Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24956
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีระชัย ปูรณโชติ
dc.contributor.authorนุกรานต์ นิ่มศิริ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-21T07:39:42Z
dc.date.available2012-11-21T07:39:42Z
dc.date.issued2527
dc.identifier.issn9745637025
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24956
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์และศึกษานิเทศก์สาขาวิทยาศาสตร์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในด้านต่างๆ คือ ความมุ่งหมายของหลักสูตร การใช้หลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอน อุปกรณ์การสอน การวัดและประเมินผล และแบบเรียนและหนังสือที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองไปยังตัวอย่างประชากรซึ่งเป็นครูวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 180 คนซึ่งได้จากการสุ่มแบบง่าย จากโรงเรียนในส่วนกลาง 30 โรงเรียน และส่วนภูมิภาค 60 โรงเรียน โรงเรียนดังกล่าว ได้จากการสุ่มจากโรงเรียนรัฐบาลทั้งประเทศที่มีระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ จำนวนทั้งหมด 312 โรงเรียนและศึกษานิเทศก์สาขาวิทยาศาสตร์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ที่มีทั้งหมด 30 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้คืนมาวิเคราะห์ ค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย 1. ด้านความมุ่งหมายของหลักสูตร โดยเฉลี่ยแล้วครูวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์และศึกษานิเทศก์สาขาวิทยาศาสตร์มีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง แต่ข้อที่มีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับมากคือ ความรู้ความเข้าใจในจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การนำจุดมุ่งหมายของหลักสูตรไปใช้ในการเรียนการสอน การเลือกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวอย่างประชากรทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 รวม 8 ข้อ จากข้อคำถาม 10 ข้อ 2. ด้านการใช้หลักสูตรโดยเฉลี่ยแล้วครูวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์และศึกษานิเทศก์สาขาวิทยาศาสตร์มีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง แต่ข้อที่มีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับมากคือ การสอนให้สัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์สาขาอื่น การสอนเนื้อหาให้ละเอียด ลึกซึ้งและกว้างขวาง และการจัดเวลาให้ครูได้วางแผนการสอนและปรึกษาปัญหาต่างๆ ร่วมกัน ตัวอย่างประชากรทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 รวม 6 ข้อ จากข้อคำถาม 13 ข้อ 3. ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเฉลี่ยแล้วครูวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์และศึกษานิเทศก์สาขาวิทยาศาสตร์ มีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง แต่ข้อที่มีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับมากคือ การจัดการเรียนการสอนที่จัดไว้ในคู่มือครูให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน การกระตุ้นให้นักเรียนสนใจและแสดงความคิดเห็น การนำวิธีการสอนใหม่ ๆ มาใช้ การฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แก่นักเรียน การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างประชากรทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 รวม 10 ข้อ จากข้อคำถาม 13 ข้อ 4. ด้านอุปกรณ์การสอน โดยเฉลี่ยแล้วครูวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์และศึกษานิเทศก์สาขาวิทยาศาสตร์ มีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง แต่ข้อที่มีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับมากคือ การซ่อมแซมอุปกรณ์ การใช้อุปกรณ์ร่วมกันทำให้ชำรุดและควบคุมยาก ห้องปฏิบัติการไม่เพียงพอ อุปกรณ์จากห้างร้านหรือบริษัทที่ซื้อมาส่วนใหญ่ยังมีมาตรฐานไม่ดีพอ อุปกรณ์ที่ใช้ทดลองไม่ค่อยได้ผลทำให้นักเรียนไม่สนใจในชั่วโมงปฏิบัติการ และนักเรียนขาดทักษะในการใช้อุปกรณ์ทำให้ชำรุดเสียหายเร็ว ตัวอย่างประชากรทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 รวม 2 ข้อ จากข้อคำถาม 12 ข้อ 5. ด้านการวัดและประเมินผล โดยเฉลี่ยแล้วครูวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์และศึกษานิเทศก์สาขาวิทยาศาสตร์ มีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง แต่ข้อที่มีความคิดเห็นว่ามีปัญหาในระดับมากคือการสร้างข้อสอบให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ความสามารถ และทักษะในการสร้างข้อสอบวัดพฤติกรรมต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ การสอบซ่อมในจุดประสงค์การเรียนรู้ที่นักเรียนไม่ผ่าน และข้อที่มีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับน้อยคือ การแบ่งอัตราส่วนระหว่างคะแนนสอบระหว่างภาคกับปลายภาค และเวลาในการตรวจให้คะแนนและตรวจทานคะแนน ตัวอย่างประชากรทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 รวม 2 ข้อ จากข้อคำถาม 12 ข้อ 6. ด้านแบบเรียนและหนังสือที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน โดยเฉลี่ยแล้วครูวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์และศึกษานิเทศก์สาขาวิทยาศาสตร์ มีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง แต่ข้อที่มีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับน้อยคือ การถูกต้องของเนื้อหาวิชา ตัวอย่างประชากรทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 รวม 2 ข้อ จากข้อคำถาม 11 ข้อ
