Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24952
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุมา สุคนธมาน
dc.contributor.advisorนพพงษ์ บุญจิตราดุลย์
dc.contributor.authorนุกูล ตันริยงค์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-21T07:33:36Z
dc.date.available2012-11-21T07:33:36Z
dc.date.issued2525
dc.identifier.isbn9745611476
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24952
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครต่อการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครู 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูประถมศึกษาที่สอนโรงเรียนในเขตชั้นในกับเขตชั้นนอกของกรุงเทพมหานคร และครูประถมศึกษาที่มีวุฒิครูต่างกัน และอายุราชการต่างกัน สมมติฐานของการวิจัย 1. ครูประถมศึกษาที่สอนในโรงเรียนเขตชั้นในและเขตชั้นนอก สังกัดกรุงเทพมหานคร มีความคิดเห็นต่อการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูไม่แตกต่างกัน 2. ครูประถมศึกษาที่มีวุฒิครูต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า กับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป มีความคิดเห็นต่อการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูไม่แตกต่างกัน 3. ครูประถมศึกษาที่มีอายุราชการตั้งแต่ 1-10 ปี 11-20 ปี และ 21 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นต่อการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูไม่แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2524 จำนวน 619 คน ที่สุ่มได้จากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบและแบบประเมินค่า ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม และคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของครูประถมศึกษาต่อการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูจำนวน 83 ข้อ โดยแบ่งออกเป็น 4 หมวดคือ หมวดสถานภาพในสังกัดของวิชาชีพครู หมวดการผลิตครู หมวดการใช้ครู หมวดการควบคุมมาตรฐานวิชาชีพครู ได้ส่งแบบสอบถามไปจำนวน 619 ฉบับ ได้รับคืนมา 523 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 84.49 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความถี่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) โดยใช้ Studentized Range Statistics ทดสอบความคิดเห็นระหว่างกลุ่ม ผลการวิจัย 1. ครูมีความคิดเห็นโดยส่วนรวมอยู่ในเกณฑ์ไม่แน่ใจต่อหมวดสถานภาพในสังคมของวิชาชีพครู 2. ครูมีความคิดเห็นโดยส่วนรวมอยู่ในเกณฑ์เห็นด้วยต่อหมวดการผลิตครู 3. ครูมีความคิดเห็นโดยส่วนรวมอยู่ในเกณฑ์เห็นด้วยต่อหมวดการใช้ครู 4. ครูมีความคิดเห็นโดยส่วนรวมอยู่ในเกณฑ์เห็นด้วยต่อหมวดการควบคุมมาตรฐานวิชาชีพครู โดยส่วนรวมทั้ง 4 หมวดที่กล่าวมาแล้ว ความคิดเห็นของครูประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในเกณฑ์เห็นด้วยต่อการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครู 5. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเขตชั้นในกับครูเขตชั้นนอก สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยส่วนรวมทั้ง 4 หมวดดังกล่าวข้างต้น ผลปรากฏว่า ครูเขตชั้นในกับครูเขตชั้นนอก มีความคิดเห็นต่อการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูแตกต่างกัน ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 6. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีวุฒิครูต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่ากับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป โดยส่วนรวมทั้ง 4 หมวดแล้ว ผลปรากฏว่าครูที่มีวุฒิครูต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่ากับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป มีความคิดเห็นต่อการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูไม่แตกต่างกัน ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 7. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูอายุราชการ 1-10 ปี 11-20 ปี และ 21 ปีขึ้นไป โดยส่วนรวมทั้ง 4 หมวดแล้ว ผลปรากฏว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 แต่เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายคู่แล้ว ปรากฏผลดังนี้ 7.1 ครูอายุราชการ 1-10 ปี และครูอายุราชการ 11-20 ปี มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 7.2 ครูอายุราชการ 11-20 ปี กับครูอายุราชการ 21 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 7.3 ครูอายุราชการ 1-10 ปี กับครูอายุราชการ 21 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นแตกต่างกัน
dc.description.abstractalternativePurposes: 1. To study the opinions of elementary school teachers of Bangkok Metropolis concerning the upgrade of teaching professional standard. 2. To compare the opinions of those who teach in the inner-zone schools and of those who teach in the outer-zone schools, also the opinions of teachers with different qualifications and of teachers with different periods of service. Hypotheses: 1. There are no significant differences between the inner-zone school teachers and the outer-zone school teachers of Bangkok Metropolis in their opinions concerning the upgrade of teaching professional standard. 2. There are no significant differences between the teachers with lower than a bachelor’s degree or equivalent and the teachers with a bachelor’s degree or equivalent concerning the upgrade of teaching professional standard. 3. There are no significant differences among the teachers with 1-10 years, 11-20 years, and at least 21 years of service concerning the upgrade of teaching professional standard. Procedure: The sample used in this study consisted of 619 elementary school teachers of Bangkok Metropolis in B.E. 2524. The instruments used were a checklist and rating scales which consisted of 5 items of personal data and 83 items of teachers’ opinions concerning the upgrade of teaching professional standard. The questionnaire consisted of four parts, namely the Social States of the Teaching Profession, Teacher Production, Teacher Utilization, and Control of Teaching Professional Standard. Six hundred and nineteen sets of questionnaires were sent out and 523 of the questionnaires were returned. The data were analyzed using percentage distribution, means, standard deviations, t-tests, one-way analysis of variance and studentized range statistics. Research Findings: 1. Most of the teachers’ opinions were at the uncertain level concerning the “Social Status of the Teaching Profession” category. 2. Most of the teachers’ opinions were at the agreeable level concerning the “Teacher Production” category. 3. Most of the teachers’ opinions were at the agreeable level concerning the “Teachers Utilization” category. 4. Most of the teachers’ opinions were at the agreeable level concerning the “Control of Teaching Professional Standard” category. Considering all four categories together, it was found that most of the teachers’ opinions were at the agreeable level concerning the upgrade of teaching professional standard. 5. Comparing the opinions of the inner-zone and outer-zone elementary school teachers, significant differences at the.05 level were observed. 6. Regarding elementary school teachers with different academic qualifications, it was found that their opinions were not significantly different at the .05 level. 7. With respect to the teachers’ periods of service, the only significant difference at the .05 level was found between teachers’ opinions with 1-10 years periods of service and of teachers with at least 21 years periods of service. As for all the other groups, no significant differences were found at the .05 level.
dc.format.extent658603 bytes
dc.format.extent819739 bytes
dc.format.extent1628086 bytes
dc.format.extent517449 bytes
dc.format.extent1444501 bytes
dc.format.extent1291943 bytes
dc.format.extent1547664 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleความคิดเห็นของครูประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ต่อการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูen
dc.title.alternativeOpinions of elementary school teachers of Bangkok Metropolis concerning the upgrade of teaching professional standarden
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประถมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nugool_Tu_front.pdf643.17 kBAdobe PDFView/Open
Nugool_Tu_ch1.pdf800.53 kBAdobe PDFView/Open
Nugool_Tu_ch2.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Nugool_Tu_ch3.pdf505.32 kBAdobe PDFView/Open
Nugool_Tu_ch4.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Nugool_Tu_ch5.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Nugool_Tu_back.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.