Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25540
Title: พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารสถาบันการศึกษาของกรมตำรวจ
Other Titles: The administrative behavior of administrators in Police Department educational institutions
Authors: ดำริ นิสสัยพันธุ์
Advisors: อมรชัย ตันติเมช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางการบริหาร 7 อย่าง คือการวางแผน การจัดองค์การ การจัดวางตัวบุคคล การอำนวยการ การประสานงาน การรายงาน และการจัดงบประมาณการเงิน ของผู้บริหารสถาบันการศึกษาของกรมตำรวจ 2. เพื่อหาความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารสูงสุด กับผู้บริหารระดับรอง วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามเพื่อใช้เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูล หลังจากทดลองใช้แล้ว ได้ส่งแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วไปยังผู้บริหารสถาบันการศึกษาของกรมตำรวจจำนวน 80 ฉบับ ได้รับกลับคืนมา 73 ฉบับ คือเป็นร้อยละ 91.25 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละในการเปรียบเทียบ ผลการวิจัย 1. พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารสถาบันการศึกษาของกรมตำรวจมีดังนี้ 1.1 การวางแผน นโยบายของโรงเรียนกำหนดและแถลงโดยผู้บริหารระดับเหนือกว่าผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนบางส่วนยังไม่เข้าใจนโยบายของโรงเรียน ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ในโรงเรียนส่วนใหญ่จะร่วมกันพิจารณาวางโครงการต่าง ๆ รวมทั้งวางแผนจัดครูอาจารย์สอนก่อนการปฏิบัติงาน 1.2 การจัดองค์การ ผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจภูธรส่วนใหญ่เห็นว่า การแบ่งส่วนราชการเหมาะสมแล้ว แต่ในโรงเรียนซึ่งมิใช่โรงเรียนตำรวจภูธร ผู้บริหารเห็นว่ามีหน่วยงานช่วยภายในโรงเรียนน้อยไป อย่างไรก็ดีหน้าที่ของหน่วยงานที่เป็นอยู่ไม่ซ้ำซ้อนและไม่มีการขัดแย้งกันในการทำงาน โรงเรียนตำรวจใช้วิธีการประชุมอธิบายเพื่อช่วยให้ทุกคนเข้าใจหน้าที่ในหน่วยงานของตนมากกว่าวิธีอื่น 1.3 การวางตัวบุคคล การจัดครูอาจารย์สอนใช้ระบบคุณวุฒิเป็นส่วนใหญ่ แต่ยังมีบางส่วนจัดโดยไม่มีหลักเกณฑ์ที่ดี มีวิธีการส่งเสริมให้ครูอาจารย์สอนดีขึ้นโดยส่งไปอบรมหรือสัมมนามากกว่าวิธีอื่น ส่วนวิธีหาหนังสือวิชาการหรือจัดห้องสมุดให้ค้นคว้ากระทำน้อย การเสนอย้ายบุคลากรส่วนใหญ่กระทำเมื่อผู้นั้นประสงค์จะย้าย การประเมินผลการปฏิบัติงานอาศัยหลักเกี่ยวกับความรู้ความสามารถในหน้าที่มากกว่าหลักเกณฑ์อย่างอื่นเป็นส่วนใหญ่ แต่ส่วนน้อยยังถือว่าการปฏิบัติงามสม่ำเสมอและไม่มีการโต้แย้งผู้บริหารเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญกว่า 1.4 การอำนวยการ ผู้บริหารส่วนใหญ่ใช้วิธีแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมพิจารณาหรือประชุมปรึกษาหารือร่วมกับผู้บริหารระดับอื่นก่อน จึงจะวินิจฉัยสั่งการหรือมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งผู้รับมอบหมายมักปฏิบัติได้ถูกต้องเสมอ แต่ทั้งนี้มีการติดตามผลงานตามที่สั่งเสมอ การวินิจฉัยสั่งการเรื่องสำคัญ ผู้บริหารจะสั่งการเองโดยไม่มอบหมายให้ผู้อื่นกระทำแทน 1.5 การประสานงาน ไม่มีปัญหาในการประสานงานภายในโรงเรียน เพราะผู้บริหารทั้งหมดให้ครูอาจารย์และผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าพบได้ทุกโอกาส การประสานงานภายนอกหน่วยงานจะให้เจ้าของเรื่องไปติดต่อประสานงานกันเองบ้าง ตั้งเจ้าหน้าที่ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ประสานงานบ้างโรงเรียนสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นโดยให้ยืมอาคาร วัสดุอุปกรณ์ และมีกิจกรรมร่วมกัน เช่น แข่งขันกีฬา และประชุมทางวิชาการ 1.6 การรายงาน การรายงานเรื่องต่าง ๆ ให้ทราบทั่วไปในโรงเรียน ใช้วิธีมีหนังสือเวียนให้เซ็นทราบและนัดประชุมเป็นประจำ บุคลากรในโรงเรียนส่วนใหญ่จะรายงานเรื่องต่าง ๆ ให้ผู้บริหารทราบทางวาจา ครูอาจารย์ส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสทราบผลการสอนในวิชาที่ตนไม่ได้สอน