dc.description.abstractalternativePurposes : To study and compare the opinions of physics teachers and science supervisors in the metropolitan area and the provincial area concerning problems of the upper secondary school physics instruction in the following aspects : the purposes of physics curriculum, the implementation of the curriculum, teaching-learning activities, instructional media, measurement and evaluation, and textbooks and supplementary readings. The questionnaires constructed by the research were sent to 180 physics teacher and 30 science supervisors. The 180 physics teacher were randomly sampled from 30 metropolitan schools and 60 provincial schools out of 312 upper secondary government schools, offering science programs all over the country. The questionnaires were also sent to 30 science supervisors both in the metropolitan area and provincial area. The collected data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test. Findings : 1. The purposes of physics curriculum : The problems concerning the purposes of physics curriculum were at the moderate level according to the physics teacher’ and science supervisors’ opinions. But the knowledge and understanding about the purposes of the curriculum, the application in teaching-learning situation, the selection of learning objectives according to the purposes of the curriculum, and the measurement and evaluation in agreement with learning objectives, were problems at the high level. There was significant difference between the opinions of both groups at the .05 level on 8 out 10 items in the questionnaires 2. The implementation of physics curriculum : The problems concerning the implementation of physics curriculum were at the moderate level according to the physics teachers’ and science supervisors’ opinions. But the teaching which related to other science subjects, teaching content in detail with breadth and depth, and the management of time for physics teachers to plan and consult together, were problems at the high level. There was significant difference between the opinions of both groups at the .05 level on 6 out of 13 items in the questionnaires. 3. Teaching – learning activities : The problems concerning the teaching – learning activities were at the moderate level according to the physics teachers’ and science supervisors’ opinions. But the management of teaching – learning activities to be suitable for each school, the motivation of students to pay attention and express idea, the introducing of new teaching methods, practicing science process skills to students, the management of teaching – learning activities for students to apply in their daily, were problems at the high level. There was significant difference between the opinions of both groups at the .05 level on 10 out of 13 in the questionnaires. 4. The instructional media: The problems concerning the instructional media were at the moderate level according to the physics teachers’ and science supervisors’ opinions. But the repairing of instructional media, using of instructional media together causing damages and difficult to control, the insufficient of laboratories, the instructional media bought from the commercial company were not in good standard, the instructional media which were not work well which caused students to be uninterested in doing experiment, and students’ lacking of skills in using the instructional media caused damages quickly, were problems at the high level. There was significant difference between the opinions of both groups at the .05 level on 2 out of 12 items in the questionnaires. 5. The measurement and evaluation: The problems concerning the measurement and evaluation were at the moderate level according to the physics teachers’ and science supervisors’ opinions. But the construction of test items to agreed with learning objectives, the abilities and skills in construction test item to measure scientific behaviors, the re-examination in learning objectives which students did not achieve, and the students’ interest in measurement and evaluation which related to the re-examination, were problems at the high level. The ratio of scores from formative and summative evaluation, the scoring time, were problems at the low level. There was significant difference between the opinions of both group at the .05 level on 2 out of 12 item in the questionnaires. 6. Textbooks and supplementary readings : The problems concerning textbooks and supplementary readings were at the moderate level according to the physics teachers’ and science supervisors’ opinions, but the correctness of the contents was problem at the low level. There was significant difference between the opinions of both groups at the .05 level on 2 out of 11 items in the questionnaires.
dc.format.extent653640 bytes
dc.format.extent594115 bytes
dc.format.extent1017516 bytes
dc.format.extent440274 bytes
dc.format.extent1353993 bytes
dc.format.extent977934 bytes
dc.format.extent1075075 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ และศึกษานิเทศก์สาขาวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายen
dc.title.alternativeA comparison of physics teachers' and science supervisors' opinions concerning problems of physics instruction at the upper secondary education levelen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nugran_Ni_front.pdf638.32 kBAdobe PDFView/Open
Nugran_Ni_ch1.pdf580.19 kBAdobe PDFView/Open
Nugran_Ni_ch2.pdf993.67 kBAdobe PDFView/Open
Nugran_Ni_ch3.pdf429.96 kBAdobe PDFView/Open
Nugran_Ni_ch4.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Nugran_Ni_ch5.pdf955.01 kBAdobe PDFView/Open
Nugran_Ni_back.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.