Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24888
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบเสียงและระบบเสียงในภาษาลาวพวน มาบปลาเค้า ของผู้พูดภาษาที่มีอายุต่างกัน |
Other Titles: | A comparative study of some phonetic and phonological aspects in the speech of Maapplakhao Laophuan speakers of different age groups |
Authors: | รัชนี เสนีย์ศรีสันต์ |
Advisors: | ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาเกี่ยวกับเสียงและระบบเสียงของภาษาลาวพวนซึ่งพูดที่บ้านมาบปลาเค้า (หมู่ 1, 2, 3, 4) ตำบลมาบปลาเค้า อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี โดยเน้นเรื่องความแตกต่างของเสียงวรรณยุกต์ พยัญชนะ สระ ในการพูดภาษาลาวพวนของผู้พูดต่างอายุกัน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ได้แบ่งประชากรออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่ 1 อายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มที่ 2 อายุ 45 – 59 ปี กลุ่มที่ 3 อายุ 30 -44 ปี กลุ่มที่ 4 อายุ 15 -29 ปี ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้จากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาที่คัดเลือกจากผู้พูดภาษา 4 กลุ่มอายุ รวมทั้งสิ้น 31 คน ซึ่งเป็นผู้บอกภาษาเพศหญิง 16 คน เพศชาย 15 คน ผลที่ได้จากการวิจัย คือระบบภาษาลาวพวนที่พูดโดยคนต่างอายุกันมีระบบเสียงเหมือนกัน โดยมีเสียงวรรณยุกต์ 5 หน่วยเสียง หน่วยเสียงพยัญชนะ 20 หน่วยเสียง และหน่วยเสียงสระ 18 หน่วยเสียง แต่มีสัทลักษณะของเสียงบางเสียงต่างกัน ซึ่งเสียงเหล่านี้อยู่ในระยะแปรเปลี่ยนโดยอิทธิพลของภาษารอบข้าง คือ ภาษาไทยเพชรบุรีและภาษาไทยกรุงเทพฯ เมื่อเปรียบเทียบการออกเสียงวรรณยุกต์ พยัญชนะ และสระของผู้พูดภาษาลาวพวน 4 กลุ่มอายุแล้วได้พบว่าเสียงวรรณยุกต์ในกล่อง DS 123 มีแนวโน้มจะเปลี่ยนไปใกล้เคียงกับเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยเพชรบุรี และเสียงวรรณยุกต์ในกล่อง DS 4 มีแนวโน้มจะเปลี่ยนไปใกล้เคียงกับเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยกรุงเทพฯ ทำให้เกิดเสียงวรรณยุกต์ใหม่ในภาษาลาวพวน 3 เสียง นอกจากนี้ยังมีการรวมเสียงวรรณยุกต์ในพยางค์ตายเสียงยาว (DL) กับ พยางค์ตายเสียงสั้น (DS) ในแถว 123 ของผู้พูดภาษากลุ่มอายุ 30 -44 ปี สำหรับเสียงพยัญชนะและสระบางเสียงในภาษาลาวพวนมาบปลาเค้ามีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปเป็นแบบภาษาไทยเช่นเดียวกับเสียงวรรณยุกต์ ความแปรเปลี่ยนนี้เกิดขึ้นกับการออกเสียงพยัญชนะ และสระในคำบางคำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพยัญชนะต้นของคำเหล่านั้นเป็น h-,л-,s-,kw- ส่วนเสียงสระมีความแปรเปลี่ยนระหว่าง [ε : u] กับ[ iau ] และ [ε : u ] กับ [ e:u ]อัตราการแปรเปลี่ยนของเสียงวรรณยุกต์ พยัญชนะ สระ ดังกล่าวข้างต้นแตกต่างกันไปตามกลุ่มอายุของผู้พูดภาษา คือผู้พูดภาษาลาวพวนกลุ่มอายุมากโดยเฉพาะกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปยังคงเสียงภาษาลาวพวนเดิมในอัตราสูง ส่วนผู้พูดภาษาลาวพวนกลุ่มอายุน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม 15 -29 ปี ออกเสียงแบบภาษาไทยมาก |
Other Abstract: | The purpose of this research is to study some phonetic and phonological aspects of Laophuan spoken at Ban Maapplakhao (Muban 1, 2, 3, 4) Tambon Maapplakhao, Amphur Tayang, Petchburi Province.The emphasis is on tonal variations and variant consonants and vowels in the speech of Laophuan speakers of different age groups. To achieve this goal the researcher collected data by interviewing 31 informants, 16 females and 15 males selected as representatives of all Laophuan speakers who had been divided into 4 major groups according to age. Group 1 is above 60 years of age, group 2 ranges from 45-59, group 3 from 30-44 and group 4 from 15-29. The results of this research show that there are no significant phonological differences in the speech of Laophuan speakers of different age groups. The phonological inventory consists of 5 tonemes, 20 consonant phonemes and 18 vowel phonemes. However, there are some phonetic variants caused by the influence of Petchburi Thai and Bangkok Thai. Among all age groups there is a tendency for the Laophuan tone of short checked syllables in DS 123 tonal categories to shift to that of Petchburi Thai and Laophuan tone in DS 4 tonal category to shift to that of Bangkok Thai, resulting in three addidional tone shapes. Among the 30-44 age group the Phuan tone of DS 123 tonal categories has merged with that of DL 123. There is also a tendency among all age groups for some consonants and vowels to be influenced by Thai. Variation in consonants and vowels occurs in some words, especially the initial consonants h-, л-, s-, kw-, and between the dipthongs [ε :u] and [iau] and [ε :u] and [e:u] . The rate of variation in the aforementioned sounds varies according to age group. Older speakers, particularly those above 60 years, use predominantly Laophuan pronunciation while younger ones, particularly those between 15-29 years use predominantly Thai pronunciation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24888 |
ISBN: | 9745621153 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rachanee_Se_front.pdf | 609.5 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachanee_Se_ch1.pdf | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachanee_Se_ch2.pdf | 783.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachanee_Se_ch3.pdf | 571.79 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachanee_Se_ch4.pdf | 2.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachanee_Se_ch5.pdf | 481.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachanee_Se_back.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.