Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25015
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สาริณีย์ กฤติยานันต์ | |
dc.contributor.advisor | วิชัย พานิชสุข | |
dc.contributor.author | วันดี ขำยัง | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2012-11-21T08:46:17Z | |
dc.date.available | 2012-11-21T08:46:17Z | |
dc.date.issued | 2545 | |
dc.identifier.isbn | 9741729766 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25015 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลการใช้ยาต้านจุลชีพ ชนิดและความไวของเชื้อ และปัญหาจากการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพในผู้ป่วยโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลที่โรงพยาบาลราชบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2545 ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล 207 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 58.5 เพศหญิงร้อยละ 41.5 อายุเฉลี่ย 53.5 ±20.2 ปี ผู้ป่วยเป็นโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลทั้งหมด 305 ครั้ง และมีการส่งเพาะเชื้อ 281 ครั้ง (ร้อยละ 92.1 ) เชื้อที่พบสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ P. aeruginosa (ร้อยละ 18.1 ) A. baumannii (ร้อยละ 13.6 ) E. coli (ร้อยละ 10.8 ) K. pneumoniae (ร้อยละ 7.5 ) และ E. cloacae (ร้อยละ 6.8 ) เชื้อแต่ละชนิดมีความไวต่อยาต้านจุลชีพ 3 อันดับแรก ดังนี้ (1) P. aeruginosa มีความไวต่ออะมิกาซิน เนทิลไมซิน และเจนตาไมซิน ร้อยละ 93.0, 87.1 และ 78.6 ตามลำดับ (2) A. baumannii มีความไวต่อเซโฟเพอราโซน/ซัลแบคแทม แอมพิซิลลิน/ซัลแบคแทม และอิมิพีเนม ร้อยละ 72.7, 72.3 และ 61.8 ตามลำดับ (3) E. coli มีความไวต่ออิมิพีเนม อะมิกาซิน และเซโฟซิติน ร้อยละ 100.0, 97.6 และ 78.0ตามลำดับ (4) K. pneumoniae มีความไวต่ออิมิพีเนม อะมิกาซิน และนอร์ฟลอกซาซิน ร้อยละ 92.9, 78.6 และ 75.0 ตามลำดับ และ (5) E. cloacae มีความไวต่ออิมิพีเนม อะมิกาซิน และโคไตรม็อกซาโซล ร้อยละ 92.3, 84.6 และ 76.9 ตามลำดับ การรักษาแบบคาดการณ์สำหรับโรคติดเชื้อ | |
dc.description.abstract | ในโรงพยาบาลที่เกิดขึ้นเกือบทุกตำแหน่งของร่างกายเป็นการใช้ยาต้านจุลชีพชนิดเดียว (ตั้งแต่ร้อยละ 54.5 ขึ้นไป) มากกว่าการใช้ยาต้านจุลชีพ 2 ชนิดขึ้นไปร่วมกัน ยกเว้น การติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด (ร้อยละ 37.3) ยาต้านจุลชีพที่ใช้มากที่สุดในการรักษาแบบคาดการณ์ตามตำแหน่งร่างกายที่ติดเชื้อ มีดังนี้ (1) ระบบทางเดินหายใจส่วนล่างใช้ ยากลุ่มเซฟาโลสปอรินรุ่นที่สามชนิดเดียว ร้อยละ 38.6 (2) ที่ตำแหน่งผ่าตัดใช้ ยากลุ่มเพนนิซิลลินที่ทนต่อเพนนิซิลลินเนสชนิดเดียว ร้อยละ 15.7 (3) ปอดบวมใช้ ยากลุ่มเซฟาโลสปอรินรุ่นที่สามหรือสี่ชนิดเดียว ร้อยละ 45.8 (4) ระบบทางเดินปัสสาวะใช้ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนชนิดเดียว ร้อยละ 47.3 และ (5) ที่ผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อนใช้ ยากลุ่มเพนนิซิลลินที่ทนต่อเพนนิซิลลินเนสชนิดเดียว ร้อยละ 34.7 การรักษาแบบคาดการณ์ที่ให้ตรงกับผลการเพาะเชื้อและทดสอบความไวของเชื้อต่อยามากที่สุด ได้แก่ การรักษาแบบคาดการณ์ในผู้ป่วยติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะอย่างเดียว ผู้ป่วยติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดตำแหน่งเดียว และผู้ป่วยที่เกิดปอดบวมอย่างเดียว (ร้อยละ 38.7, 27.1 และ 21.7 ตามลำดับ) พบปัญหาจากการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพทั้งหมด 163 ครั้ง ในผู้ป่วย 106 ราย ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการเกิดอันตรกิริยาของยาต้านจุลชีพกับยาอื่นที่ผู้ป่วยได้รับร่วมด้วย อย่างไรก็ตามไม่ได้ติดตามว่ามีผลต่อการรักษาหรือไม่ | |
