Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24943
Title: สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่าง เชาว์ปัญญา สภาพแวดล้อมทางปัญญา และฐานะทางสังคมมิติกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปรัญญาตรี ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Multiple correlation between intelligence, intellectual environment, sociometric status and learning achievement of the third year undergraduate students of the Faculty of Education, Chulalongkorn University
Authors: รัตนา ดวงแก้ว
Advisors: สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: นักศึกษา -- ภาวะสังคม
เชาวน์
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเชาวน์ปัญญา สภาพแวดล้อมทางปัญญาฐานะทางสังคมมิติ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 314 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบแมทริซีสก้าวหน้าขั้นสูง แบบถามเกี่ยวกับเพื่อนสนิท และแบบถามสังคมมิติแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวทำนายและตัวเกณฑ์ ข้อค้นพบที่สำคัญโดยสรุปมีดังนี้ 1. เชาวน์ปัญญาไม่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. เชาวน์ปัญญามีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางปัญญาในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. สภาพแวดล้อมทางปัญญาไม่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. ฐานะทางสังคมมิติ มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 5. สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างเชาวน์ปัญญา สภาพแวดล้อมทางปัญญา ฐานะทางสังคมมิติ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าเท่ากับ 0.142 และตัวแปรทำนายที่สำคัญมีเพียงตัวเดียวคือ ฐานะทางสังคมมิติ
Other Abstract: The purpose of this research was to study the relationship between intelligence, intellectual environment, sociometric status and academic learning achievement of the third year undergraduate students of the Faculty of Education, Chulalongkorn University. The samples consisted of 314 students. The data were collected by Advanced Progressive Matrices, questionnaires about closed friends, sociometric test. Pearson Correlation and Multiple Correlation were used to analyse the obtained data. The major findings of this research were : 1. There was no significant correlation between intelligence and learning achievement at .05 level. 2. The correlation between intelligence and intellectual environment was found to be significant at .05 level. 3. There was no significant correlation between intellectual environment and learning achievement at .05 level. 4. The correlation between sociometric status and learning achievement was found to be significant at .05 level. 5. The multiple correlation between intelligence, intellectual environment, sociometric status and learning achievement was 0.142 and the only important predictor found in this research was sociometric status.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24943
ISBN: 9745636037
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratana_Da_front.pdf454.64 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Da_ch1.pdf443.95 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Da_ch2.pdf620.17 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Da_ch3.pdf429.94 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Da_ch4.pdf726.93 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Da_ch5.pdf655.07 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Da_back.pdf656.93 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.