Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24843
Title: กิริยาร่วมทางวาจาระหว่างครูกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่สี่ ในการเรียนการสอนภาษาไทย
Other Titles: Verbal interaction between mathayom suksa four teachers and students in learning-teaching Thai language
Authors: นิรมาน วงศ์ธนะชัย
Advisors: สายใจ อินทรัมพรรย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กิริยาร่วมทางวาจาระหว่างครูกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในการเรียนการสอนภาษาไทย และเปรียบเทียบอัตราส่วนของกิริยาร่วมทางวาจาระหว่างครูกับนักเรียน กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยครูจำนวน 20 คน และนักเรียน 20 ห้องเรียน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จำนวน 20 โรงเรียนโดยการสุ่มอย่างง่าย การรวบรวมข้อมูลใช้แบบวิเคราะห์กิริยาร่วมทางวาจาในการเรียนการสอนแบบแฟลนเดอร์ส (Flanders’ Interaction Analysis Technique – FIAT) และเพิ่มเติมกิริยาร่วมทางวาจาประเภทของการพูดของนักเรียน 4 ประเภท การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยการหาค่าร้อยละของกิริยาร่วมทางวาจาแต่ละประเภทที่ปรากฏในการเรียนการสอนเปรียบเทียบอัตราส่วนกิริยาร่วมทางวาจาระหว่างครูกับนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1. กิริยาร่วมทางวาจาที่ปรากฎในการเรียนการสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างครูกับนักเรียน เป็นพฤติกรรมของครูร้อยละ 75.09 และเป็นพฤติกรรมของนักเรียนร้อยละ 16.74 ส่วนการเงียบหรือการสับสนวุ่นวายร้อยละ 8.16 2. กิริยาร่วมทางวาจาที่ปรากฎในการเรียนการสอนมากตามลำดับได้แก่ 2.1 ครูและนักเรียนใช้เวลาพูดร้อยละ 75.09 และ 16.74 ตามลำดับ 2.2 นักเรียนพูดหรือตอบเป็นรายบุคคลและพูดหรือตอบเป็นหมู่พร้อมกันร้อยละ 6.36 และ 5.77 ตามลำดับ 2.3 นักเรียนอ่านเป็นรายบุคคลและอ่านเป็นหมู่ร้อยละ 0.76 และ 2.93 ตามลำดับ 2.4 ครูกระตุ้นและควบคุมพฤติกรรมของนักเรียนร้อยละ 5.87 และ 7.13 ตามลำดับ 2.5 นักเรียนใช้เวลาพูดริเริ่ม และใช้เวลาพูดทั้งหมดร้อยละ 0.92 และ 16.74 ตามลำดับ 2.6 ครูใช้เวลาบรรยาย และใช้เวลาพูดทั้งหมดร้อยละ 49.07 และ 75.09 ตามลำดับ 2.7 ครูใช้อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลทางตรงร้อยละ 18.89 และ 56.20 ตามลำดับ 2.8 ครูใช้เวลาในการถามนักเรียน และบรรยายเนื้อหาวิชาร้อยละ 13.02 และ 49.07 ตามลำดับ 3. อัตราส่วนของกิริยาร่วมทางวาจาระหว่างครูกับนักเรียน มีดังนี้ 3.1 อัตราส่วนระหว่างการใช้เวลาพูดของครูกับการใช้เวลาพูดของนักเรียนเท่ากับ 4.49 3.2 อัตราส่วนระหว่างการให้นักเรียนพูดหรือตอบเป็นรายบุคคลกับการให้นักเรียนพูดหรือตอบเป็นหมู่พร้อมกันเท่ากับ 0.52 3.3 อัตราส่วนระหว่างการให้นักเรียนอ่านเป็นรายบุคคลกับการให้นักเรียนอ่านเป็นหมู่เท่ากับ 0.21 3.4 อัตราส่วนระหว่างการกระตุ้นกับการควบคุมพฤติกรรมของนักเรียนเท่ากับ 0.46 3.5 อัตราส่วนระหว่างการพูดริเริ่มของนักเรียนกับเวลาที่นักเรียนใช้พูดทั้งหมดเท่ากับ 0.05 3.6 อัตราส่วนระหว่างการใช้เวลาบรรยายกับการใช้เวลาพูดทั้งหมดของครูเท่ากับ 0.65 3.7 อัตราส่วนระหว่างการใช้อิทธิพลทางอ้อมกับการใช้อิทธิพลทางตรงของครูเท่ากับ 0.25 3.8 อัตราส่วนระหว่างการใช้คำถามของครูกับการใช้เวลาพูดทั้งหมดของครูเท่ากับ 0.17
Other Abstract: The purposes of this research were to study and analyse the verbal interaction between teachers and Mathayom Suksa Four students in teaching-learning Thai language and to compare the percentage of the verbal interaction between teachers and students. The population samples used in this research consisted of 20 teachers and students in20 classes from government schools. The data were collected by means of Flanders’ Interaction Analysis Technique (FIAT) with four additional verbal interaction of students. This research was computed by means of percentage of each verbal interaction in classroom by comparing the percentage of verbal interaction between teachers and students. The results of this research were : 1. The verbal interaction in teaching-learning Thai language at M.4 between teachers and students were 75.09%, for that of teachers and 16.74% for that of students and 8.16% for that of silence and confusion. 2. The sequence [frequency] of verbal interaction were 2.1 The time the teachers and students spent in speaking were 75.09% and 16.74% 2.2 The time the students spent in reading individually and in groups were 6.36% and 5.77% 2.3 The time the students spent in reading individually and in groups were 0.76% and 2.83% 2.4 The time the teachers spent in motivating and controlling the students’ between were 5.87% and 2.93% 2.5 The time the students spent in initiation and in speaking were 0.92% and 16.74% 2.6 The time the teachers spent in lecturing and speaking were 49.07% and 75.09% 2.7 The time the teachers spent in indirect influence and direct influence were 18.89% and 56.20% 2.8 The time the teachers ask questions and in speaking were 13.02% and 49.07% 3. The ratio of teachers’ and students’ verbal interaction were as follows : 3.1 The ratio of time the teachers and students spent in speaking was 4.49 3.2 The ratio of time the students spent in speaking individually and in groups was 0.52 3.3 The ratio of time the students spent in reading individually and in groups was 0.21 3.4 The ratio of time the teachers spent in motivating and controlling the students’ behavior was 0.45 3.5 The ratio of time the students spent in initiation and in speaking was 0.05 3.6 The ratio of time the teachers spent in lecturing and in speaking was 0.65 3.7 The ratio of time the teachers spent in indirect influence and direct influence was 0.25 3.8 The ratio of time the teachers spent in asking questions and in lecturing was 0.17
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24843
ISBN: 9745632587
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Niramarn_Vo_front.pdf484.41 kBAdobe PDFView/Open
Niramarn_Vo_ch1.pdf548.84 kBAdobe PDFView/Open
Niramarn_Vo_ch2.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Niramarn_Vo_ch3.pdf387.58 kBAdobe PDFView/Open
Niramarn_Vo_ch4.pdf819.3 kBAdobe PDFView/Open
Niramarn_Vo_ch5.pdf706.82 kBAdobe PDFView/Open
Niramarn_Vo_back.pdf755.03 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.