Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25018
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุดาพร ลักษณียนาวิน
dc.contributor.authorเจริญขวัญ ธรรมประดิษฐ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-21T08:51:55Z
dc.date.available2012-11-21T08:51:55Z
dc.date.issued2524
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25018
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524en
dc.description.abstractจุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์นี้คือ การศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะทางสัทศาสตร์ของสระสูง /i:/ และ /u:/ เพื่อนำมาแบ่งเขตภาษาไทยถิ่นใต้ในจังหวัดตรัง กระบี่ พังงา และภูเก็ต โดยใช้รายการคำที่สามารถสำรวจลักษณะทางสัทศาสตร์ของวรรณยุกต์ได้พร้อมกันไป การศึกษาครั้งนี้ นอกจะชี้ให้เห็นว่า การใช้ตัวแปรต่างๆทางเสียง เช่น ลักษณะทางสัทศาสตร์ของสระ และวรรณยุกต์ ในการแบ่งเขตภาษาถิ่นจะทำได้อย่างไรแล้ว ยังเป็นการวิจัยภาษาไทยถิ่นใต้ด้วยวิธีการที่มีระบบ และมีความเป็นปรนัย ข้อมูลในการศึกษาวิเคราะห์นี้ ได้จากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษา จำนวน 23 คน ซึ่งเลือกมาอย่างมีเกณฑ์ และถือว่าเป็นตัวแทนของผู้พูดภาษาในเขตพื้นที่ 23 พื้นที่ ใน 4 จังหวัดที่สุ่มมาอย่างมีระบบ ผลการวิจัยแสดงว่า การใช้ลักษณะทางสัทศาสตร์ของสระ แบ่งเขตภาษาใน 4 จังหวัด ดังกล่าวนั้น สามารถแบ่งภาษาเป็นภาษาย่อยได้ 3 กลุ่ม คือ 1. ภาษาภูเก็ตและพังงา 2. ภาษากระบี่ และ 3.ภาษาตรัง ส่วนการแบ่งภาษาโดยใช้ลักษณะทางสัทศาสตร์ของวรรณยุกต์ มาเป็นเกณฑ์นั้น สามารถแบ่งภาษาได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1. ภาษาภูเก็ตและพังงา และ 2. ภาษากระบี่และตรัง ภาษาภูเก็ตและพังงา มีลักษณะทางสัทศาสตร์ของสระและวรรณยุกต์แตกต่างกัน จากภาษากระบี่และตรัง ภาษากระบี่และตรังซึ่งมีลักษณะทางสัทศาสตร์ของวรรณยุกต์เหมือนกันนั้น มีลักษณะทางสัทศาสตร์ของสระแตกต่างกัน ภาษาตรังยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นย่อยๆ ได้อีก รวมทั้งสิ้น 3 ภาษาย่อย จากความแตกต่างของการเลือกใช้เสียงสระในคำ ความแตกต่างนี้ อาจตีความได้ว่า เป็นความแตกต่างระหว่างถิ่น หรือความแตกต่างเชิงสังคม ได้ทั้งสองกรณี ในการวิจัยครั้งนี้ ได้สุ่มตัวอย่างและเก็บข้อมูลโดยควบคุมตัวแปรเชิงสังคม ดังนั้น ความแตกต่างที่พบจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ จึงเป็นความแตกต่างของภาษาถิ่น การศึกษาวิจัยภาษาในจังหวัดดังกล่าวครั้งต่อไป จึงน่าจะนำตัวแปรทางสังคมเข้ามาเป็นส่งวนหนึ่งของการศึกษาวิจัยภาษาถิ่นใต้เหล่านี้ด้วย
dc.description.abstractalternativeThe main purpose of this study is to investigate and compare the phonetic characteristics of hight vowels /i:/ and /u:/ in the dialects of Trang, Krabi, Phangnga and Phuket. The wordlists used can also examine the phonetic characteristics of the tones of these dialects. This study not only points out how different variables can be used to classify the dialects spoken in a certain area but also investigates the Southern Thai dialects spoken in these four provinces within an objective and systematic framework. The data were collected from 23 informants who were in accordance with specified criteria to represent 23 areas which were in turn chosen by the method of random area sampling in the four provinces already mentioned. According to the phonetic characteristics of high vowels in the 4 provinces we can divide these dialects into 3 groups: 1. the dialects of Phuket and Phangnga 2. the Krabi dialect and 3. the Trang dialect. Considering the phonetic characteristics of tones there are only 2 groups: 1. the dialects of Phuket and Phangnga and 2. the Krabi and Trang dialects. The phonetic characteristics of tones and vowels of the dialects of Phuket and Phangnga are different from those of the dialects of Krabi and Trang. The dialects of Krabi and Trang, which have the same phonetic characteristics of tones, are different from each other in the phonetic characteristics of vowels. The Trang dialect can be divided into 3 subdialects on the basis of the distributional differences of vowels. These differences may be considered as differences between regional dialects or social dialects. Since the data used in this thesis are sociologically controlled, so the differences found are of regional variations. The study of these dialects with sociological variables is recommended for further research.
dc.format.extent541042 bytes
dc.format.extent2405657 bytes
dc.format.extent1450365 bytes
dc.format.extent1065876 bytes
dc.format.extent546038 bytes
dc.format.extent660161 bytes
dc.format.extent667127 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการใช้ลักษณะทางสัทศาสตร์ของสระสูง ในการแบ่งเขตภาษาถิ่นในจังหวัดตรัง กระบี่ พังงา และภูเก็ตen
dc.title.alternativeThe use of the phonetic characteristics of High Vowels for a Dialect Survey of Trang, Krabi, Phangnga, and Phuketen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภาษาศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Charoenquan_Th_front.pdf528.36 kBAdobe PDFView/Open
Charoenquan_Th_Ch1.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open
Charoenquan_Th_Ch2.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Charoenquan_Th_Ch3.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Charoenquan_Th_Ch4.pdf533.24 kBAdobe PDFView/Open
Charoenquan_Th_Ch5.pdf644.69 kBAdobe PDFView/Open
Charoenquan_Th_back.pdf651.49 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.