Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24844
Title: อิทธิพลของกระดาษคำตอบที่เป็นสี และวิธีเขียนเครื่องหมายบนกระดาษคำตอบ ต่อคะแนนสอบและค่าความเที่ยงของแบบสอบ
Other Titles: Impact of answer sheets with colors and marking patterns on answer sheet upon test scores and reliability of the test
Authors: นิรมิตร วรวิทยานุสรณ์
Advisors: เยาวดี รางชัยกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาอิทธิพลของกระดาษคำตอบที่เป็นสีและวิธีเขียนเครื่องหมายบนกระดาษคำตอบที่มีผลต่อคะแนนสอบและค่าความเที่ยงของแบบสอบ กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีภูเก็ตและโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จำนวน 660 คน ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสอบของภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์สำหรับวัดความถนัดจำแนกด้านความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย นำคะแนนที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ทาง หาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรคูเดอร์ริชาร์ดสันที่ 20 แล้วเปรียบเทียบค่าความเที่ยงโดยเปลี่ยนเป็นค่าสัมประสิทธิ์ซีของฟิชเชอร์ (Fisher’s Z Coefficient) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. คะแนนสอบที่ได้ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างการใช้กระดาษคำตอบ 3 สี (สีฟ้า สีขาว สีชมพู) วิธีเขียนเครื่องหมายบนกระดาษคำตอบ 4 แบบ (แบบวงกลม () ล้อมรอบอักษรหน้าข้อความที่ถูกต้องที่สุด แบบกากะบาด (X) ทับอักษรหน้าข้อความที่ถูกต้องที่สุด แบบระบายเส้นทึบในช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามแนวนอน () หลังอักษรหน้าข้อความที่ถูกต้องที่สุด และแบบระบายเส้นทึบในช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามแนวตั้ง () ใต้อักษรหน้าข้อความที่ถูกต้องที่สุด นอกจากนี้ยังไม่มีปฏิกริยาสัมพันธ์ระหว่างการใช้กระดาษคำตอบ 3 สี และวิธีเขียนเครื่องหมายบนกระดาษคำตอบ 4 แบบ อย่างไรก็ตาม พบว่าการใช้กระดาษคำตอบสีชมพูและวิธีระบายเส้นทึบในช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามแนวนอน () หลังอักษรหน้าข้อความที่ถูกต้องที่สุดจะให้ค่าเฉลี่ยต่ำสุดเป็น 18.8585 ในขณะที่การใช้กระดาษคำตอบสีขาวและวิธีระบายเส้นทึบในช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามแนวนอน () หลังอักษรหน้าข้อความที่ถูกต้องที่สุดจะให้ค่าเฉลี่ยสูงสุดเป็น 21.40000 2. ค่าความเที่ยงที่ได้จากการใช้กระดาษคำตอบสีฟ้า สีชมพู และสีขาว มีค่าเป็น .656 .724 และ .729 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงเหล่านี้ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ค่าความเที่ยงที่ได้จากการใช้วิธีเขียนเครื่องหมายบนกระดาษคำตอบแบบกากะบาด (X) ทับอักษรหน้าข้อความที่ถูกต้องที่สุด แบบระบายเส้นทึบในช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามแนวตั้ง () ใต้อักษรหน้าข้อความที่ถูกต้องที่สุด แบบวงกลม () ล้อมรอบอักษรหน้าข้อความที่ถูกต้องที่สุด และแบบระบายเส้นทึบในช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามแนวนอน () หลังอักษรหน้าข้อความที่ถูกต้องที่สุด มีค่าเป็น .649 .664 .736 และ .751 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงเหล่านี้ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to investigate the impact of answer sheets with colors and marking patterns on answer sheet upon test scores and reliability of the test. The sample used in this research consisted of 660 Mathayomsuksa three students at Satri-Phuket School and Phuket-Wittayalai School. The Thai Language Reading Comprehension Aptitude Test available from the Educational Research [Department], Faculty of Education, was administered to the sample. The obtained data were computed and analyzed by two way analysis of variance. The reliability of the test was computed by the Kuder-Richardson Formula 20. The Fisher’s Z transformation was employed in comparing the reliability of the test by using answer sheet with different colors and marking patterns. The results of the study were : 1. The obtained scores were not significantly different at the .05 level among the three colors of answer sheets (blue, white and pink), and the four types of making patterns on answer sheet (circle the correct answer, cross the correct answer, tint solid lines in the horizontal rectangle () of the correct answer, and tint the solid lines in the vertical rectangle () of the correct answer). The interaction between the three colors of answer sheet and the four marking patterns on answer sheet was also not significant at the .05 level. However, using pink answer sheets and tinting solid lines in the horizontal rectangle () yielded the lowest mean score (18.8585), while using white answer sheets and tinting solid lines in the horizontal rectangle () yielded the highest mean score (21.4000) 2. The reliability coefficients obtained by blue, pink and white answer sheets were .656, .724, and .729, respectively. However, these reliability coefficients were not significantly different at the .05 level. 3. The reliability coefficients obtained by crossing the correct answer, tinting solid lines in the vertical rectangle () of the correct answer, circling the correct answer, and tinting solid lines in the horizontal rectangle () of the correct answer were .649, .664, .736 and .751, respectively. Unfortunately, these reliability coefficients were not significantly different at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรร์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24844
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Niramit_Wo_front.pdf487.5 kBAdobe PDFView/Open
Niramit_Wo_ch1.pdf708.24 kBAdobe PDFView/Open
Niramit_Wo_ch2.pdf917.4 kBAdobe PDFView/Open
Niramit_Wo_ch3.pdf405.54 kBAdobe PDFView/Open
Niramit_Wo_ch4.pdf476.02 kBAdobe PDFView/Open
Niramit_Wo_ch5.pdf435.45 kBAdobe PDFView/Open
Niramit_Wo_back.pdf822.81 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.