Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24895
Title: ปัญหาการใช้โทรทัศน์วงจรปิดเพื่อการสอนในมหาวิทยาลัยรามคำแหง
Other Titles: Problems in using closed - circuit instructional television at Ramkamhang University
Authors: เนาวรัตน์ แสงโชติไกร
Advisors: ชัยยงค์ พรหมวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความมุ่งหมาย : การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงปัญหาการใช้โทรทัศน์วงจรปิดเพื่อการสอนในมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยจะศึกษาในแง่ปัญหาเกี่ยวกับอาจารย์ผู้สอน การเรียนด้วยโทรทัศน์ของนักศึกษา อาคาร สถานที่ และประสิทธิภาพของเครื่องรับโทรทัศน์ การดำเนินงาน : ผู้วิจัยได้ทำการสำรวจปัญหาต่าง ๆ โดยวิธีการสัมภาษณ์ สังเกตโดยตรงและออกแบบสอบถามนักศึกษาจำนวน 600 คน อาจารย์ 80 ท่าน ในทุก ๆ คณะของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ผลการวิจัย : 1) เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมกล้องกับอาจารย์ผู้สอน ทำงานไม่สัมพันธ์กัน จับภาพไม่ทันกับการเขียนกระดานของอาจารย์ 2) การจัดที่นั่งในห้องเรียนแออัดเกินไป และการถ่ายเทอากาศไม่ดี 3) ระบบเสียงไม่ดี เกิดเสียงก้องและเสียงรบกวนภายนอก 4) ใช้โทรทัศน์เพื่อถ่ายทอดภาพและเสียงให้นักศึกษาได้เห็นและได้ยินเท่านั้น ไม่มีการจัดทำเป็นบทเรียนทางโทรทัศน์ในสาขาวิชาต่าง ๆ 5) อาจารย์ส่วนใหญ่เขียนตัวอักษรเล็กเกินไปและมักยืนบังกระดาน 6) ไม่มีการประเมินผลว่าการเรียนโดยใช้โทรทัศน์ได้ผลดีอย่างไร 7) ไม่มีการจัดระเบียบวิธีการซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ชำรุด ข้อเสนอแนะ : ทางมหาวิทยาลัยควรจะจัดตั้งศูนย์โสตทัศนศึกษาที่สมบูรณ์แบบขึ้น ให้บริการงานด้านโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ และจัดระบบงานด้านโทรทัศน์วงจรปิดเข้าไว้ด้วย หาทางปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ขณะนี้ เช่น ปัญหาด้านตัวผู้เรียน ส่วนใหญ่นักศึกษาไม่เคยเรียนด้วยโทรทัศน์มาก่อน ทางแผนกโสตทัศนศึกษาควรจะจัดให้มีการแนะนำนักศึกษาใหม่ให้เข้าใจวิธีการเรียนด้วยโทรทัศน์วงจรปิดในมหาวิทยาลัย อาจจะพิมพ์เอกสารหรือหนังสือคู่มือแจก จัดให้มีการอบรมครูผู้สอนทางโทรทัศน์ให้เข้าใจถึงเทคนิคการสอนทางโทรทัศน์ เพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพดีขึ้น ทั้งนี้เพราะการสอนทางโทรทัศน์ กับการสอนในชั้นเรียนธรรมดามีลักษณะที่แตกต่างกันมาก นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยควรจะเห็นความสำคัญของโทรทัศน์ให้มากยิ่งขึ้น ไม่ใช่ใช้โทรทัศน์เพื่อแก้ปัญหานักศึกษามีจำนวนมากไม่สมดุลกับจำนวนอาจารย์ผู้สอนเท่านั้น เนื้อหาวิชาต่าง ๆ ของทุกคณะสามารถจะนำมาจัดทำเป็นรายการทางโทรทัศน์ที่น่าสนใจ บันทึกเทปโทรทัศน์ไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะศึกษาศาสตร์มีโอกาสได้ใช้โทรทัศน์ในลักษณะการสอน แบบจุลภาคได้เป็นอย่างดี
Other Abstract: Purpose : To investigate the problems in Using Closed-Circuit Instructional Television at Ramkamhang University. Procedure : The data was collected by interviewing, direct observation and through the questionnaires. Eighty teachers and 600 students randomly selected in Ramkamhang University were required to answer the questionnaires. The data was then tabulated and presented by means of percentage and arithmetic mean (X̅) Major findings: 1) The pictures and the instruction were not synchronized. 2) The seats were too crowded in the lecture room and the ventilation was not good enough. 3) The lecture room was not acoustic. 4) The closed-circuit television was used only for transmitting pictures and sound. No [well-prepared] programs were produced. 5) The students had some troubles with seeing the chalk-board because the letters were too small and the teachers always stand in their ways in front of the chalkboard. 6) There was no evaluation about learning by closed-circuit television. 7) The Audio-Visual Department had no special place for repairing audio-visual equipment. Suggestion : The University should utilize the potentiality of the television and not only used for solving the problems of over students. Techniques and special effect should be used to make better effective program for students in all faculties. The University should set up the Audio-Visual Center operated by well trained and skillfull Teachers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24895
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nouvarat_Sa_front.pdf509.88 kBAdobe PDFView/Open
Nouvarat_Sa_ch1.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Nouvarat_Sa_ch2.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Nouvarat_Sa_ch3.pdf276.42 kBAdobe PDFView/Open
Nouvarat_Sa_ch4.pdf562.99 kBAdobe PDFView/Open
Nouvarat_Sa_ch5.pdf340.94 kBAdobe PDFView/Open
Nouvarat_Sa_back.pdf794.56 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.