Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24854
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วาสนา โกวิทยา | |
dc.contributor.author | นิรมล สถิตย์ทอง | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-21T04:13:10Z | |
dc.date.available | 2012-11-21T04:13:10Z | |
dc.date.issued | 2516 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24854 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2516 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างแบบทดสอบโคลซกับแบบทดสอบเลือกตอบในการวัดความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อศึกษาว่าแบบทดสอบโคลซสามารถนำมาใช้วัดความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและใช้แทนแบบทดสอบเลือกตอบได้หรือไม่ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยสร้างแบบทดสอบวัดความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษ 2 ชุด คือแบบทดสอบโคลซซึ่งประกอบด้วยข้อความภาษาอังกฤษ 3 ตอน ความยาวตอนละประมาณ 300-350 คำ ตัดคำทุกคำที่ 8 ออกจากข้อความ และแบบทดสอบเลือกตอบซึ่งสร้างจากข้อความภาษาอังกฤษชุดเดียวกับในแบบทดสอบโคลซ แต่ละตอนประกอบด้วยคำถาม 20 ข้อ นำแบบทดสอบโคลซไปทดสอบนักเรียนกลุ่มตัวอย่างชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสิงหราชพิทยาคม จำนวน 70 คน และโรงเรียน อินทรศึกษา จำนวน 60 คน ใช้เวลาในการทดสอบ 1 ชั่วโมง 30 นาที หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ นำแบบทดสอบเลือกตอบไปทดสอบนักเรียนกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดิม ใช้เวลาในการทดสอบเท่ากับที่ทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบโคลซ นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบทั้งสองครั้งมาหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แล้วประมาณค่าคะแนนจากแบบทดสอบเมื่อเทียบกับคะแนนสมมุติจากแบบทดสอบเลือกตอบในระดับต่าง ๆ โดยการเขียนสมการถดถอย และเปรียบเทียบความสามารถในการทำแบบทดสอบเลือกตอบระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิง และความสามารถในการทำแบบทดสอบโคลซระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิง โดยการทดสอบค่า t ผลของการวิจัย 1. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ได้จากการทดสอบด้วยแบบทดสอบโคลซกับคะแนนที่ได้จากการทดสอบด้วยแบบทดสอบเลือกตอบเท่ากับ .57 มีนัยสำคัญที่ระดับ .01 แสดงว่าแบบทดสอบโคลซสามารถใช้วัดความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษได้มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการวัดด้วยแบบทดสอบเลือกตอบ 2. ความสามารถในการทำแบบทดสอบเลือกตอบระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงไม่แตกต่างกัน และความสามารถในการทำแบบทดสอบโคลซระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงก็ไม่แตกต่างกันด้วย 3. ถ้านักเรียนได้คะแนนความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษจากแบบทดสอบโคลซประมาณร้อยละ 27 ร้อยละ 41 และร้อยละ 55 อาจประมาณได้ว่า คะแนนของนักเรียนเทียบได้กับคะแนนที่นักเรียนจะได้จากแบบทดสอบ เลือกตอบประมาณร้อยละ 50 ร้อยละ 70 และร้อยละ 90 ตามลำดับ ข้อเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ในการทำแบบทดสอบโคลซไปใช้ในการวัดความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยให้มีประสิทธิภาพ ควรจะมีการทดลองนำแบบทดสอบโคลซที่มีการตัดคำและการให้คะแนนด้วยวิธีที่ต่างไปจากที่ใช้ในการวิจัยนี้ไปทดสอบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยในระดับต่าง ๆ กัน เพื่อพิจารณาวิธีสร้างและวิธีให้คะแนนแบบทดสอบโคลซที่เหมาะสมที่สุด และครูภาษาอังกฤษควรนำวิธีการโคลซไปสร้างแบบฝึกหัดเพื่อฝึกความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยระดับมัธยมศึกษาตอนปลายด้วย | |
dc.description.abstractalternative | Purpose The purpose of this study was to examine the correlation between a cloze test and a multiple-choice reading comprehension test in order to determine if a cloze test can be used to measure upper secondary school Thai students’ English reading comprehension and to substitute a multiple-choice test. Procedure Two English reading comprehension tests were used in this study. A cloze test was constructed by deleting every 8th word from each of the three passages which was about 300-350 words in length. A multiple-choice comprehension test was also constructed from the same passages and each of them contained 20 questions. The cloze test was first administered to 70 Matayom Suksa 5 arts and science students in Singharatpidhayakom School, and 60 Matayom Suksa 5 arts and science students in Indharasuksa School. The subjects were allowed an hour and a half to complete the test. One week after the cloze test was [administered;] the same subjects took the multiple-choice test in the same amount of time. A Pearson correlation was then computed between the cloze test results and the corresponding multiple-choice comprehension test results, and, by using a regression equation, the cloze percentage scores which were predictive of specified multiple-choice percentage scores were calculated. A t-test was used afterwards to determine the significant differences in the ability to complete a cloze test and a multiple-choice test between boys and girls. Findings and Conclusions 1. The average coefficient correlation between the cloze test results and the multiple-choice test results was .57 at the .01 level of significance. It indicated that a cloze test could be used, as efficiently as a multiple-choice test, to measure upper secondary school Thai students’ English reading comprehension. 2. There were no statistically significant differences in the ability to complete a cloze test and a multiple-choice test between boys and girls. 3. The equivalent sets of scores obtained in this study revealed that a person who got a score of 27 per cent on a cloze test most probably got a score of 50 per cent on a multiple-choice test; a cloze score of 41 per cent was most probably comparable to a multiple-choice score of 70 percent; and, similarly, a cloze score of 55 per cent was most probably comparable to a multiple-choice score of 90 per cent. Recommendations In order to obtain an effective measurement and the most suitable ways of cloze test construction and scoring, a cloze test of varied deletion and scoring should be tried on Thai students of various levels. Moreover, the cloze procedure should be employed by teachers of English to construct the reading comprehension exercises for upper secondary school students. | |
dc.format.extent | 518890 bytes | |
dc.format.extent | 572857 bytes | |
dc.format.extent | 890554 bytes | |
dc.format.extent | 650248 bytes | |
dc.format.extent | 539839 bytes | |
dc.format.extent | 374185 bytes | |
dc.format.extent | 1578958 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน | |
dc.subject | ความเข้าใจในการอ่าน -- การทดสอบ | |
dc.subject | แบบทดสอบ | |
dc.subject | English language -- Study and teaching | |
dc.subject | Reading comprehension -- Testing | |
dc.subject | Cloze procedure | |
dc.title | การเปรียบเทียบแบบทดสอบโคลซและแบบทดสอบเลือกตอบ ในการวัดความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษ | en |
dc.title.alternative | A comparison of cloze and multiple-choice tests in English reading comprehension | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | มัธยมศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Niramon_Sa_front.pdf | 506.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Niramon_Sa_ch1.pdf | 559.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Niramon_Sa_ch2.pdf | 869.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Niramon_Sa_ch3.pdf | 635.01 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Niramon_Sa_ch4.pdf | 527.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Niramon_Sa_ch5.pdf | 365.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Niramon_Sa_back.pdf | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.