เช่นเดียวกับผู้ปกครองนักเรียนไม่ได้รับทราบผลการเรียนของนักเรียนจากโรงเรียนโดยตรง 1.7 การจัดงบประมาณการเงิน ผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้จัดทำคำของบประมาณประจำปีเอง โดยถือเกณฑ์ว่าจะของบประมาณเพิ่มขึ้นตามวัสดุอุปกรณ์ หรือค่าใช้จ่ายที่เคยขาดแคลนในปีก่อนเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้ควบคุมการเงินและการบัญชีเอง ผู้บริหารส่วนใหญ่เข้าใจระเบียบเกี่ยวกับการเงินเป็นบางเรื่องเท่านั้น มีเพียงส่วนน้อยที่เข้าใจดีทุกเรื่อง โรงเรียนส่วนใหญ่มีการชี้แจงการใช้จ่ายเงินให้บุคลากรโรงเรียนทราบเป็นครั้งคราว 2. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารสูงสุดในโรงเรียนกับผู้บริหารระดับรอง ปรากฏว่าส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ส่วนที่แตกต่างกันมี 6 ข้อจากทั้งหมด คือ 2.1 ด้านการวางแผน ผู้บริหารสูงสุดตอบว่า นโยบายกำหนดโดยผู้บริหารระดับเหนือกว่าผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารระดับรองตอบว่า ผู้บริหารสูงสุดกำหนดนโยบายเอง 2.2 ด้านการจัดองค์การ ผู้บริหารสูงสุดตอบว่าโรงเรียนมีหน่วยงานย่อยน้อย ควรปรับปรุง ผู้บริหารระดับรองเห็นว่ามีหน่วยงานย่อยเหมาะสมแล้ว 2.3 ด้านการอำนวยการ ผู้บริหารสูงสุดเห็นควรให้ครูอาจารย์เห็นด้วยก่อนวินิจฉัยสั่งการเรื่องสำคัญ ส่วนผู้บริหารระดับรองจะตั้งกรรมการพิจารณาก่อนวินิจฉัยสั่งการเรื่องสำคัญ ผู้บริหารสูงสุดให้รายงานผลเมื่อสั่งงานเรื่องสำคัญ ขณะที่ผู้บริหารระดับรองให้รายงานผลเมื่อสั่งงานทุกเรื่อง 2.4 ด้านการจัดงบประมาณการเงิน ผู้บริหารสูงสุดเข้าใจระเบียบเกี่ยวกับการเงินดีที่เกี่ยวข้องกับงานโรงเรียนดีกว่าผู้บริหารระดับรอง และมีการชี้แจงการใช้จ่ายเงินเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งบริหารเท่านั้น แต่ผู้บริหารระดับรองเข้าใจระเบียบเกี่ยวกับการเงินเป็นบางเรื่อง และชี้แจงการใช้จ่ายเงินแก่นายตำรวจและครูอาจารย์ทั้งหมดเป็นครั้งคราว
Other Abstract: The purposes of the study 1. To study seven administrative behaviors namely: planning, organizing, staffing, directing, coordinating, reporting and budgeting. 2. To compare the administrative behaviors of the top administrators and those at lower levels. Methods and Procedures Data were collected through questionnaires distributed to eighty administrators in Police Department Educational Institutions, Seventy - three or 91.25 per cent of the questionnaires were returned Statistical [techniques] used in this study were percentage and mode. Major Findings 1. The followings are administrative behaviors of the Administrators in Police Department Educational Institutions: 1.1 Planning: the administrators above institutional level were the policy makers. The policies made at this level were not clear to all institutional administrators. Most of the institutional administrators participated in school's operational planning. 1.2 Organizing: the present organizational structure was appropriate for Provincial Recruit Training Schools. The administrators from the rest of the schools expressed the lack of staff and auxiliary personnel to function in various working sections in their schools. However all administrators viewed that there was no operational conflict in their schools. Clarification of personnel functions was usually done both through formal and informal discussion. 1.3 Staffing: merit system was used in most institutions. Personnel development was carried out mostly through in-service training or seminar. Transfer of personnel was done on the basis of individual's preference. Personnel's evaluation was based primarily on working ability.1.4 Directing: committees or meetings were usually set up to help administrators in decision-making and delegation of work. Most of the time, the work assigned was carried out effectively. However, administrators always followed up their delegations. Concerning important matters, the administrators usually made decision and delegated assignments by themselves. 