Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25314
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภจิตรา ชัชวาลย์
dc.contributor.advisorพัชรา ลิมปนะเวช
dc.contributor.authorสายสุนี แก้วเทศ
dc.contributor.illustratorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-22T08:21:31Z
dc.date.available2012-11-22T08:21:31Z
dc.date.issued2545
dc.identifier.isbn9741730705
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25314
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการเตรียมฟีดเดอร์เซลล์จากแคลลัสของยาสูบ ที่ได้จากแผ่นใบที่เลี้ยงในอาหาร MS ที่เติม 2,4-D 0.1 mg/l พบว่า แคลลัสที่เจริญในอาหารดังกล่าวมีลักษณะแตกต่างกัน คอมแพกแคลลัสสีเขียวและสีขาวสามารถเจริญเป็นยอดได้ ในอาหาร KDMS ในเวลา 80 วัน ในขณะที่ไฟรเอเบิลแคลลัสที่มีลักษณะเซลล์ใสไม่มีสีเขียว เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและตายไปในที่สุด เมื่อนำคอมแพกแคลลัสสีเขียวและสีขาวนี้มาเลี้ยงในอาหารเหลวสูตร MS ที่เติม 2,4-D 0.1 mg/l พบว่า ได้เซลล์แขวนลอยสีเหลืองอมเขียวที่เพิ่มปริมาณได้ และมีขนาดเล็ก กระจายตัวตัวดี เมื่อย้ายเซลล์แขวนลอยนี้มาเลี้ยงในอาหารเหลวสูตร MS ที่เติม IAA 0.1 mg/l และ kinetin 1.0 mg/l พบว่า เซลล์แขวนลอยเจริญเติบโตเป็นกลุ่มเซลล์มีขนาดใหญ่ขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ซึ่งผลที่ได้ต่างจากการย้ายคอมแพกแคลลัสสีเขียวและสีขาวมาเลี้ยงในอาหารเหลวสูตร MS ที่เติม IAA 0.1 mg/l และ kinetin 1.0 mg/l โดยตรงที่พบว่า แคลลัสให้เซลล์แขวนลอยน้อย แต่มีการรีเจนเนอเรทเป็นยอดจำนวนมาก จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้เป็นฟีดเดอร์เซลล์ สำหรับการเลี้ยงแคลลัสจากแผ่นใบพิทูเนียในอาหาร MS ที่เติม 2,4-D 1.0 mg/l พบว่าได้แคลลัสสีเขียวอมเหลือง ลักษณะเซลล์ค่อนข้างละเอียด เมื่อนำมาเลี้ยงในอาหาร medium B สามารถเกิดการรีเจนเนอเรทเป็นยอดได้ดี และเมื่อนำแคลลัสมาเลี้ยงในอาหารเหลว Medium P พบว่าได้เซลล์แขวนลอยสีเขียวอมเหลืองลักษณะเซลล์ละเอียด และกระจายตัวได้ดี ซึ่งสามารถใช้ฟีดเดอร์เซลล์ได้ จากการศึกษาพบว่าวิธีการถ่ายยีนเข้าสู่มะเขีอเทศพันธุ์สีดาทิพย์และสวีทเชอรี่รวม 18 การทดลอง โดยใช้ Agrobacterium tumefaciens สายพันธุ์ LBA 4404 ซึ่งมีพลาสมิด pBI121 ที่มี gus gene เป็นยีนรายงานผล และ npt II gene เป็นยีนเครื่องหมายสำหรับการคัดเลือก พบว่า ใบเลี้ยงของมะเขือเทศพันธุ์สีดาทิพย์ขยายขนาดได้ดีที่สุดเมื่อใช้เซลล์แขวนลอยพิทูเนียเป็นฟีดเดอร์โดยทำ preculture ด้วยเป็นเวลา 1 คืน และเลี้ยงบน regeneration medium III รองลงมา คือ การใช้เซลล์แขวนลอยยาสูบที่เลี้ยงในอาหาร MS ที่เติม IAA 0.1 mg/l และ kinetin 1.0 mg/l เป็นฟีดเดอร์โดยไม่ทำ preculture และเลี้ยงบน regeneration medium II ส่วนใบเลี้ยงมะเขือเทศพันธุ์สวีทเชอรี่ขยายขนาดได้ดีที่สุดเมื่อใช้เซลล์แขวนลอยพิทูเนียเป็นฟีดเดอร์ และเลี้ยงบน regeneration medium I รองลงมา คือ การใช้เซลล์แขวนลอยยาสูบที่เลี้ยงในอาหาร MS ที่เติม IAA 0.1 mg/l และ kinetin 1.0 mg/l เป็นฟีดเดอร์ และเลี้ยงบน regeneration medium II ทั้งนี้การ preculture และไม่ preculture ให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนประสิทธิภาพในการถ่ายยีนเข้าสู่มะเขือเทศทั้ง 2 พันธุ์ จากทั้ง 18 การทดลอง พบว่า มะเขือเทศพันธุ์สีดาทิพย์ และพันธุ์สวีทเชอรี่มีค่า pupative transformation efficiency เป็น 2.5-18.0% และ 5.6-22.2% ตามลำดับ ต้นมะเขือเทศที่คาดว่าจะเป็นต้นที่ได้รับการถ่ายยีนได้ถูกนำมาตรวจสอบเอนไซม์กลูคูโรนิเดส โดยวิธี histochemical detection และโดยการเพิ่มชิ้นส่วนของยีน npt II โดยใช้ไพร์เมอร์จำเพาะ ซึ่งพบว่าพืชทุกต้นที่นำมาตรวจสอบให้ผลบวกในการตรวจสอบยีนทั้งสอง การทดสอบนี้ยืนยันประสิทธิภาพการถ่ายยีนว่าเป็นดังที่ระบุไว้ข้างต้น
dc.format.extent6926890 bytes
dc.format.extent1321272 bytes
dc.format.extent6142233 bytes
dc.format.extent3835734 bytes
dc.format.extent23914235 bytes
dc.format.extent3255205 bytes
dc.format.extent1321052 bytes
dc.format.extent5130401 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleผลของชนิดของฟีดเดอร์เซลล์ และอาหารที่ใช้ในการรีเจนเนอเรทที่มีต่อการถ่ายยีนด้วย Agrobacterium tumefaciens เข้าสู่มะเขือเทศพันธุ์สีดาทิพย์ และสวีทเชอรี่ (Lycopersicon esculentum Mill. cultivar Seedatip and Sweet Cherry)en
dc.title.alternativeEffects of types of feeder cells and regenerarion Agrobacterium tumefaciens mediated transformation of tomato cultivar seedatip and sweet cherry (Lycopersicon esculentum Mill. cultivar Seedatip and Sweet Cherry)en
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพันธุศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saisunee_ka_front.pdf6.76 MBAdobe PDFView/Open
Saisunee_ka_ch1.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Saisunee_ka_ch2.pdf6 MBAdobe PDFView/Open
Saisunee_ka_ch3.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open
Saisunee_ka_ch4.pdf23.35 MBAdobe PDFView/Open
Saisunee_ka_ch5.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open
Saisunee_ka_ch6.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Saisunee_ka_back.pdf5.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.