Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25240
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทัศนีย์ บุณโยทยาน | - |
dc.contributor.advisor | ธีระพล เมฆอธิคม | - |
dc.contributor.author | พิศมัย อัศวกิจวิรี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-22T06:55:02Z | - |
dc.date.available | 2012-11-22T06:55:02Z | - |
dc.date.issued | 2528 | - |
dc.identifier.issn | 9745661147 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25240 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 | en |
dc.description.abstract | การประกันชีวิตเป็นแผนการเพื่อป้องกันความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และช่วยเสริมสร้างหลักประกันให้แก่ผู้อยู่ในสังคมเพื่อชดเชยส่วนที่ขาดหายหรือบุบสลายไปก่อนเวลาอันสมควร นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งระดมเงินทุนภายในประเทศที่สำคัญแหล่งหนึ่ง ดังนั้นความเจริญเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตให้แก่ประชาชนและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศ การศึกษาการจัดการธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทยในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค ที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจดังกล่าวรวมตลอดถึงบทบาทของสำนักงานประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ที่มีต่อการดำเนินธุรกิจ เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขที่เหมาะสมต่อไป จากการศึกษาพบว่าเป็นไปตามข้อสมมติฐานคือ 1. บริษัทที่รับประกันชีวิตแบบสามัญจะมีลักษณะการดำเนินงานแตกต่างจากบริษัทที่รับประกันชีวิตแบบอุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆ คือ ด้านสินค้าที่จำหน่าย กลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมาย การเก็บเบี้ยประกันชีวิต การจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขาย การควบคุมประเมินผลการทำงาน รวมทั้งผลตอบแทนและสวัสดิการต่างๆ ที่ให้แก่พนักงานตัวแทน 2. ความสนใจของประชาชนไทยที่มีต่อการประกันชีวิตยังอยู่ในระดับที่ต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียน โดยเฉลี่ยแล้วจำนวนกรมธรรม์ต่อประชากรจะคิดเป็นร้อยละ 2.76 ของ จำนวนประชาชนทั้งสิ้น 3. กฎหมายที่ใช้ควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจประกันชีวิตในปัจจุบันยังไม่รัดกุมเหมาะสมเท่าที่ควร เช่น ข้อกำหนดเกี่ยวกับทุนจดทะเบียนของบริษัท การวางหลักทรัพย์ของบริษัทไว้กับนายทะเบียน เงินกอง การลงทุนของบริษัท เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การประกันชีวิตในประเทศไทยไม่พัฒนาเท่าที่ควร สำหรับปัญหาที่บริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยต้องประสบอยู่ในปัจจุบันพอสรุปได้ดังนี้ 1. ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน บริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยยังขาดผู้บริหารที่มีความรู้ความชำนาญในการบริหารธุรกิจอย่างแท้จริง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานยังอยู่ในระดับสูง 2. ด้าน การตลาด บริษัทประกันชีวิตโดยทั่วไปจะให้ความสำคัญทางด้านการขายมากกว่าการตลาด ขาดการวิจัยทางด้านการตลาดอย่างเพียงพอ จึงทำให้การดำเนินงานขาดทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม 3. ด้านบุคคล คุณภาพของตัวแทนโดยทั่วไปยังไม่อยู่ในมาตรฐานเดียวกันและมีปัญหาการออกจากงานของตัวแทนอยู่ในระดับสูง 4.ด้านประชาชน ประชาชนโดยทั่วไปยังไม่เห็นคุณประโยชน์ของการประกันชีวิต 5. ด้านรัฐบาล ระเบียบและข้อบังคับต่างๆยังไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจประกันชีวิตเท่าที่ควร และเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ขาดความรู้อย่างเพียงพอ แนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นพอสรุปได้ดังนี้ 1. บริษัทประกันชีวิตควรจะให้ความสนใจกับการพัฒนากำลังคนเพื่อสร้างคนที่มีความรู้ความสามารถมารองรับกับการขยายตัวของกิจการ การบริหารการตลาดควรเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการมากกว่านี้ โดยเฉพาะในด้านการวิจัยตลาดและการส่งเสริมการขาย นอกจากนั้นยังควรจะให้ความสนใจกับคุณภาพของตัวแทนอย่างจริงจังและสร้างสิ่งจูงใจในการทำงานเพื่อให้ตัวแทนเป็นตัวแทนที่ทำงานเต็มเวลามากขึ้น 2. ควรจะได้มีการร่วมมือย่างจริงจังระหว่างภาครัฐบาล บริษัทประกันชีวิตและตัวแทน เพื่อให้ประชาชนได้มีความเข้าใจเห็นความสำคัญของการประกันชีวิตและได้รับประโยชน์สูงสุดจากการประกันชีวิต 3. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐและขจัดข้อกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจประกันชีวิตในปัจจุบันโดย เร่งด่วน. | - |
dc.description.abstractalternative | Life insurance has been considered as means to economic loss sharing among individuals well as saving and source of fund for the national development. The major objective of this study is to present how life insurance company operates and how problems are handled. In addition, the role of the insurance Commission is discussed. The results of the study were as hypothesized and could be elaborated as follows; 1. Ordinary life insurance companies and industrial life insurance companies are operated differently in many aspects such as, products design, target customers, premium collection, sell promotion, evaluation and control including of agents ‘compensation. 2. The public interest given to life insurance in Thailand is less than that in other asean countries, with an approximation of 2.76% of population. 3. Out of date life insurance law is one of the obstracles to the development of insurance companies such as, the strict control on investment, securities deposit, capital maintenance, etc. The problems that life insurance companies in Thailand have to encounter are: 1. Efficiency of the operation: Life insurance companies are lack of competent management personnel. 2. Marketing: life insurance companies are generally selling more than marketing, without proper marketing research. 3. Agency force: The agent qualities standards are different among companies which lead to a high agent’s turnover rate problem. 4. People: people in general did not understand the benefits of life insurance. 5. Government: Regulations are not supporting to life insurance companies operation. Suggestion for the solving of the problems are as follow: 1. Life insurance companies should be more interested in the personnel development for the preparation of the business expansion, marketing management such as sell promotion etc .and qualified agency force. 2. All of the government officers, life insurance companies and agents must be cooperated to ensured public understanding more about life insurance in order to benefit the most out of life insurance. 3. Revision of the out of date relating life insurance law should be take place in order to educate more competent government personnel. | - |
dc.format.extent | 732722 bytes | - |
dc.format.extent | 412486 bytes | - |
dc.format.extent | 1383931 bytes | - |
dc.format.extent | 2628781 bytes | - |
dc.format.extent | 1425973 bytes | - |
dc.format.extent | 1571499 bytes | - |
dc.format.extent | 836234 bytes | - |
dc.format.extent | 757060 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ประกันชีวิต | - |
dc.title | การศึกษาการจัดการธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | A study on life insurance management in Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พาณิชยศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pisamai_Us_front.pdf | 715.55 kB | Adobe PDF | View/Open | |
pisamai_us_ch1.pdf | 402.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
pisamai_us_ch2.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pisamai_us_ch3.pdf | 2.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pisamai_us_ch4.pdf | 1.39 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pisamai_us_ch5.pdf | 1.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pisamai_us_ch6.pdf | 816.63 kB | Adobe PDF | View/Open | |
pisamai_us_back.pdf | 739.32 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.