dc.description.abstractalternative | The objective of this descriptive study was to study the antimicrobial utilization, type and susceptibility of pathogens, and drug therapy problems (DTPs) in nosocomial infected patients at Ratchaburi hospital from 1st August to 31st December 2002. Two hundred and seven patients were included in this study. Of which 58.5% were male and 41.5% were female with the mean age of 53.5±20.2 years. Culture tests were performed in 281 from the overall 305 nosocomial infections (92.1%). The top 5 pathogens found were P. aeruginosa (18.1%), A. baumannii (13.6%), E. coli (10.8%), K. pneumoniae (7.5%) and E. cloacae (6.8%). The susceptibility of the pathogens to the first three antimicrobials was: (1) P. aeruginosa was susceptible to amikacin, netilmicin and gentamicin at 93.0, 87.1, and 78.6%, respectively; (2) A. baumannii was susceptible to cefoperazone/sulbactam, ampicillin/sulbactam and imipenem at 72.7, 72.3, and 61.8%, respectively; (3) E. coli was susceptible to imipenem, amikacin and cefoxitin at 100.0, 97.6, and 78.0%, respectively; (4) K. pneumoniae was susceptible to imipenem, amikacin and norfloxacin at 92.9, 78.6, and 75.0%, respectively; and (5) E. cloacae was susceptible to imipenem, amikacin and co-trimoxazole at 92.3, 84.6, and 76.9%, respectively. Single antimicrobial (≥ 54.5%) was prescribed as empiric treatment more often than the combination of at least 2 antimicrobials in most infection sites, except for surgical site (37.3%). The most antimicrobial prescribed for empiric treatment of each infection site was: (1) lower respiratory tract infections were treated with the third generation cephalosporins as monotherapy (38.6%); (2) surgical site infections were treated with the penicillinase-resistant penicillins as monotherapy (15.7%); (3) pneumonia was treated with either the third or the fourth generation cephalosporins as monotherapy (45.8%); (4) urinary tract infections (UTI) were treated with the fluoroquinolones as monotherapy (47.3%); and (5) skin and soft tissue infections were treated with the penicillinase-resistant penicillins as monotherapy (34.7%). The empiric treatment of the UTI patients, the surgical site infected patients and the pneumonia patients were most corresponded to the results of the culture and susceptibility tests (38.7, 27.1, and 21.7%, respectively). The 163 DTPs were identified in 106 patients, most were from the drug interactions between antimicrobials and the concurrent administered drugs. However, the therapy outcome were not studied. | |
dc.format.extent | 3330329 bytes | |
dc.format.extent | 1462913 bytes | |
dc.format.extent | 6273040 bytes | |
dc.format.extent | 3342165 bytes | |
dc.format.extent | 20728800 bytes | |
dc.format.extent | 3818714 bytes | |
dc.format.extent | 7423258 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การใช้ยาต้านจุลชีพในผู้ป่วยโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลที่โรงพยาบาลราชบุรี | en |
dc.title.alternative | Antimicrobial utilization in nosocomial infected patients Hospital | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เภสัชกรรมคลินิก | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wundee_kh_front.pdf | 3.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wundee_kh_ch1.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wundee_kh_ch2.pdf | 6.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wundee_kh_ch3.pdf | 3.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wundee_kh_ch4.pdf | 20.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wundee_kh_ch5.pdf | 3.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wundee_kh_back.pdf | 7.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.