1.5 Coordinating: the open-door policy was used in most of the schools. Officers who were responsible for any specific duty, inside or outside of their schools, coordinated and carried out their functions by themselves most of the time. Administrators promoted the coordinations with outside organizations through activities such as academic seminar, utilization of school buildings and facilities. 1.6 Reporting: meetings and circulation of documents were the methods of communication mostly used in the schools. Most officers in schools always communicated with their administrators through oral reports. Students'grades were reported only to the instructors and neither to other lecturer nor parents. 1.7 Budgeting: top administrators themselves determined the budget for the next fiscal year. The amount of the budget requested was based primarily on the projected shortage of financial support, materials, and facilities of the previous year. They also controlled and audited the schools' account themselves. Concerning rules and regulations about school financial management, only a few administrators were familiar with all of them. Most administrators were familiar only with some basic regulations, and were able to inform their personnel about the school financial position. 2. The comparision of administrative behaviors between the top administrators and the one lowers indicated no difference as a whole. However, six items of administrative behaviors differed. They are in the following processes; 2.1) planning: the top administrators viewed that policies were made by administrators above the level of school administrators, while the other group viewed that it was the top administrators themselves who made the policies: 2.2) organizing: the top administrators recognized the lack of auxiliary staff and units in schools. Improvement was recommended. The other group was satisfied with the number of existing units; 2.3) directing: the top administrators consulted the staffs before making decision on important matters while the lower level of administrators set up committee to consider the matter before making any decision. The top administrators commanded that every important assignment must be reported after it had been carried out where as the administrators at the lower level required reporting on every assignment; 2.4) budgeting: the top administrators understood the rules and regulations concerning school financial management better than the ones at the lower level and informed financial positions while the other groups understood only a few important rules and kept police officers and instructors informed about financial position from time to time.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25540
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Damri_Ni_front.pdf725.51 kBAdobe PDFView/Open
Damri_Ni_ch1.pdf826.47 kBAdobe PDFView/Open
Damri_Ni_ch2.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open
Damri_Ni_ch3.pdf419.79 kBAdobe PDFView/Open
Damri_Ni_ch4.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open
Damri_Ni_ch5.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Damri_Ni_back.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.