Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24909
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เพลินทิพย์ โกเมศโสภา | - |
dc.contributor.author | รัชนี ยนต์นิยม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-21T06:37:59Z | - |
dc.date.available | 2012-11-21T06:37:59Z | - |
dc.date.issued | 2530 | - |
dc.identifier.isbn | 9745647993 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24909 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อกิจการร้านฟาสท์ฟูดในเขตกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการใช้บริการที่ร้านฟาสท์ฟูดในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการในร้านประเภทนี้ ความคิดเห็นที่มีต่อกิจการร้านฟาสท์ฟูดในด้านต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ รสชาติอาหารและเครื่องดื่ม ทำเลที่ตั้ง การตกแต่งและบรรยากาศร้าน ความสะอาดของอาหารและเครื่องดื่ม ความรวดเร็วในการให้บริการมารยาทของพนักงาน และราคาอาหารและเครื่องดื่ม ข้อมูลในการศึกษาเรื่องนี้ได้จากการสอบถามนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยเอกชน และวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 500 คน นอกจากข้อมูลที่ได้จากนักศึกษากลุ่มนี้แล้ว ยังมีข้อมูลที่รวบรวมได้จากเจ้าของกิจการฟาสท์ฟูดในเขตกรุงเทพมหานคร ตลอดจนเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาร้อยละ 95 เคยใช้บริการที่ร้านฟาสท์ฟูด การที่นักศึกษาไปใช้บริการก็เพราะใช้เป็นสถานที่นัดพบเสียเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือเพื่อนชักชวน และตั้งใจไปรับประทานเพราะหิว ตามลำดับ มูลเหตุจูงใจสำคัญที่สุดที่ทำให้นักศึกษาเข้าไปใช้บริการเป็นครั้งแรก คือ เพื่อนชักชวน รองลงมาก็คือ เห็นว่าเป็นกิจการใหม่อยากใช้บริการ และการตกแต่งร้านดึงดูดใจ สื่อที่ทำให้นักศึกษารู้จักร้านฟาสท์ฟูดมากที่สุดคือ เพื่อน/คนรู้จักแนะนำ ส่วนโทรทัศน์เป็นสื่อที่ทำให้นักศึกษาทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเสริมการขายมากที่สุด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการในกิจการประเภทนี้ ได้แก่ รสชาติอาหาร ทำเลที่ตั้ง และมารยาทของพนักงาน สำหรับรสชาติอาหารและทำเลที่ตั้งร้านก็ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้นักศึกษามีความภักดีต่อตรายี่ห้ออีกด้วย นอกจากนี้นักศึกษายังได้แสดงความคิดเห็นต่อกิจการร้านฟาสท์ฟูดในด้านรสชาติอาหารและเครื่องดื่ม การตกแต่งร้าน ความสะอาดของอาหารและเครื่องดื่ม และความรวดเร็วในการให้บริการว่าอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ค่อนไปทางดี ส่วนมารยาทของพนักงานอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และราคาอาหารและเครื่องดื่มอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ค่อนไปทางแพง นักศึกษาที่เคยใช้บริการเกือบทั้งหมดจะยังใช้บริการต่อไปอีก และส่วนใหญ่มีความเห็นว่าในอนาคตกิจการร้านฟาสท์ฟูดจะได้รับความนิยมจากนิสิตนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น ในส่วนของนักศึกษาที่ไม่เคยใช้บริการได้ให้เหตุผลที่ไม่เคยใช้บริการว่าคิดว่าราคาอาหารและเครื่องดื่มแพงเกินไป และมีบางส่วนของนักศึกษาที่ไม่เคยใช้บริการก็จะไปใช้ในอนาคต ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่กำลังประกอบธุรกิจฟาสท์ฟูดในปัจจุบัน มีดังนี้คือ 1. ด้านผลิตภัณฑ์ กิจการควรศึกษาถึงรสชาติอาหารที่ถูกรสนิยมผู้บริโภคกลุ่มนี้ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบและรสชาติที่แปลกใหม่ 2. ด้านราคา ในการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ออกจำหน่าย ควรให้มีระดับราคาต่ำกว่าระดับราคาเดิม เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่กิจการจำหน่ายมีหลายระดับราคา 3. ด้านการจัดจำหน่าย ควรขยายสาขาไปในที่ใกล้กับสถานศึกษา หรือที่นักศึกษาสามารถเดินทางไปใช้บริการได้สะดวก สำหรับสาขาที่เปิดมานานควรปรับปรุงรูปแบบการตกแต่งร้านให้แปลกใหม่ และควรปรับปรุงระบบระบายอากาศ และดูแลรักษาความสะอาดห้องสุขา 4. ด้านการส่งเสริมการจำหน่าย กิจการควรเปลี่ยนเป้าหมายทางการโฆษณาจากเพื่อต้องการให้รู้จักตรายี่ห้อร้าน มาเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาบริโภคอาหารประเภทนี้แทนอย่างอื่นให้มากกว่านี้โดยสื่อการโฆษณาที่ควรใช้คือ โทรทัศน์ และป้ายโฆษณา 5. ด้านการบริการ กิจการควรจัดให้มีการอบรมพนักงานใหม่ โดยเน้นถึงเรื่องมารยาทของพนักงานที่ปฏิบัติต่อลูกค้า ภายหลังการอบรมแล้วให้ผู้จัดการสาขาเป็นผู้ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนธุรกิจฟาสท์ฟูด มีดังนี้ 1. ด้านผลิตภัณฑ์ สามารถเลือกลงทุนได้ทั้งกิจการที่ให้บริการอาหารประเภทรับประทานอิ่มหรืออาหารว่างก็ได้ เพราะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้พอ ๆ กัน 2. ด้านราคา ควรมีราคาไม่สูงมากจนลูกค้ากลุ่มนี้ไม่สามารถใช้บริการได้ 3. ด้านช่องทางการจำหน่าย ควรตั้งอยู่ในย่านการค้า หรือศูนย์การค้าที่มีคนสัญจรไปมามาก 4. ด้านการส่งเสริมการจำหน่ายในระยะแรกที่เปิดกิจการควรโฆษณาทางโทรทัศน์ควบคู่ไปกับป้ายโฆษณา และในช่วงแรกที่เปิดกิจการควรลดราคาพิเศษสำหรับกลุ่มลูกค้าที่เป็นนักศึกษาเพื่อผลทางการโฆษณาแบบปากต่อปาก | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study is to survey the attitudes of college students towards fast food business in Bangkok. The study analyzed the following factors : the respondents’ use of the service in the past, present and future; factors affecting their choices