Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25408
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล | |
dc.contributor.author | สุภธิดา สุขม่วง | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2012-11-22T15:05:00Z | |
dc.date.available | 2012-11-22T15:05:00Z | |
dc.date.issued | 2545 | |
dc.identifier.isbn | 9741728786 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25408 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาลักษณะการดำเนินกิจการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการประมง อันได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมเครื่องปรุงประกอบอาหาร อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมห้องเย็น ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางด้านหน้าในลักษณะที่ใช้ผลผลิตสัตว์น้ำจากอุตสาหกรรมประมงมาเป็นวัตถุดิบสำคัญในกระบวนการผลิต อุตสาหกรรมต่อและซ่อมแซมเรือ และอุตสาหกรรมน้ำแข็งมีความสัมพันธ์ทางด้านหลังกับอุตสาหกรรมประมงในลักษณะที่ผลผลิตจากอุตสาหกรรมจะเป็นปัจจัยการผลิตที่สนับสนุนให้อุตสาหกรรมประมงดำเนินต่อไปได้ รวมถึงการพิจารณาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่มีต่อพื้นที่เมืองและพื้นที่ชนบทจากการดำเนินกิจการของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนี่องกับการประมงที่ก่อให้เกิดรายได้ ทั้งรายได้ทางตรง ทางอ้อม และรายได้ที่เกิดจากการใช้จ่ายของรายได้ทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านการจ้างแรงงานและการซื้อปัจจัยการผลิต ตลอดจนการใช้จ่ายของคนงาน ชาวเมือง และชาวชนบท เพื่อการบริโภคสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆซึ่งผลของการใช้จ่ายจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ การศึกษาได้แบ่งพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครออกเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้ที่ตั้งของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการประมงในการแบ่ง ได้แก่ อำเภอที่เป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรม และอำเภอที่ไม่ใช่ที่ตั้งของอุตสาหกรรมและใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยแบบสอบถาม ทำการสุ่มตัวอย่างโรงงานอุตสาหกรรม คนงานชาวเมือง และชาวชนบทจากทั้ง 2 กลุ่มพื้นที่ทั้งเมืองและชนบท การวิเคราะห์ผลกระทบทำโดยใช้ค่า Value Added Ratio จากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต เพื่อหา Income Generators ซึ่งนำมาคำนวณค่าตัวคูณทวีตามทฤษฎีฐานเศรษฐกิจ ผลการวิจัยชี้ว่า อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการประมงในทุกประเภทส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานขนาดเล็ก โดยมีบางส่วนของอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำและห้องเย็นจะเป็นโรงงานขนาดกลางและขนาดใหญ่ซึ่งมีการจ้างงานจำนวนมาก อุตสาหกรรมขนาดเล็กทุกประเภทจะมีการจ้างแรงงานต่างด้าว ในขณะที่แรงงานในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และกรุงเทพมหานคร โดยที่การดำเนินกิจการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการประมงในจังหวัดสมุทรสาคร ก่อให้เกิดรายได้ในพื้นที่เมืองของอำเภอเมืองที่เป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมมากที่สุด ขณะเดียวกันรายได้จะเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นจังหวัดใกล้เคียงมากกว่าพื้นที่อำเภอที่ไม่ใช่ที่ตั้งของอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรสาคร ในขณะที่ผลกระทบทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นสูงสุดในพื้นที่เมืองในอำเภอเมืองที่เป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมและเป็นที่ตั้งของตลาดสินค้าสัตว์น้ำซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของอุตสาหกรรม | |
dc.description.abstractalternative | The object of this research is to study the characteristics of fishery-related industries, i.e., Marine Products, Seasoning, Fish Meal & Animal Feed, Clod Storage, Ship Building and Ice Industries. The first 4 industries have forward linkages with fishery industry, While the 2 industries have backward linkages. In addition, the economic impact (direct, indirect and induced impact) of these industries on the local economy (both rural and urban areas) in SamutSakorn province are investigated though income generated by the spending of the factories and workers in the fishery-related industries, urban and rural dwellers. The research classifies the study area into 2 zones according to the location of the fishery-related industries : Zone 1, districts with fishery-related industries and Zone 2, districts without fishery-related industries. The research employs field survey to collect data through structured interview on 4 target groups, i.e., entrepreneurs and workers in fishery-related industries, urban and rural dwellers. Employing economic base theory, the impacts are calculated by applying Value Added Ratio from the 1995 Input-Output Table to find out the generated income, and multipliers. Research finding indicate that most of the fishery-related industries are small industries except some of Marine Product industry and Cold Storage industry are medium and large industries. Most of small industries hire foreign workers, most of them from Burma; the medium and large industries hire Thai workers, mostly from Samut Sakorn, Samut Songkram and Bangkok Research results indicate that income generated in urban areas of Zone 1 is highest, followed by nearby provinces (Bangkok and Samut Songkram), and urban and rural areas in district without fishery-related industries ; while economic impacts are highest in the urban areas of districts where fishery-related industries are agglomerated and fishery markets are also located. | |
dc.format.extent | 3880920 bytes | |
dc.format.extent | 1547278 bytes | |
dc.format.extent | 7983609 bytes | |
dc.format.extent | 13176153 bytes | |
dc.format.extent | 13494279 bytes | |
dc.format.extent | 19313883 bytes | |
dc.format.extent | 11121643 bytes | |
dc.format.extent | 7362357 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการประมงที่มีต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร | en |
dc.title.alternative | The economic impact of fishery-related industries on the local economy in Samut Sakorn Province | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การวางแผนภาค | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supatida_su_front.pdf | 3.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supatida_su_ch1.pdf | 1.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supatida_su_ch2.pdf | 7.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supatida_su_ch3.pdf | 12.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supatida_su_ch4.pdf | 13.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supatida_su_ch5.pdf | 18.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supatida_su_ch6.pdf | 10.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supatida_su_back.pdf | 7.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.