Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25435
Title: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างความสัมพันธ์ ของหัวเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ กับรัฐบาลไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Other Titles: A comparative study of the relationship of the northern and the southern vassal states with the Thai government in the reign of King Chulalongkorn
Authors: ชวลีย์ ณ ถลาง
Advisors: รอง ศยามานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, -- 2396-2453
ประเทศราช
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 5
ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 5
Chulalongkorn, King of Siam, -- 1853-1910
Thailand -- History -- 1868-1910
Thailand -- Politics and government -- 1868-1910
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาเปรียบเทียบลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างหัวเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ของไทยกับรัฐบาลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยศึกษาความแตกต่างของประวัติการได้หัวเมืองทั้งสองมาไว้ในอำนาจของไทย และศึกษาทั้งความแตกต่างในด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรมของหัวเมืองทั้งสองด้วย งานวิจัยนี้ดำเนินให้เห็นความแตกต่างของลักษณะความสัมพันธ์ที่หัวเมืองประเทศราชทั้งสองมีต่อรัฐบาลไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีมาจนกระทั่งถึงรัชการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นระยะเวลาที่อังกฤษได้แผ่ขยายอิทธิพลทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจเข้ามาในหัวเมืองทั้งสองมากขึ้นเป็นสำคัญ อังกฤษมุ่งขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจในหัวเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือ แต่มุ่งแทรกแซงในทางการเมืองในหัวเมืองประเทศราชฝ่ายใต้เพื่อจุดประสงค์จะผนวกหัวประเทศราชฝ่ายใต้ของไทยเข้าเป็นส่วนของรัฐบาลมลายูของอังกฤษ พระบาทสมเด็จพรจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอาศัยความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐบาลไทยกับหัวเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือ ค่อยๆดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองหัวเมืองส่วนนี้ โดยเปลี่ยนฐานะจากหัวเมืองประเทศราชมาเป็นมณฑลหนึ่งของไทยใน พ.ศ. 2445 ในขณะเดียวกันพระองค์ทรงดำเนินพระราชโชบายต่อหัวเมืองประเทศฝ่ายใต้ใน 2 ลักษณะคือ ทรงดำเนินการดัดแปลงแบบแผนการปกครองแบบใหม่ให้สอดคล้องกับลักษณะความเชื่อทางศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของราษฎรในเมืองประเทศราชปัตตานี หรือ “หัวเมืองแขกทั้ง 7” โดยรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของไทยในรูปของมณฑลปัตตานีใน พ.ศ. 2449 ลักษณะหนึ่ง แต่ในหัวเมืองประเทศราชมลายูอีก 4 เมือง ได้แก่ ไทรบุรี ปลิศ กลันตัน และตรังกานูนั้นรัฐบาลไม่สามารถจะรักษาไว้ได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยได้ เพราะรัฐเหล่านั้นซึ่งแตกต่างทั้งเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรมจากไทยได้ดิ้นรนอยากอยู่ใต้อารักขาของอังกฤษเช่นเดียวกับรัฐมลายูทั้งหลาย ประกอบกับอังกฤษดำเนินนโยบายบีบคั้นไทยมากยิ่งขึ้นเพื่อเข้าครอบครองหัวเมืองประเทศราชมลายูทั้ง 4 เมือง แทนที่ไทย ดังนั้นใน พ.ศ. 2452 รัฐบาลไทยยอมโอนสิทธิปกครองหัวเมืองทั้ง 4 ให้แก่อังกฤษเพื่อแลกเปลี่ยนกับการยกเลิกอำนาจศาลกงสุลและการกู้เงินสหพันธรัฐมลายูของอังกฤษมาใช้จ่ายในการสร้างทางรถไฟสายใต้ วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ได้วางแนวทางการวิจัยโดยแบ่งสาระสำคัญของเรื่องออกเป็น 5 บท พร้อมด้วยบทนำ 1 บท และบทสรุปส่งท้ายอีก 1 บท ทั้งนี้อาจจำแนกเรื่องราวในแต่ละบทคือ บทที่ 1 เป็นบทนำของความเป็นมาของปัญหา จุดมุ่งหมายของการวิจัยและวิธีการวิจัยรวมทั้งข้อมูลที่ใช้ บทที่ 2 เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับหัวเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี มาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอังกฤษเกี่ยวกับหัวเมืองประเทศราชทั้ง 2 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น บทที่ 3 แสดงให้เห็นถึงการขยายอิทธิพลของอังกฤษ รวมทั้งพระราโชบายในการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อหัวเมืองประเทศราชทั้งสองฝ่าย บทที่ 4 เป็นการเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะการปกครอง การศาล ระบบเศรษฐกิจและสภาพสังคมระหว่างหัวเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชการที่ 1 ถึงรัชการที่ 5) บทที่ 5 กล่าวถึงการแทรกแซงของอังกฤษในหัวเมืองทั้ง 2 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมทั้งกล่าวถึงการจัดการปกครองหัวเมืองประเทศราชดังกล่าวระหว่าง พ.