of fast food restaurants; attitudes towards the taste of foods and beverages, location, decoration and atmosphere, cleanliness of food and places, quick services, waiters’ etiquette and price of food and beverages. Data were obtained from 500 subjects. A technique used was interviewing entrepreneurs accompanying with the use of secondary data. The results of the study reveal that 95% of the respondents are customers of fast-food restaurants. The main reason for going there is to meet their friends. The other two are their friends’ persuasion and their hunger. The most important motivation which causes the students to go there at first time is the persuasion of their friends. The less important reason is the desire to try new business and attractive decoration of shops. The significant media which make the students know fast-food shops are friends and people whom they know. T.V. commercials are media which make the subjects learn sales promotions in detail. Factors affecting their choices of fast-food shops are taste of food, location and waiters’ etiquette; moreover, taste of food and location are factors affecting the subjects’ brand loyalty. Moreover, the subjects rated slightly taste of food and beverages, decoration, cleanliness of food and shops, and quick services above average. The waiters’ etiquette is rated average and the price of food and beverages are rated above average to rather expensive. Almost all the subjects who are fast-food’s customer shall keep on going there. In the subjects’ opinions, fast food business will gain more favor from more students. In case of students who never been to fast food shops, they give the reason that the prices of food and beverages are too expensive, but some of the students in this group plan to go to fast food shops in the future. Recommendations can be made for the owners of fast food business. 1. Product: the owners should study and improve their products in term of serving new and better taste of food. 2. Price: for setting prices of new products, the owners should set them at lower price than those of the previous product; consequently, there will be price variety for customers. 3. Place: there should be an extension branches to locations near universities and colleges to facilitate the students who want to go to fast food shops. In addition, an improvement on shop’s decoration, ventilation and cleanliness of rest rooms are another major concerns.4. Promotion: Instead of emphasizing on the name of the products, the advertisement should concentrate on stimulating consume to use the service. 5. Services : there should be new employees’ training program during which they are clear of the objectives of better service and employees’ etiquette. After the training program, the owners should follow and evaluate them according to the objectives. Recommendations for ones who wish to invest in fast food business 1. Product: one can choose to invest in both fullmeal services or snacks. Both will serve as consumer approach. 2. Price: the price should not be so expensive that the consumer groups cannot use service. 3. Place: the location of fast food shop should stay near shopping malls or department stores where most people go shopping. 4. Promotion: at the period of new opening, the business should offer special discount for customers who are students for reason of word of mouth advertising. | - |
dc.format.extent | 654680 bytes | - |
dc.format.extent | 519275 bytes | - |
dc.format.extent | 833623 bytes | - |
dc.format.extent | 928430 bytes | - |
dc.format.extent | 1916485 bytes | - |
dc.format.extent | 557992 bytes | - |
dc.format.extent | 483659 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | นักศึกษา -- ทัศนคติ -- ไทย | - |
dc.subject | ร้านอาหาร -- ไทย | - |
dc.subject | สิทธิทางการค้า -- ไทย | - |
dc.subject | อาหารสำเร็จรูป | - |
dc.title | ทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อกิจการร้านฟาสท์ฟูดในเขต กรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | College Students' Attitude toward Fast Food Shop in Bangkok Metropolitan Area | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บริหารธุรกิจ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rachanee_Yo_front.pdf | 639.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachanee_Yo_ch1.pdf | 507.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachanee_Yo_ch2.pdf | 814.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachanee_Yo_ch3.pdf | 906.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachanee_Yo_ch4.pdf | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachanee_Yo_ch5.pdf | 544.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachanee_Yo_back.pdf | 472.32 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.