Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25025
Title: การศึกษาการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดย่อมในชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพนมหานคร
Other Titles: A study on credit provided for small business program in congested communities in bangkok metropolis
Authors: ฉวีวรรณ นิติกุล
Advisors: สุกรี คุ้มพันธ์
ดารณี พุทธวิบูลย์
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเคหะแห่งชาติ ได้เริ่มเข้าดำเนินการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรมในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อพ.ศ. 2522 โดยมีธนาคารโลกให้การสนับสนุนทางด้านการเงิน เพื่อใช้ในการปรับปรุงทางด้านกายภาพ และภายใต้ข้อตกลงของสัญญาเงินกู้ดังกล่าว จะต้องจัดให้มีโครงการช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจแก่ผู้ที่อาศัยในแหล่งเสื่อมโทรม รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้การเคหะแห่งชาติร่วมกับธนาคารกรุงไทย จำกัด จัดให้มีโครงการสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดย่อมในอหล่งเสื่อมโทรมในเขตกรุงเทพมหานครขึ้น ซึ่งการให้สินเชื่อปะเภทนี้ทั้งธนาคารกรุงไทย จำกัดและการเคหะแห่งชาติ รวมทั้งสถาบันการเงินในประเทศไทยยังมิเคยได้จัดทำกันมาก่อน รวมทั้งเป็นโครงการใหม่สำหรับการให้ความช่วยเหลือ แก่ผู้ที่อาศัยในแหล่งเสื่อมโทรมทางด้านการเงิน ดังนั้นจึงได้ทำการศึกษาเรื่องนี้เพื่อที่จะได้ทราบแนวทางในการช่วยเหลือผู้ที่อาศัยในอหล่งเสื่อมโทรมให้ได้รับประโยชน์จากการให้สินเชื่ออย่างแท้จริง การศึกษาได้แยกเป็น 2 ลักษณะ คือ การศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับผู้รับสินเชื่อ ได้แก่ ผู้ที่รายได้น้อยในแหล่งเสื่อมโทรม โดยจะศึกษาเกี่ยวกับสภาพทั่ว ๆไป ความต้องการของผู้ที่อาศัย ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่อาศัยในแหล่งเสื่อมโทรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายของรัฐบาลทางด้านเศรษฐกิจ นอกจากนั้นยังได้ศึกษาถึงปัญหาของผู้รับสินเชื่อ โดยแบ่งกลุ่มการศึกษาจากประชาชนที่อาศัยในแหล่งเสื่อมโทรมเป็น 2 ประเภท คือ ผู้ที่ได้รับสินเชื่อไปแล้ว และผู้ที่ยังไม่เคยยื่นขอกู้ อีกลักษณะหนึ่งคือการศึกษาเกี่ยวกับผู้ให้สินเชื่อ ซึ่งได้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด และการเคหะแห่งชาตินั้นจะเป็นเรื่อง ระเบียบ เงื่อนไข และการดำเนินการให้ สินเชื่อ โดยพิจารณาถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ วิธีการพิจารณาให้สินเชื่อ และการดำเนินการติดตามหนี้ของหน่วยงานทั้ง 2 รวมทั้งทำการวิเคราะห์ถึงการให้สินเชื่อประเภทนี้ เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น การวิเคราะห์ทำเป็น 2 ลักษณะ คือการวิเคราะห์ทาสงด้านวัตถุประสงค์และการวิเคราะห์ทางด้านการดำเนินงานให้สินเชื่อ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเปรียบเทียบการให้สินเชื่อในลักษณะเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับสถาบันการเงินอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อหาจุดอ่อนของการให้สินเชื่อที่กำลังศึกษาอยู่ สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้อมูลที่ได้จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และจากผู้ที่อาศัยในแหล่งเสื่อมโทรม โดยศึกษาจากข้อมูลที่เป็นเอกสารจากสัมภาษณ์ และจากการออกแบบสอบถาม จากการศึกษาดังกล่าวทำให้ทราบถึงปัญหาทั้งทางด้านหลักประกันการกู้ยืม การชำระหนี้ และการบริหารงานลูกหนี้ ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของโครงการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดย่อมในแหล่งเสื่อมโทรม ทำให้ทราบว่าการดำเนินงานเท่าที่ผ่านมายังไม่บรรลุประสงค์ของโครงการ เนื่องจากจำนวนผู้ที่ได้รับสินเชื่อไปมีเพียงร้อยละ 1 ของจำนวนครัวเรือนที่การเคหะแห่งชาติเข้าไปปรับปรุงทางกายภาพแล้ว และจำวนผู้ที่ได้รับสินเชื่อไปก็มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่นำเงินกู้ไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของการขอกู้เงิน นอกจากนั้นวิธีการดำเนินงานบางประการของโครงการยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอทำให้มีจำนวนหนี้ที่อาจจะสูญในอัตราที่สูงมาก และยังไม่สามารถช่วยเหลือผู้ที่อาศัยในแหล่งเสื่อมโทรมได้อย่างแท้จริง
Other Abstract: National Housing has Authority of Thailand has conducted Slum Improvement Project since 1979 supported by World Bank loan in physical [improvement]. Under the Loan Agreement the Nation Housing Authority of Thailand has to provide economic status to those people. The government assigned the National Housing Authority of Thailand in cooperating with Krung Thai Bank to provide Small Business Loan. This kind of program has never been conducted by any financial institutions. Besides it is a new program to provide financial aid for slum people. The study of this program will be very useful to the National Housing Authority of Thailand in giving financial aid to these people. The study was divided into two parts. First, study about the borrowers- the low income people and second, study about the lenders- Krung Thai Bank and the National Housing Authority of Thailand. For borrowers, the study mentioned about general situation and necessity of slum people and the government policy for slum people, especially the economic aspect. In addition the study discussed the borrowers' problems which classified into 2 type, those who never been approved for the credit line and those who have never submitted loan application. For lenders the study mentioned about regulations, conditions, loan operations, and its problems. The program was analyzed by its objective and operation. The comparison of this program with others financial institutions was also made in order to find out the weak point of this program. The data used in this study were gathered from government agencies documents and from slum people by interviewing and questionnaire. The study showed several problems such as loan guarantees, repayments and account receivable management. The past operation did not meet its objective because the number of the borrowers was about 1 % of the total families in the slum improvement project. And only 20 % of the borrowers spent their loan money according to loan purposes. In addition the operation on some part of some operating was inefficient causing large amount of doubtful debt. There for, the small loan business program did not work quite well in helping the slum people.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ธนาคารและการเงิน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25025
ISBN: 9745624071
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaveewan_Ni_front.pdf628.32 kBAdobe PDFView/Open
Chaveewan_Ni_Ch1.pdf337.04 kBAdobe PDFView/Open
Chaveewan_Ni_Ch2.pdf973.92 kBAdobe PDFView/Open
Chaveewan_Ni_Ch3.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Chaveewan_Ni_Ch4.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Chaveewan_Ni_Ch5.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Chaveewan_Ni_Ch6.pdf548.4 kBAdobe PDFView/Open
Chaveewan_Ni_back.pdf946.73 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.