ศ. 2527-2445 ระยะเวลาที่รัฐบาลไทยค่อยดึงอำนาจการปกครองจากเจ้าเมืองในดินแดนทั้งสองมาสู่รัฐบาลที่กรุงเทพฯ จนสามารถนำการปกครองระบบเทศาภิบาลเข้าไปใช้ได้สำเร็จ บทที่ 6 เป็นการบรรยายถึงการจัดราชการหัวเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือในฐานะมณฑลพายัพ การจัดปรับปรุงการปกครองมณฑลปัตตานี และการเสียหัวเมืองประเทศราชมลายู 4 รัฐ คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปลิศให้แก่อังกฤษ ตลอดจนผลสะท้อนจากภายในและภายนอกที่มีต่อการจัดราชการดังกล่าว บทที่ 7 เป็นการสรุปและวิเคราะห์ความแตกต่างของลักษณะความสัมพันธ์ที่หัวเมืองประเทศราชทั้งสองมีต่อรัฐบาลไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งการแทรกแซงในลักษณะที่ต่างกันของอังกฤษในดินแดนทั้งสอง อันนำมาซึ่งพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อหัวเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ในลักษณะดังกล่าว
Other Abstract: This is a comparative study of a relationship between Thai Northern and Southern vassal states on the one hand and the Thai government on the other hand from the Dhonburi period to the reign of King Chulalongkorn. The thesis is devided into 7 chapters. The first chapter is an introduction which relates to a purpose, a method of analysis and sources of this thesis. The second chapter treats. to the relationship of the Northern and Southern states from the Dhonburi period to the reign of King Rama III and also Thai-British relationship of the two vassal states. The third chapter explains the British extention to these territories and moreover the political policy of King Chulalongkorn regarding the mentioned areas. The fourth chapter is concerned with the differences of political pattern, juridiciary system, economic form, and social characteristics of the two vassal states from the reign of King Rama I-to that of King Chulalongkorn. The fifth chapter deal with British Imperialism in the period of B.E. 2427-B.E. 2445 during which King Chulalongkorn tried to improve the government system through the centralization of administrative power under the Bangkok government and succeeded in establishing the "Thesaphiban" (Governor of a circle )administrative system to the vassal states, namely ,the Circles of Payab and Pattani. The sixth chapter describes the administrative pattern as "Monthorncircle) Payab" of the Northern vassal state as well as the reform of Patani along the same lines. The reason that led Siam to transfer the suzerainty the four Malay states: Kedah, Perlis, Kelantan and Trengganu to Great Britain in return for the abolition of the extra territoriality over Asian British subjects and a Britain loan to Thailand for the construction, of the Southern railways. The final chapter summaries the reasons why King Chulalongkorn successfully managed to integrate the Payab Circle and the Patani Circle in the Kingdom of Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25435
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chawalee_Na_front.pdf485.31 kBAdobe PDFView/Open
Chawalee_Na_ch1.pdf302.24 kBAdobe PDFView/Open
Chawalee_Na_ch2.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open
Chawalee_Na_ch3.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open
Chawalee_Na_ch4.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Chawalee_Na_ch5.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open
Chawalee_Na_ch6.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Chawalee_Na_ch7.pdf652.25 kBAdobe PDFView/Open
Chawalee_Na_back.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.