียงยาว" สำหรับชั้นประถมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Construction of Thai long vowels skill exercises for the lower primary level
Authors: นิภา ชวนะพานิช
Advisors: กิติยวดี บุญซื่อ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยนี้ เพื่อสร้างแบบฝึกหัดทักษะภาษาไทย เกี่ยวกับการใช้สระเสียงยาวในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น นอกจากสร้างขึ้นเอง ผู้วิจัยยังได้ขยายขอบเขตไปถึงการรวบรวมแบบฝึกหัดที่มีอยู่แล้วตามโรงเรียนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน รวมทั้งการจัดลำดับตามความยากง่ายของลักษณะของแบบฝึก โดยเรียงจากง่ายไปหายาก วิธีวิจัย ผู้วิจัยได้ศึกษาหนังสือซึ่งเป็นส่วนประกอบของการสร้างแบบฝึกหัด แล้วนำมาสร้างเป็นแบบฝึกหัดทักษะที่มีแบบฝึกหลาย ๆ ลักษณะประกอบกัน สำหรับใช้กับนักเรียนในระดับประถมต้น แต่ก่อนที่จะนำไปใช้กับเด็ก ผู้วิจัยได้สร้างแบบสำรวจความคิดเห็นขึ้น 1 ชุด เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะนี้ โดยใช้อาจารย์ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา 50 คน และอาจารย์โรงเรียนสาธิตในกรุงเทพมหานคร 50 คน รวม 100 คน หลังจากนั้นได้นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาทำการวิเคราะห์ โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ของแบบฝึกหัด และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นของอาจารย์ในโรงเรียนทั้ง 2 สังกัด โดยทดสอบค่า “z” ผลการวิจัย แบบฝึกหัดทักษะภาษาไทย เรื่อง “สระเสียงยาว” ที่สร้างขึ้นนี้เป็นแบบฝึกหัดที่ใช้ได้ และความคิดเห็นของอาจารย์โรงเรียนทั้ง 2 สังกัด เกี่ยวกับลักษณะของแบบฝึกหัดทักษะไม่แตกต่างกัน คือมีความเห็นว่า ลักษณะของแบบฝึกส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในแบบฝึกหัดใช้ได้ และเหมาะสมกับนักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนต้น
Other Abstract: Statement of the Problem The purpose of this research was to construct the Thai Long Vowels Skill Exercises for the Lower Primary Level. Moreover the study had included the collecting of the exercises that some schools had been constructed and rearranged the exercises according to the easiness of the items. Procedure In collecting the data, the researcher had studied the books that were the component part of constructing the exercises for the Lower Primary Level. Before using exercises with the students, the researcher had constructed the questionnaires [in order] to gather the teacher’s opinion about these exercises in the sense of validity and usability. The samples of this study were 100 teachers from the Demonstration School and Government School. All the data gathered were analysed. The “z” test was used to discern differences between the Government School and Demonstration School. Results The Thai Long Vowels Skill Exercises for the Lower Primary Level are suitable to be used for students. The idea of the teachers from both Government School and Demonstration School are about the same on the quality and validity of the exercises.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24837
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nipha_Ch_front.pdf574.54 kBAdobe PDFView/Open
Nipha_Ch_ch1.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Nipha_Ch_ch2.pdf390.85 kBAdobe PDFView/Open
Nipha_Ch_ch3.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Nipha_Ch_ch4.pdf323.65 kBAdobe PDFView/Open
Nipha_Ch_back.pdf4.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.